bih.button.backtotop.text

โรคต่อมไร้ท่อในเด็ก

หากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เริ่มผลิตฮอร์โมนเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ด้วยสาเหตุใดก็ตามจะทำให้ร่างกายเด็กเสียสมดุลของฮอร์โมนและเกิดภาวะผิดปกติต่างๆ

โรคต่อมไร้ท่อในเด็กคืออะไร

ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยต่อมที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เช่น การเจริญเติบโต การเผาผลาญพลังงานและพัฒนาการทางเพศ หากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ผลิตฮอร์โมนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป เริ่มผลิตฮอร์โมนเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ด้วยสาเหตุใดก็ตามจะทำให้ร่างกายเด็กเสียสมดุลของฮอร์โมนและเกิดภาวะผิดปกติต่างๆ โรคต่อมไร้ท่อในเด็กที่พบได้บ่อย มีดังนี้

  • ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย
  • โรคเบาหวานในเด็กและโรคอ้วน
  • ภาวะเตี้ย
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ได้แก่ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ในเด็ก และภาวะฮอร์โมนไทรอยด์เกิน (ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ)

ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย

ในเด็กผู้หญิง

  • มีเต้านมขึ้นก่อนอายุ 8 ปี
  • เจ็บลานนมหรือคลำได้ไตที่ลานนมทั้งสองข้าง
  • ส่วนสูงเพิ่มขึ้นเร็ว 
  • มีตกขาว มีประจำเดือน
  • มีขนที่อวัยวะเพศและรักแร้ มีกลิ่นตัว หน้ามัน มีสิว


ในเด็กผู้ชาย
•    มีอัณฑะหรืออวัยวะเพศโตขึ้นก่อนอายุ 9 ปี
•    ส่วนสูงเพิ่มขึ้นเร็ว
•    มีขนที่อวัยวะเพศและรักแร้ มีกลิ่นตัว หน้ามัน มีสิว


โรคเบาหวานในเด็กและภาวะอ้วน

โรคเบาหวานในเด็กแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยอาการมีดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อย
  • กระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำบ่อย
  • กินจุแต่น้ำหนักตัวไม่ขึ้น
  • น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ
  • มีมดไปตอมปัสสาวะ
  • ปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืนทั้งที่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้แล้ว
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมักเกิดกับเด็กที่มีภาวะอ้วน อาจพบลักษณะของการดื้ออินซูลิน ทำให้เด็กมีผิวหนังเป็นปื้นสีดำหนา บริเวณลำคอ ข้อพับและรักแร้
 

ภาวะเตี้ย

  • เด็กมีความสูงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่อยู่ในเพศและอายุเดียวกันมากกว่า 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation; SD) 

 

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด
มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุประมาณ 1 เดือน เช่น

  • นอนมาก 
  • ไม่ค่อยร้อง ร้องเสียงแหบ
  • ดูดนมได้ไม่ดี
  • ตัวเหลืองนาน
  • ขม่อมกว้าง 
  • ท้องป่อง สะดือจุ่น
  • ลิ้นโต
  • ตัวอ่อนปวกเปียก

โดยในทารกแรกเกิดทุกราย จะมีการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด เพื่อให้วินิจฉัยภาวะนี้และเริ่มรักษาได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ
 

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ในเด็ก

  • เติบโตช้า
  • ท้องผูก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ผิวแห้ง
  • น้ำหนักตัวขึ้น
  • เสียงแหบ
  • ประจำเดือนมาผิดปกติในเด็กผู้หญิง
  • ต่อมไทรอยด์โตขึ้น


ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์เกินหรือไทรอยด์เป็นพิษ

  • น้ำหนักตัวลด
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย
  • ชีพจรเต้นเร็วหรือใจสั่น
  • มือสั่น
  • นอนไม่หลับ
  • อารมณ์แปรปรวน กระวนกระวาย
  • ปัญหาด้านการเรียน ไม่มีสมาธิ
  • ถ่ายอุจจาระบ่อยหรือท้องเสีย
  • ต่อมไทรอยด์โตขึ้น
ซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจร่างกายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับโรคที่แพทย์สงสัย เช่น ตรวจเลือด ตรวจอัลตร้าซาวด์ ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
 
ขึ้นอยู่กับโรคที่แพทย์เป็น การรักษาทำได้โดยการแก้ที่สาเหตุและปรับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับที่ปกติ การรักษาทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับโรคและอาการของเด็ก เช่น การให้ยา การกลืนแร่ การผ่าตัด
 

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs