โรคมุมตาแคบ เป็นความผิดปกติทางสรีรวิทยาของการไหลเวียนของของเหลวภายในลูกตา โดยปกติภายในลูกตาจะมีการไหลเวียนของของเหลว (aqueous humor) ซึ่งเกิดจากกลไกการสร้างและระบายน้ำในลูกตา การผลิตน้ำในลูกตา (aqueous humor) เมื่อถูกสร้างแล้วจะออกมาอยู่ที่ช่องหลังเลนส์ตาก่อน (posterior chamber) จากนั้นจะมีการไหลเวียนผ่านช่องระหว่างม่านตาและเลนส์ตาเพื่อออกสู่ช่องหน้าลูกตา (anterior chamber) และหมุนเวียนนำของเสียออกไปทางมุมตา ซึ่งมุมตาจะมีลักษณะเป็นตะแกรงที่เรียกว่า trabecular meshwork เป็นทางผ่านของน้ำในลูกตาเพื่อดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดดำ ผู้ที่มีมุมตาแคบคือมีความผิดปกติบริเวณมุมตา ซึ่งแคบหรือปิดโดยม่านตา มักจะพบลักษณะเฉพาะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือพบบ่อยในบางเชื้อชาติ เช่น คนเชื้อสายเอเชีย