bih.button.backtotop.text

ตาปลา

ตาปลา คือ การที่ผิวหนังเกิดการแข็งตัวเป็นก้อนผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดได้กับผิวหนังบริเวณที่ได้รับการเสียดสีบ่อยๆ โดยมากแล้วจะไม่เกิดความเจ็บปวดหรือเจ็บน้อยมาก นอกจากนี้ตาปลายังเกิดบริเวณนิ้วเท้าได้เช่นกัน โดยมักเกิดบริเวณผิวหนังที่ใกล้กับกระดูก จึงมีความเจ็บปวดมาก

สาเหตุ
ตาปลาเกิดจากการตอบสนองของผิวหนังที่ต้องแข็งตัวขึ้นเนื่องจากโดนเสียดสีบ่อยๆ
  • ตาปลาผิวหนัง เกิดจากการที่ผิวหนังบริเวณนั้นได้รับการเสียดสีบ่อยครั้ง
  • ตาปลานิ้วเท้า เกิดจากการที่นิ้วเท้าได้รับการเสียดสีบ่อยครั้ง เช่น การใส่รองเท้าที่คับเกินไป หรือรูปเท้ามีลักษณะผิดปกติทำให้มีส่วนที่ยื่นมาโดนรองเท้า
  • อาการของตาปลาผิวหนัง คือ ผิวหนังหยาบกระด้าง แข็งขึ้น ไม่เจ็บปวดหรือเจ็บน้อยมาก มีสีเหลืองหรือแดง
  • อาการของตาปลานิ้วเท้า คือ เกิดตุ่มเล็กๆ แต่เจ็บมากบริเวณด้านข้างหรือด้านบนของเท้า หรือระหว่างนิ้วเท้า มีสีเหลืองหรือแดง
โดยปกติการรักษาตาปลาจะเป็นการดูแลรักษาด้วยตนเองและการใช้ยา ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือมีปัญหาด้านระบบการไหลเวียนโลหิตควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตาปลา เนื่องจากหากพยายามรักษาด้วยตนเองอาจกลายเป็นการติดเชื้อร้ายแรงได้

การรักษา
  • สวมใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดีเท้า สวมถุงมือ ถุงเท้า หรือแผ่นรองในรองเท้าเพื่อปกป้องผิวหนัง ใช้หินขัดเท้าถูเบาๆ บริเวณตาปลาระหว่างอาบน้ำจะช่วยให้ตาปลาบางลงได้
  • ใช้ยาละลายเคราติน (เช่น salicylic acid) เพื่อช่วยให้ตาปลามีขนาดเล็กและบางลง
  • การผ่าตัดเล็กหรือการยิงเลเซอร์เอาตาปลาออก ใช้สำหรับกรณีที่รุนแรง
การป้องกันตาปลาผิวหนัง
  •  หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวหนังเกิดการเสียดสีเป็นประจำ
  •  สวมถุงมือ ถุงเท้า หรือแผ่นรองในรองเท้าเพื่อลดการเสียดสี

การป้องกันตาปลานิ้วเท้า
  • สวมรองเท้าที่มีขนาดพอดีเท้า
  • สวมถุงเท้าที่มีขนาดพอดีเท้าและไม่ทำจากผ้าที่ระคายเคืองผิว
แก้ไขล่าสุด: 07 กุมภาพันธ์ 2566

การักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ผิวหนัง & ความงามด้านผิวพรรณ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์ผิวหนังและความงามไวทัลไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.60 of 10, จากจำนวนคนโหวต 15 คน

Related Health Blogs