bih.button.backtotop.text

การดูแลปัญหาทางเดินอาหารที่พบบ่อยในผู้สูงวัย

ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของผู้สูงวัยที่พบได้บ่อย เช่น ท้องผูก, ท้องเสีย และกรดไหลย้อนเป็นต้น

ท้องผูก (Constipation)
ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงวัย เนื่องจากการทำงานและการตอบสนองของระบบทางเดินอาหารช้าลงตามอายุ นอกจากนี้ ยาหลายชนิดที่ใช้ในผู้สูงวัยก็มักก่อให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูก เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมหรือธาตุเหล็ก ยาแก้ปวด ยาต้านซึมเศร้า หรือยารักษาโรคพาร์กินสัน เป็นต้น รวมถึงโรคต่างๆ ใน
ผู้สูงวัย เช่น โรคพาร์กินสัน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ระดับแคลเซียมในเลือดสูง หรือการติดเตียง ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามก่อนการใช้ยาระบาย ควรลองปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตดังนี้:
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 4-6 แก้วต่อวัน
  • รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ การปั่นเป็นเครื่องดื่มอาจช่วยได้ในผู้ที่มีปัญหาการเคี้ยวอาหาร
  • พยายามขับถ่ายให้เป็นเวลา โดยปกติควรเป็นช่วงหลังอาหารเช้าและเดินสักพักเพื่อกระตุ้นให้รู้สึกอยากถ่าย การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นมีส่วนช่วยควบคุมการขับถ่ายให้สม่ำเสมอ
หากทำการปรับเปลี่ยนทั้งหมดข้างต้นแล้วและยังจำเป็นต้องใช้ยาระบาย ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาระบายที่เหมาะสมสำหรับโรคประจำตัวของท่าน ยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการเริ่มใช้คือยาระบายชนิดใยอาหารที่เพิ่มมวลอุจจาระ แต่ยานี้ต้องใช้ร่วมกับการดื่มน้ำให้เพียงพอ จึงอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ดื่มน้ำน้อย ยาระบายที่มีความปลอดภัยอีกชนิดคือยาที่ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม เช่น แลคตูโลส (lactulose) หรือมิลค์ออฟแมกนีเซีย (milk of magnesia) แต่อย่างไรก็ตาม ยาชนิดหลังไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ยาระบายชนิดกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เช่น มะขามแขก หรือบิซาโคดิล (bisacodyl) มักมีประสิทธิภาพดี แต่อาจทำให้เกิดการติดยาและความเคยชิน ผู้สูงวัยจำนวนมากใช้ยาระบายชนิดสวนหรือยาเหน็บเป็นประจำเพื่อช่วยให้ถ่าย แต่การใช้ยาเหล่านี้เป็นประจำอาจทำให้เกิดการติดยาและเยื่อบุลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลง หากอาการท้องผูกไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตและการเพิ่มใยอาหาร แนะนำให้ท่านปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาระบายที่เหมาะสม  
 
 
ผู้สูงวัยอาจมีอาการท้องเสียจากการติดเชื้อในทางเดินอาหาร ผลข้างเคียงจากยา หรือแม้แต่การรับประทานยาระบายมากเกินไปเพื่อรักษาอาการท้องผูก จึงมักมีความเสี่ยงที่จะขาดน้ำหรือสูญเสียเกลือแร่ต่างๆ ได้ง่าย ดังนั้นการรักษาระดับน้ำในร่างกายและเกลือแร่ต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ หากมีอาการอาเจียนร่วมด้วยและไม่สามารถดื่มของเหลวได้ อาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อชดเชยน้ำในร่างกาย

เมื่อมีอาการท้องเสีย ควรชดเชยการสูญเสียน้ำด้วยการจิบน้ำผสมผงเกลือแร่อย่างช้าๆ โดยในระยะสั้นหากได้รับน้ำ น้ำตาล และเกลือแร่แล้ว ยังไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารทันที เมื่อกลับมาเริ่มรับประทานอาหารอีกครั้ง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีใยอาหาร ไขมัน หรือเครื่องเทศ

หากมีอาการท้องเสียเป็นเวลานาน หรือรู้สึกอ่อนเพลียหรือรู้สึกสับสนมากขึ้น ควรพบแพทย์ในทันที 
 
ท้องอืด อาหารไม่ย่อย และกรดไหลย้อน เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัย เนื่องจากกระเพาะอาหารใช้เวลาในการย่อยอาหารนานขึ้น หูรูดของหลอดอาหารคลายตัวมากกว่าปกติ และยาบางชนิดที่อาจเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นวิธีการส่วนหนึ่งเพื่อช่วยลดอาการกรดไหลย้อน:
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ในตอนดึกหรือเข้านอนหลังรับประทานอาหารได้ไม่นาน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม และการสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร 
  • ลดการรับประทานอาหารรสเผ็ด อาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่มีไขมัน ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยยาก
  • อยู่ในท่าหลังตั้งตรงอย่างน้อย 2 ชั่วโมงหลังอาหาร หรือนอนด้วยหมอนที่สูงขึ้น
แก้ไขล่าสุด: 09 มกราคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs