bih.button.backtotop.text

ท่อน้ำนมอุดตัน

เกิดจากท่อส่งน้ำนมบางส่วนอุดตันทำให้น้ำนมไหลไม่สะดวก และมีน้ำนมคั่งค้างอยู่ภายในเต้านม ทำให้เต้านมบางบริเวณมีลักษณะแข็ง เป็นแผ่นหนา หรือเป็นก้อนอยู่ภายในเต้านม โดยไม่ได้เป็นทั่วทั้งเต้านม ผิวหนังที่บริเวณเหนือก้อน กดเจ็บ และอาจจะบวมแดงโดยไม่มีไข้ ลักษณะหัวนมและลานหัวนมผิดรูป บางครั้งอาจมีเส้นเลือดที่ผิวหนังของเต้านมปูด และอาจพบจุดสีขาวที่บริเวณหัวนม (White dot)

สาเหตุของท่อน้ำนมอุดตัน
  1. ลูกดูดนมไม่เกลี้ยงเต้า อาจเกิดจากไม่ได้ให้ลูกดูดนมแม่บ่อย หรือจำกัดเวลาในการดูดนมของลูก
  2. มารดาปล่อยให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้านมนาน
  3. มารดามีปริมาณน้ำนมมากเกินไป และไม่ได้ระบายน้ำนมออก หรือระบายออกไม่สมดุลกับปริมาณน้ำนมที่ผลิต
  4. ใส่เสื้อชั้นในที่คับแน่นจนเกินไป ทำให้น้ำนมไหลเวียนได้ไม่สะดวก
  5. ใส่เสื้อชั้นในที่หลวม ไม่กระชับ ทำให้เต้านมหย่อนคล้อย กดทับท่อส่งน้ำนม
  6. มารดามีภาวะเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนที่ทาให้น้ำนมไหลลดลง
  1. ก่อนให้นมลูก ประคบเต้านมด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นจัดประมาณ 5-10 นาที
  2. ให้ลูกดูดจากเต้าที่มีปัญหาก่อน เพราะขณะที่ลูกหิวจัดลูกจะดูดแรง ทำให้ระบายน้ำนมออกได้มาก และหลังจากที่ลูกดูดนมเสร็จให้บีบหรือปั๊มน้านมออกจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
  3. ให้ลูกดูดนมบ่อยอย่างน้อย 8-12 ครั้ง / วัน และดูดนานอย่างน้อยข้างละ 15-20 นาที
  4. จัดท่าให้ลูกดูดนมให้ถูกต้องและจัดให้คางลูกชี้ไปบริเวณที่เป็นก้อน เพื่อให้ลิ้นของลูกช่วยรีดน้ำนมส่วนที่เป็นก้อนออกได้ดีขึ้น
  5. จัดให้ลูกดูดนมในท่าต่างๆกันในแต่ละมื้อ เพื่อระบายน้ำนมจากส่วนต่างๆของเต้านม
  6. นวดเต้านมเบาๆ ขณะลูกดูดนม โดยนวดเหนือบริเวณที่อุดตัน ไล่ลงไปถึงหัวนม เพื่อดันให้ก้อนที่อุดตันหลุดออก
  7. ลดอาการปวดและบวมด้วยการประคบเย็นหลังให้นมลูกเสร็จ ถ้าปวดมากกินยาแก้ปวดได้
  8. เลือกเสื้อยกทรงที่ช่วยพยุงเต้านม ไม่หลวมหรือรัดแน่นเกินไป
  9. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ควรปรึกษาคลินิกนมแม่
แก้ไขล่าสุด: 24 กันยายน 2563

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

คลินิกนมแม่

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.54 of 10, จากจำนวนคนโหวต 26 คน

Related Health Blogs