bih.button.backtotop.text

การหกล้มในผู้สูงวัยและแนวทางการป้องกัน

ปัญหาการทรงตัวและการหกล้มพบได้บ่อยในผู้สูงวัย ผลจากการหกล้มนำไปสู่การเจ็บป่วย กระดูกหัก พิการ ทำให้สูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตและเสียชีวิตได้

ปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม
ปัจจัยเสี่ยงของการหกล้ม สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
  1. ปัจจัยเสี่ยงภายในร่างกาย เป็นปัจจัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
    1. การเปลี่ยนแปลงด้านสายตา เช่น สายตายาว มองไม่ชัด
    2. การเปลี่ยนแปลงระบบกล้ามเนื้อและกระดูก มีความเสื่อมของข้อต่อ เอ็น ทำให้มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหว
    3. การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้ผู้สูงวัยถ่ายปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการหกล้มได้
    4. ปัจจัยที่เกิดจากความเจ็บป่วย ตัวอย่างเช่น
  • โรคของระบบหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตตกเมื่อลุกขึ้นยืนจากท่านั่งหรือนอน ทำให้มีอาการวูบหมดสติ หรือเวียนศีรษะ
  • โรคทางสมอง เช่น ภาวะสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน หรือเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก ทำให้อาจมีอาการแขนขาอ่อนแรง ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
  • โรคทางร่างกายอื่นๆ การเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือการเจ็บป่วยอย่างเฉียบพลันที่จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้น
    1. ผลข้างเคียงจากการรับประทานยา เช่น กลุ่มยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ ยาต้านอาการซึมเศร้า เป็นต้น
  1. ปัจจัยเสี่ยงภายนอกร่างกาย ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทั้งจากภายในบ้านและภายนอกบ้าน เช่น พื้นลื่น ระดับพื้นที่ไม่เท่ากัน แสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่มีราวจับ การจัดวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ การใช้เครื่องใช้ในบ้านไม่เหมาะสม การสวมรองเท้าขนาดไม่พอดีกับเท้า เป็นต้น
  1. กระดูกหัก พบมากบริเวณข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือหักในผู้สูงวัย
  2. การบาดเจ็บที่ศีรษะ ส่งผลให้มีเลือดออกในศีรษะทั้งในสมองและใต้เยื่อหุ้มสมอง
  3. ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ (immobility) ต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆ อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ภาวะปอดบวม หรือแผลกดทับได้ง่าย
  4. กลัวการหกล้ม ส่งผลให้ผู้สูงวัยไม่กล้าเดิน/ไม่กล้าออกนอกบ้าน สูญเสียความมั่นใจ หดหู่ ซึมเศร้า จนอาจนำไปสู่ความเสื่อมถอยของความสามารถในการทําหน้าที่ (functional decline)

 
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการหกล้มในผู้สูงวัยมีหลายระบบที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการป้องกันการหกล้มจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดซึ่งสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้
  1. ประเมินและค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการหกล้ม และดำเนินการแก้ไข เช่น ห้องนอนควรอยู่ชั้นล่างเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงโดยไม่ต้องขึ้น-ลงบันได และควรอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นและเข้าถึงห้องน้ำได้สะดวก พื้นห้องน้ำควรมีผิวสัมผัสที่หยาบและควรมีราวจับเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการลื่น ควรมีแสงสว่างภายในบ้านและบริเวณทางเดินอย่างเพียงพอ เป็นต้น
  2. การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงวัยโดยการออกกำลังกาย เน้นการบริหารกล้ามเนื้อขาให้แข็งแรงและเพิ่มความสามารถในการทรงตัว เช่น การออกกำลังกายแบบไทเก๊ก เป็นต้น
  3. ประเมินการใช้ยา ได้แก่ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยาแก้แพ้ และยาแก้ปวด อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม สับสน เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น การใช้ยาในผู้สูงวัยควรใช้อย่างระมัดระวังเท่าที่จำเป็นและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์
  4. รองเท้าที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย ใส่แล้วเดินสบาย ไม่เสี่ยงล้ม ควรเลือกดังนี้
  • รองเท้าส้นเตี้ยและขอบมน พื้นรองเท้าควรมีดอกยางเพื่อให้พื้นรองเท้าสามารถเกาะติดกับพื้นได้ดีขึ้น ป้องกันการลื่นหกล้ม
  • รองเท้าหุ้มส้น โดยส่วนที่หุ้มส้นและข้อเท้าควรมีความแข็งพอสมควร เพื่อเป็นการพยุงข้อเท้า ทำให้ทรงตัวได้ดีขึ้น
  • รองเท้าหน้ากว้าง เพื่อทำให้นิ้วเท้าสามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก
  • พื้นรองเท้าด้านหน้าควรเชิดขึ้นจากพื้นเล็กน้อย เพื่อให้เดินได้มั่นคงและป้องกันการสะดุดเท้าตัวเอง
  • รองเท้าควรปรับขนาดได้ เช่น รองเท้าผ้าใบ หรือรองเท้าที่มีสายคาด เพื่อสามารถปรับขนาดให้เหมาะสมสำหรับเท้าของผู้สูงวัย
  1. อุปกรณ์ช่วยเดิน หมายถึง อุปกรณ์ที่นำมาช่วยในการพยุงร่างกายเพื่อให้สามารถเดินได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีปัญหาในการควบคุมการทรงตัว มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา และมีปัญหาในการเดิน ตัวอย่างของอุปกรณ์ช่วยเดิน ได้แก่ ไม้เท้า วอล์กเกอร์ วอล์กเกอร์ที่มีล้อด้านหน้า หรือวอล์กเกอร์ที่นั่งได้
 
 
แก้ไขล่าสุด: 08 มกราคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs