bih.button.backtotop.text

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การดูแลสุขภาพทางร่างกายคือพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพทางด้านจิตใจ
ภาวะอารมณ์ ความคิด ให้กับทุกมิติทีเป็นองค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ดีพร้อมทั้งกายและใจ 

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และฝ่ายกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด พร้อมดูแลในทุกช่วงวัย ด้วยทีมงานผู้ชำนาญการ ที่จะทำการประเมินและรักษารวมทั้งตั้งเป้าหมายเพื่อกำหนดทิศทางไปตามที่ท่านกำหนด เพื่อลดภาวะอาการเจ็บป่วย ฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและใจหลังอาการเจ็บป่วยทุเลา
ส่งเสริมศักยภาพให้กลับมามีสุขภาพที่ดี และแนะนำแนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาแบบประคับประคองด้วยหัตถการเฉพาะ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู พร้อมทั้งส่งต่อการรักษาที่เหมาะสม จึงมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และเหมาะสมด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

เราให้บริการการตรวจประเมินเพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆ ดังนี้
  • การตรวจวิเคราะห์กำลังกล้ามเนื้อและการนำกระแสประสาทด้วยเครื่อง Electro myelogram และ Nerve conduction velocity  (EMG, NCV, SEP, VEP)
  • ตรวจประเมินการกลืน ในผู้ป่วยที่พบความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อการกลืน ด้วยเครื่องตรวจประเมินการกลืนโดยภาพถ่ายรังสี (Video fluoroscopic Swallowing study )VFSS
การรักษาแบบประคับประคองด้วยเทคนิคเฉพาะและเครื่องมือเพื่อการรักษา
  • Dry Needling and Trigger point injection การรักษาโดยการฉีดยาและการลงเข็มเฉพาะที่ ลดอาการปวด การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ให้ผลการรักษาที่ดีในกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม กล้ามเนื้อเป็นพังผืด ภาวะปวดศีรษะต่าง ๆ เป็นต้น
  • Extracorporeal shock wave Therapy (ESWT) ลด/ปรับผิวข้อต่อ/กระดูกให้เรียบโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด จากการที่มีผิวข้อเสื่อมที่เกิดจากมีหินปูนมาเกาะที่เอ็น มีภาวะเอ็นอักเสบเรื้อรัง เช่น calcaneal spur, Tennis elbow, Calcified shoulder tendinitis เป็นต้น
  • High intensity laser therapy คลื่นเลเซอร์ความถี่สูงสำหรับลดการอักเสบจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ปวดกล้ามเนื้อต่างๆการเกร็งตัวของเอ็นกล้ามเนื้อ 
พร้อมให้การบริการทางกายภาพบำบัด ด้วยกระบวนการตรวจประเมิน การวินิจฉัย วางแผนและให้การรักษา การฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด อีกทั้ง มุ่งเน้นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วย รวมถึงบุคคลทั่วไปทุกเพศทุกวัยที่ได้รับการปรึกษาจากแพทย์ทุกสาขา เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถของผู้ป่วย โดยทีมนักกายภาพบำบัดที่มีใบประกอบวิชาชีพ และมีประสบการณ์อย่างมืออาชีพ ผ่านการอบรมด้านเทคนิคการรักษาและการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน เพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาอย่างต่อเนื่อง
Manual Therapy การรักษาด้วยเทคนิคการขยับข้อต่อ ขยับเอ็นกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อ   เพื่อลดอาการเจ็บปวดและการเกร็งตัว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ  ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งช่วยลดอาการบวมและการอักเสบ รวมไปถึงเทคนิคการปรับท่าทางการใช้งานกล้ามเนื้อเพื่อลดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยสามารถปรับใช้ได้กับผู้ป่วยในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง 
  • เครื่องมือทางกายภาพบำบัด ที่ทันสมัยและถูกทบทวนจากงานวิจัยจากหลายสถาบันว่าให้ผลการรักษาที่ดีควบคู่ไปกับการใช้ Manual Therapy
    • Deep heat Therapy  เครื่องมือที่ให้ความร้อนลึกเพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ได้แก่ คลื่นเหนือเสียง Ultrasound Therapy, คลื่นสั้นความร้อนลึกจากไฟฟ้า Short wave Therapy, พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง Targeted Radiofrequency Therapy
    • Cryotherapy เป็นเครื่องมือรักษาด้วยความเย็น เพื่อลดปวดและการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
    • Electrotherapy เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในคลื่นความถี่ชนิดต่าง ๆ เพื่อผลลดความเจ็บปวด, กระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อลดการเกร็งตัวและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
    • Laser Therapy เครื่องเลเซอร์เพื่อการบำบัดรักษาอาการปวด ทั้งในรูปแบบ High power Laser และ Low laser เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ส่งผลลดการอักเสบ อาการบวมของกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อ 
    • Mechanical traction therapy เครื่องดึงคอ ดึงหลัง สำหรับคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดความดันในช่องกระดูกสันหลังที่กดหมอนรองกระดูกในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท 
    • Neurac methods การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดด้วย Redcord sling เป็นการฟื้นฟูรูปแบบการเคลื่อนไหวและปรับปรุงการทำงานการประสานงานของกล้ามเนื้อ และมุ่งเน้นไปที่การรักษาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาของผู้ป่วย
    • C-Mill with virtual feedback ลู่วิ่งสำหรับฝึกการเคลื่อนไหวและการทรงตัวที่ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเข้ามาประกอบการฝึก  เพื่อให้เกิดการตอบสนองจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ความเพลิดเพลินในคราวเดียวกัน
    • หุ่นยนต์ช่วยฝึกการเดิน (Robotic Gait Training) มีโปรแกรมเฉพาะเจาะจงที่จะช่วยการฟื้นฟูประสิทธิภาพรูปแบบการเดินให้กับผู้ป่วย
  • โปรแกรมฝึกและการออกกำลังกายเฉพาะบุคคลที่เหมาะสม Individual exercise program เพราะเราเชื่อว่า ศักยภาพในการออกกำลังของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น เพศ วัย สังคม อาชีพการงาน และขนบธรรมเนียมประเพณี การออกแบบโปรแกรมการรักษาที่เหมะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรวดเร็วและปลอดภัย จะช่วยส่งเสริมให้ทุกท่านสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามสมรรถภาพร่างกายและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น 
  • โปรแกรมการฝึกผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ 
  • ผู้ป่วยที่มีความเสื่อมของเนื้อสมองและปลายประสาท เช่นผู้ป่วยพาร์กินสัน, กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน เป็นต้น
  • ผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดที่มีโปรแกรมการดูแลรักษาเฉพาะ
  • ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงเป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยที่รักษาใน ICU ผู้ป่วย CCU
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจและหัวใจ
  • โปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจและ/หรือหลอดเลือดหัวใจ
  • คุณแม่หลังคลอดที่มีปัญหาคัดตึงเต้านม น้ำนมไหลไม่ปกติ
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • ผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น Cerebral palsy, mental retardation, เป็นต้น
  • ผู้ป่วยทุกเพศวัย ที่มีปัญหาการทรงตัว การเคลื่อนไหว มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวจากโครงสร้างร่างกายหรืออุบัติเหตุ เช่น ผู้สูงอายุ นักกีฬา บุคคลทั่วไปที่มีปัญหา Office syndrome
มุ่งเน้นการฝึกผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ และการเรียนรู้   เพื่อกระตุ้นการทำกิจวัตรประจำวัน (Activity daily living) ผ่านกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลการกระตุ้นย้อนกลับไปที่ระบบสมองและเส้นประสาท รวมทั้งช่วยในการปรับสภาพแวดล้อม พัฒนาอุปกรณ์เสริม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยการใช้เทคนิคเฉพาะทางของนักกิจกรรมบำบัดที่มีใบประกอบวิชาชีพ และมีประสบการณ์อย่างมืออาชีพ ผ่านการอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการรักษาอย่างต่อเนื่อง 

โปรแกรมการรักษาทางกิจกรรมบำบัด
  • โปรแกรมกระตุ้นและฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและมือ (Hand function training program) ส่งเสริมความสามารถของกล้ามเนื้อมือมัดเล็กที่ทำงานบกพร่องไปจากภาวะโรค ให้กลับมาทำงานได้ ฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว สหสัมพันธ์และเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย ได้แก่ Rejoyce workstation, Biometrics E-LINK, Tyrostation
  • โปรแกรมประเมินและบำบัดภาวะการกลืนลำบาก (Swallowing screening test and training program) ในผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบาก เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดทางสมอง, CA head and neck, ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม, ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการดูด-กลืน  เริ่มจากการประเมินและทดสอบความสามารถในการกลืน  ประเมินลักษณะของอาหารและน้ำที่เหมาะกับความสามารถของผู้ป่วย  ฝึกสอนเทคนิคพิเศษในการกลืน แนะนำการจัดท่าทางที่เหมาะสมขณะกลืน  ฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อ มีเครื่องมือที่ใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ได้แก่ เครื่อง Vital stim, Rephagia-Biofeedback
  • โปรแกรมการตรวจประเมินและบำบัดในผู้ที่มีความบกพร่องในการรับรู้ ความจำ สมาธิ ความคิดและการตัดสินใจแก้ปัญหา (Perceptual-cognitive test and training program) โดยให้การประเมินด้วยแบบประเมินที่มีมาตรฐาน และให้การบำบัดรักษาผ่านทางการจัดกิจกรรมที่ถูกพัฒนาและออกแบบให้มีความเฉพาะเจาะจงกับปัญหาของแต่ละบุคคล ได้แก่ กิจกรรมฝึกฝนฟื้นฟูความจำ ความคิดและการตัดสินใจ ผ่านทางเกมส์ คอมพิวเตอร์โปรแกรม (Restorative approaches),  สอนเทคนิคการทดแทน (Compensatory approaches) ผ่านทางประยุกต์กิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำในการทำกิจวัตรประจำวัน
  • โปรแกรมการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก (Developmental screening test and training program) ให้กิจกรรมกระตุ้นการบูรณาการประสาทความรู้สึก ร่วมกับการบำบัดในห้อง Snoezelen ซึ่งเป็นห้องที่จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ส่งเสริมและกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกพื้นฐานที่สำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส การทรงตัว และการรับรู้ของเอ็นกระดูกและข้อต่อ ช่วยให้เด็กอาการสงบ ผ่อนคลาย มีการรับรู้การเรียนรู้ รวมถึงมีสมาธิดีขึ้น มีโปรแกรมประเมินพัฒนาการ (Developmental screening test: Denver 2) Thai edition รวมถึงวางแผนออกแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้สมวัยในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติ เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กที่มีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายและสมอง, Autistic spectrum disorder (ASD), Down’s syndrome  รวมถึงให้การประเมินและฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการไปโรงเรียนของเด็ก เช่น ทักษะการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ประเมินและแนะนำท่าทางในการจับดินสอ ปากกาที่เหมาะสม เป็นต้น
  • การฝึกฝนทักษะในการทำกิจวัตรประจำวัน  (Activities for Daily Living Training) โดยพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตลอดทุกช่วงวัย  ประเมินและให้คำแนะนำในการดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย รวมถึง แนะนำข้อห้าม ข้อควรระวัง และเทคนิคในการทำกิจวัตรประจำวันในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า หรือ ข้อสะโพก
  • ออกแบบและจัดทำอุปกรณ์ช่วยพยุงเพื่อส่งเสริมการใช้งานของแขนขา (Splint) เพื่อนำมาใช้ประคับประคองให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่เกิดการบาดเจ็บได้พัก ใช้เพื่อการจัดท่า ส่งเสริมการทำงานของมือ ดัดแปลงอุปกรณ์หรือจัดทำอุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น ช้อน-ส้อม แปรงฟันเสริมด้าม  
  • บริการการทดสอบสมรรถภาพปอดและทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการนำมาวินิจฉัยโรคของแพทย์เพื่อให้เป็นไปอย่างแม่นยำ นำไปสู่การวางแผนการรักษาให้กับผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ด้วยเครื่องวัดสมรรถภาพทางเดินหายใจขั้นสูง
  • บริการการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย (Body composition analysis) ได้แก่การวัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น ไขมัน กล้ามเนื้อ กระดูก รวมถึงปริมาณน้ำและเกลือแร่ ช่วยในการประเมินความสมส่วนของร่ายกายและภาวะโภชนาการ นำไปสู่การวางแผนดูแลสุขภาพ และวินิจฉัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

รศ.พญ. วารี จิรอดิศัย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

พญ. บัณฑิตา ชัยกุล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

นพ. ฉกาจ ผ่องอักษร

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

พญ. ดลฤดี ศรีศุภผล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

ผศ.พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

พญ. กมลวรรณ เฉลิมโชคชัย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

นพ. คณิต ออตยะกุล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

พญ. นภัสกรณ์ โกมารทัต

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

พญ. ณฤพร ชัยประกิจ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูประวัติ

Contact Information

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
    • จันทร์ถึงศุกร์:  8.00-20.00น.  คิวนัดสุดท้าย 18.30 น.
    • เสาร์ อาทิตย์และนักขัตฤกษ์: 8.00-18.00น. คิวนัดสุดท้าย 16.30น.

Location

  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
    • ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู  ชั้น 20C ตึก อาคาร A โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
    • แผนกกายภาพบำบัด ชั้น Mazzanine (M) ตึก B โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
คะแนนโหวต 9.52 of 10, จากจำนวนคนโหวต 129 คน

Related Health Blogs