bih.button.backtotop.text

สมองเสื่อม

สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย นอกจากสมองจะควบคุมการเคลื่อนไหว การพูด การรับความรู้สึกแล้ว ยังควบคุมความคิด สติปัญญา อารมณ์ รวมทั้งความจำด้วย ถ้าสมองเริ่มเสื่อมลงจะทำให้เกิดปัญหาในการทำงานของระบบต่างๆ จนกระทบต่อกับการดำเนินชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม รวมทั้งหน้าที่การงาน หรือกระทบต่อคนที่ต้องดูแลผู้ป่วยด้วย

อาการที่พบได้บ่อย
  1. พูดหรือถามเรื่องเดิมซ้ำๆ ภายในระยะเวลาสั้นๆ
  2. ลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดมาไม่นาน
  3. หาของไม่เจอบ่อยๆ
  4. ลืมนัดสำคัญบ่อยๆ
  5. สับสนเรื่องทิศทาง หลงทางในที่คุ้นเคย
  6. นึกคำพูดยากขึ้นหรือใช้คำผิดบ่อยๆ
  7. บุคลิก อารมณ์เปลี่ยน
  8. บกพร่องในทักษะที่เคยทำได้ เช่น การใช้รีโมทโทรทัศน์ การทำกับข้าว
โดยอาการมักจะค่อยเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี
 
มีทั้งแบบรักษาหายและไม่หายขาด แพทย์จะวินิจฉัยว่าภาวะสมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
กลุ่มที่รักษาหายขาด
  1. โรคของต่อมไทรอยด์ โรคขาดวิตามินบี 12 การติดเชื้อซิฟิลิสในสมอง การเกิดภูมิคุ้มกันต่อตัวเอง
  2. น้ำคั่งในโพรงสมอง เนื้องอก หรือเลือดออกในสมอง
  3. ขณะกำลังเป็นโรคซึมเศร้า (depression) อาจมีอาการคล้าย dementia เช่น หลงลืมง่ายเรียกว่า pseudodementia เมื่อไม่ซึมเศร้าก็จะหาย
  4. จากยาที่ใช้ประจำบางชนิด
ถ้าพบว่าเกิดจากสาเหตุดังกล่าวก็รักษาโรคต้นเหตุโดยตรง แต่หากไม่พบสาเหตุที่รักษาหายขาด ก็ค่อยมาดูว่าเป็นโรคอะไรที่อยู่ในกลุ่มไม่หายขาด
  1. โรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้ ได้แก่ อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  2. หลอดเลือดสมองตีบ (vascular dementia) ซึ่งยังมีโรคอื่นอีก แต่พบได้ไม่บ่อย
  1. การซักประวัติโดยละเอียด
  2. การตรวจร่างกายทางระบบประสาท
  3. การตรวจเลือด
  4. การตรวจสมรรถภาพของสมองโดยละเอียด (neuropsychology test)
  5. การทำคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (magnetic resonance imaging: MRI) หรือ PET (positron emission tomography) scan
ผลการตรวจข้างต้นจะสามารถบอกได้ค่อนข้างแม่นยำว่าภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วยนั้นเกิดจากสาเหตุใด หรือเป็นแค่จากอายุที่มากขึ้น หรือแม้กระทั่งอาจเกิดจากโรคซึมเศร้า
 
  1. รักษาตามสาเหตุ หากสรุปว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ แม้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาแบบประคับประคองโดยการใช้ยาและการไม่ใช้ยามีส่วนสำคัญอย่างมากในการเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วยและญาติ รวมถึงการคุยปรึกษากับแพทย์ยังสามารถทำให้ผู้ดูแลรับมือกับอาการต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้องและมั่นใจ
  2. รักษาโดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นหรือฝึกสมองที่เริ่มเสื่อม (cognitive training)
การดูแลสุขภาพร่างกายและสมอง
  1. การพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  4. ดื่มน้ำมากๆ
  5. การเข้าสังคมพบปะเพื่อนหรือญาติบ่อยๆ
  1. มีอาการด้านพฤติกรรม ความคิดความจำ เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างรวดเร็ว เช่น สับสน กระสับกระส่าย ไม่นอน
  2. มีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอื่นๆ ร่วมกับอาการความคิดความจำด้วย เช่น เดินเซ เดินลำบาก เกร็ง กระตุก
 Mayo Clinic. Dementia. Available from: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dementia/symptoms-causes/syc-20352013 [Accessed 3 July 2023].
ทบทวน กรกฎาคม 2566
 
แก้ไขล่าสุด: 06 มกราคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์โรคระบบประสาท

ดูเพิ่มเติม

คลินิกความจำ

ดูเพิ่มเติม

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.88 of 10, จากจำนวนคนโหวต 33 คน

Related Health Blogs