bih.button.backtotop.text

ภาวะเต้านมคัด

หลังคลอดมารดาจะมีการปรับเปลี่ยนของฮอร์โมน ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณเต้านมมากขึ้น ในวันที่ 2-5 หลังคลอดเต้านมจะสร้างน้ำนมมากขึ้น ทำให้เกิดการบวมและมีน้ำนมมาคั่งจำนวนมาก เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น แข็งตึง เจ็บ และร้อน บริเวณลานหัวนมตึงแข็ง น้ำนมไหลออกไม่ค่อยดี และหัวนมถูกรั้งให้หดสั้น ทาให้ลูกอมหัวนมได้ลำบาก บางครั้งอาจมีไข้ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง อาการเต้านมคัดมักจะเป็นทั้ง 2 ข้างและหากมีน้ำนมค้างอยู่ในเต้านมนานจะส่งผลให้หยุดการสร้างน้ำนมชั่วคราว จนกว่าจะมีการระบายน้ำนมออกไป

สาเหตุของเต้านมคัด
  1. ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกต้องการ
  2. แม่เว้นระยะการให้นมลูกนานเกินไป ลูกดูดนมแม่ไม่บ่อยพอ แม่จำกัดเวลาดูดนมของลูก หรือไม่ได้ระบายน้ำนมออกในช่วงที่ไม่ได้ให้นมลูก ทาให้มีปริมาณน้ำนมสะสมในเต้านมมาก
  3. แม่ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทาให้การระบายน้ำนมไม่ดีเท่าที่ควร
  1. การประคบร้อนด้วยผ้าชุบน้าอุ่นจัดพันโดยรอบเต้านมก่อนให้นมลูก จะช่วยให้ น้ำนมจะไหลได้ดีขึ้น โดยใช้เวลาในการประคบประมาณ 5 -10 นาที
  2. การประคบเย็นหลังการให้นมลูก จะช่วยลดอาการปวดและบวมของเต้านม โดยใช้เวลาในการประคบ ประมาณ 10 นาที หากปวดเต้านมมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล
  3. การนวดเต้านมเบาๆ ขณะที่ลูกดูดนม จะทาให้มารดารู้สึกผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นทาให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น
  4. หากลานหัวนมตึงแข็งจะทาให้ลูกดูดนมได้ยากขึ้น การบีบน้ำนมออกจากบริเวณลานหัวนมจะทำให้ลานหัวนมนิ่มทำให้ลูกดูดนมได้ดีขึ้น
  5. ให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน อาจทุก 2 -3 ชั่วโมงหรือเร็วกว่านั้นได้หากลูกต้องการ โดยไม่จากัดระยะเวลาการดูดนมของลูก
  6. ถ้าแม่เจ็บมากจนทนให้ลูกดูดนมไม่ไหว อาจงดให้ลูกดูดนมชั่วคราวและระบายน้ำนมออกเรื่อยๆ เพื่อคลายความเจ็บจนกว่าอาการเต้านมคัดจะดีขึ้น
  7. หลีกเลี่ยงการให้นมเสริมจากขวด หรือการใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป
  8. สวมยกทรงที่ช่วยพยุงเต้านม หลีกเลี่ยงการสวมยกทรงที่มีขอบลวดหรือคับแน่นเกินไป
  9. หากมีอาการเต้านมคัดเกิน 2 วัน ควรปรึกษาคลินิกนมแม่
แก้ไขล่าสุด: 26 ตุลาคม 2563

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

คลินิกนมแม่

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.65 of 10, จากจำนวนคนโหวต 23 คน

Related Health Blogs