โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพและมาตรฐานโดยมุ่งเน้นตัวชี้วัดผลลัพธ์การรักษาทั้งหมด 3 ด้านซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่โรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลกใช้ในการประเมิน ได้แก่ อัตราการเสียชีวิตและอัตราการป่วยในโรงพยาบาล ความทันต่อเวลาในการรักษา และความปลอดภัยของผู้ป่วย เรานำผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานระดับโลกอย่างต่อเนื่อง เพราะเราเชื่อมั่นว่าตัวชี้วัดทั้งสามนี้เป็นดัชนีสำคัญที่บ่งชี้ถึง คุณภาพในการรักษาโดยรวม ประสิทธิภาพของการทำงานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ และความมุ่งมั่นในการส่งมอบผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยของเรา
อัตราการเสียชีวิตและอัตราการป่วยในโรงพยาบาลที่น้อยกว่าเกณฑ์เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของ American Society of Anesthesiologists. ACC NCDR 90
th Percentile. Singapore Data registry. GRACE registry. สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรักษาและผลลัพธ์โดยรวมในการดูแลผู้ป่วยของเรา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษา ด้วยการทำงานเป็นทีมอย่างใกล้ชิดของสหสาขาวิชาชีพในสาขาต่างๆ วิธีการรักษาและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการดูแลและติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตและอัตราการป่วยในโรงพยาบาลของเราดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เช่น อัตราการเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนการผ่าตัดจนถึงหลังการผ่าตัด อัตราการเสียชีวิตขณะผ่าตัด อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดและอัตราการเสียชีวิตของมารดา ฯลฯ
- อัตราการเสียชีวิตระหว่างรอบการผ่าตัด 0.1% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 2.1%)
- อัตราการเสียชีวิตขณะผ่าตัด 0.03% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานมาตรฐานสากล 0.5%)
- อัตราการเสียชีวิตจากผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว 0% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 5%)
- อัตราการเสียชีวิตจากผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ 5.8% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 7.4%)
- อัตราการเสียชีวิตจากผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 3.6% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 7.5%)
- อัตราการเสียชีวิตหลังคลอดของคุณแม่ 0% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 8/100,000 ต่อการเกิดมีชีพ)
- อัตราการเสียชีวิตหลังคลอดของทารกแรกเกิด 0% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 8/10,000 ต่อการเกิดมีชีพ)
ความรวดเร็วในการให้การรักษาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อยู่ในเกณฑ์ที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล เพราะเราตระหนักดีว่าทุกนาทีมีค่าต่อชีวิตของผู้ป่วย การเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วเป็นปัจจัยสำคัญต่อการรอดชีวิตและลดความรุนแรงของโรค โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมอย่างไร้รอยต่อ การพัฒนาระบบและกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีในทุกขั้นตอนตั้งแต่ระยะเวลาการวินิจฉัยไปจนถึงวันที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา ระยะเวลาในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน ระยะเวลาการรายงานทางรังสีวิทยาที่เป็นภาวะวิกฤตและตัวชี้วัดอื่นๆที่สำคัญ
- ผู้สงสัยเป็นมะเร็งเต้านมได้รับการตรวจวินิจฉัยที่จำเป็นครบถ้วนภายใน 3 วัน 100%
- ผู้ป่วยเมื่อถูกระบุเป็นมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาภายใน 7 วัน 98%
ด้วย “อัตราความปลอดภัยที่สูงกว่าเกณฑ์” เมื่อ เปรียบเทียบกับมาตรฐานของ ACS – QVP. AHRQ. CDC. 50
th Percentile of NDNQ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหัวใจสำคัญ เรามีระบบการติดตามและประเมินความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการรักษา เห็นได้จากสถิติตัวเลข เช่น อัตราการรับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลภายใน 30 วัน อัตราการผ่าตัดซ้ำภายใน 30 วัน อัตราภาวะเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำขณะกำลังรักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราภาวะการติดเชื้อบางอย่างในโรงพยาบาล แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของการรักษาและการดูแลหลังการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
- อัตราการย้ายผู้ป่วยไปยังหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า 0.3% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 3.7%)
- อัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยโรคเดิมภายใน 30 วัน 0.42% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 3.4%))
- อัตราการผ่าตัดซ้ำภายใน 30 วัน 0.35% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 2.8%)
- อัตราการบาดเจ็บของอวัยะภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกรานที่เกิดจากอุบัติเหตุระหว่างผ่าตัด 0.97% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 0.99%)
- อัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่เกี่ยวข้องกับการใส่สายสวนปัสสาวะ 0.68% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 0.74%)
- อัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดที่เกี่ยวข้องกับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง 0.18% (เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 0.72%)