bih.button.backtotop.text

ปาน

ปาน คือ บริเวณของผิวหนังที่มีสีต่างจากผิวหนังบริเวณอื่น มักเป็นมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นหลังจากคลอดได้ไม่นาน สีของปานจะแตกต่างกันไปตามแหล่งต้นกำเนิดของปาน โดยอาจเป็นสีแดงสด ชมพู น้ำตาล น้ำตาลเข้ม หรือเขียว และอาจจะนูนหรือแบนราบไปตามผิวหนังก็ได้

ประเภทของปาน
  • Cafe-au-lait Spots เป็นปานสีน้ำตาลอ่อน
  • Hemangiomas มีลักษณะแบนหรือนูนกว่าผิวหนังเล็กน้อย มีสีแดงสดหรือแดงคล้ำ อาจเกิดบนใบหน้า ศีรษะ และคอ แต่อาจพบได้ตามลำตัว ปานประเภท hemangiomas บนผิวหน้านั้นมักเกี่ยวข้องกับการที่เส้นเลือดในสมองมีลักษณะผิดรูป ซึ่งปานประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
    • Strawberry hemangioma มักนูนกว่าผิวหนังเล็กน้อยและมีสีแดงสดเหมือนผลสตรอเบอร์รี การที่มีสีแดงสดเนื่องจากมีเส้นเลือดจำนวนมากรวมตัวกันใกล้ผิวหน้า
    • Cavernous Hemangioma มักเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง ส่วนมากจะมีสีแดงคล้ำอมเขียว
  • Macular Stain บางครั้งเรียกว่า angel’s kiss หรือ stork bites โดยมากมักมองแทบไม่เห็น ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ไฝ มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มักเกิดขึ้นหลังจากคลอดแล้วไม่นานและเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของเซลล์เม็ดสี
  • Mongolian spots โดยส่วนใหญ่ปานชนิดนี้จะแบนราบ มีสีเขียวปนเทาและมักอยู่บริเวณก้นกบ ไม่เป็นอันตรายและมักจางหายไปเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
  • Port-wine Stains มีสีชมพู แดง หรือม่วง เป็นจุดๆ บนผิวหนังโดยมีขนาดแตกต่างกันไป
  • Congenital hairy nevus (giant hairy nevus, bathing trunk nevus) มีลักษณะเป็นเนื้อนูน มีสีเข้มและมักจะมีขนปกคลุม ส่วนใหญ่ปานประเภทนี้มีขนาดใหญ่ และเมื่อเวลาผ่านไปอาจกลายเป็นเนื้องอกได้ จึงควรกำจัดตั้งแต่ในช่วงที่ยังสามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของปาน
ควรปรึกษาแพทย์หากปานมีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
  • สีของปานเปลี่ยนไป (จางลงหรือเข้มขึ้นกว่าเดิม)
  • ผิวหนังเกิดการนูนหรือบวมขึ้น
  • มีความผิดปกติของผิวหนังเกิดขึ้นใหม่

ปานส่วนใหญ่นั้นไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ปานชนิด hemangiomas และ port-wine stains อาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ เช่น แผลเปิด เลือดออกง่าย อวัยวะที่อยู่รอบๆ ได้รับผลกระทบทำให้ทำงานผิดปกติ (เช่น ตาหรือปาก) หรือปานอาจมีการเจริญเติบโตเร็วผิดปกติ

ในบางกรณีนั้น ไฝอาจกลายเป็นมะเร็งได้ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด
ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางผิวหนัง ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการนำตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป
ปานส่วนใหญ่นั้นไม่จำเป็นต้องรักษา แต่การรักษาจะกระทำเมื่อ
  • ปัญหาเรื่องความสวยงาม
  • มีอาการแทรกซ้อน
  • มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นอย่างอื่นที่ร้ายแรงได้
โดยทางเลือกในการรักษา ได้แก่ การผ่าตัด การใช้เลเซอร์เฉพาะทาง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของปานนั้นๆ

 
แก้ไขล่าสุด: 07 กุมภาพันธ์ 2566

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ผิวหนัง & ความงามด้านผิวพรรณ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ผิวหนังและความงามไวทัลไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.92 of 10, จากจำนวนคนโหวต 13 คน

Related Health Blogs