bih.button.backtotop.text

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด

ภาวะเชื้อราในช่องคลอด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยของการอักเสบในช่องคลอด โดยผู้หญิง 3 ใน 4 คนเคยติดเชื้อราในช่องคลอดอย่างน้อยครั้งหนึ่งและหลายคนติดเชื้ออย่างน้อยสองครั้ง ภาวะเชื้อราในช่องคลอดทำให้เกิดอาการบวม คันและระคายเคือง รวมถึงมีตกขาวออกจากช่องคลอดได้
ภาวะเชื้อราในช่องคลอดไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อรา เชื้อราที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อ Candida albicans รองลงมาคือเชื้อ Candida glabrata เพราะเป็นเชื้อที่สามารถยึดติดกับเซลล์บุช่องคลอดได้ดี

อาการของภาวะเชื้อราในช่องคลอด
อาการของภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง บางคนอาจไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ถึงแม้จะติดเชื้อก็ตาม อาการที่พบได้มีดังนี้
  • คันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอดหรือภายในช่องคลอด
  • มีอาการบวมบริเวณอวัยวะเพศ
  • รู้สึกแสบร้อนขณะมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ
  • มีผื่นแดงบริเวณอวัยวะเพศ
  • มีตกขาวเป็นสีขาวครีมข้น ไม่มีกลิ่น บางครั้งอาจมีลักษณะเป็นน้ำได้เช่นกัน
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น เคยมีประวัติเกิดการติดเชื้อราหรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่ ตรวจภายในและตรวจดูความผิดปกติของลักษณะภายนอก หลังจากนั้นแพทย์จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
  • ยาเฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา หรือยาเหน็บ ยากลุ่มนี้ทั้งครีมและยาเหน็บ ควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับถุงยางอนามัย (latex condom) ยาทาเฉพาะที่อาจทำให้มีการระคายเคืองหรือแสบร้อนได้แต่จะไม่ทำให้แพ้ทั้งร่างกาย
  • ยารับประทาน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรือปวดศีรษะได้ สำหรับยารับประทานกลุ่ม azole พบมีรายงานทำให้มีเอนไซม์ตับสูงขึ้น ภาวะข้างเคียงจะพบมากขึ้นหากใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาบางชนิด
การปฏิบัติตัวตามหลักสุขอนามัยช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อราในช่องคลอดได้
  • รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สมดุล
  • รับประทานโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมที่มีแลคโตบาซิลลัส ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่างในช่องคลอด
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินินหรือผ้าไหม รวมถึงสวมกางเกงและกางเกงชั้นในที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพราะเป็นการนำเชื้อแบคทีเรียดีที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อออกจากร่างกาย
  • ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าเปียกชื้นเป็นเวลานาน เช่น ชุดว่ายน้ำหรือชุดออกกำลัง
  • ไม่ใช้แผ่นอนามัยและเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างสม่ำเสมอขณะมีประจำเดือน เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้น
แก้ไขล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2567

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 3.60 of 10, จากจำนวนคนโหวต 5 คน

Related Health Blogs