bih.button.backtotop.text

แผลปริที่ขอบทวารหนัก

แผลปริที่ขอบทวารหนัก (Anal Fissure) เป็นรอยฉีกหรือแผลเปิดขนาดเล็กที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุทวารหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บบริเวณทวารหนักหรือมีเลือดออกเมื่อถ่ายอุจจาระ ภาวะนี้พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็กเนื่องจากมักมีปัญหาท้องผูก

สาเหตุ
  • ทารกและเด็กเล็ก
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีอาการท้องผูก
  • สตรีที่เพิ่งคลอดบุตร
  • ผู้ป่วยโรคโครห์น (Crohn’s disease)
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • สังเกตเห็นรอยฉีกขาดที่ผิวหนังบริเวณรอบทวารหนัก
  • มีอาการเจ็บ แสบซึ่งบางครั้งอาจปวดรุนแรงบริเวณทวารหนักในขณะที่ถ่ายอุจจาระ
  • มีอาการเจ็บบริเวณทวารหนักนานหลายนาทีหลังถ่ายอุจจาระ
  • มีเลือดปนออกมากับอุจจาระหรือติดกระดาษชำระ
  • มีอาการคันหรือระคายเคืองรอบๆ ทวารหนัก
  • มีก้อนเนื้อหรือติ่งเล็กๆ บนผิวหนังใกล้แผลปริขอบที่ทวารหนัก
  • การซักประวัติผู้ป่วย เช่น อาการ พฤติกรรมการเข้าห้องน้ำ
  • การตรวจร่างกายบริเวณทวารหนัก โดยแพทย์อาจจะใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องทวารหนักหรือใช้กล้องส่องตรวจ
  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาโรคร่วม เช่น การตรวจเลือดหาการติดเชื้อซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี เป็นต้น
  • การดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น
    • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงและดื่มน้ำให้เพียงพอ
    • หลังการถ่ายอุจจาระให้นั่งแช่ในน้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณทวารหนักและช่วยให้หูรูดคลายตัวประมาณวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 10-20 นาที
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหว ช่วยให้ขับถ่ายได้สะดวก
    • หากมีอาการท้องผูกมาก อาจรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร ยาระบายหรือยาที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนนิ่มตามแพทย์สั่ง
  • การรักษาด้วยยา
    • ยาชาเฉพาะที่ในรูปแบบยาทา เพื่อช่วยลดอาการปวด
    • ยาทาที่ช่วยลดการหดตัวของกล้ามเนื้อหูรูด เช่น ยากลุ่ม nitroglycerin การฉีด Botulinum toxin
    • ยาปฏิชีวนะ หากแผลมีการอักเสบหรือเป็นหนอง
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด
    • การตัดกล้ามเนื้อหูรูด (lateral internal sphincterotomy) เพื่อทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของหวารหนักคลายตัว ทำให้ไม่เจ็บขณะถ่ายอุจจาระ อุจจาระผ่านได้สะดวกและทำให้แผลมีโอกาสหายเร็วขึ้น
  • รักษาความสะอาดบริเวณทวารหนักให้แห้งอยู่เสมอ
  • ดื่มน้ำในปริมาณมาก รับประทานอาหารที่มีใยอาหาร
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย
  • หากมีอาการท้องเสีย ให้รีบทำการรักษา
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ทารกบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลที่ผิวหนังจากการระคายเคือง
แก้ไขล่าสุด: 11 ธันวาคม 2567

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคลำไส้ใหญ่ และทวารหนักครบวงจร

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs