bih.button.backtotop.text

โรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลเกิดขึ้นในกระเพาะอาหารและ/หรือลำไส้เล็กส่วนต้น โดยเป็นโรคที่พบได้บ่อยและพบได้ในทุกอายุ

สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารที่พบได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ชอบอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารที่มีกรดสูงและชอบชอนไชเข้าไปในเยื่อบุของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทำให้เกิดแผลได้ เชื่อว่าเชื้อ H. pylori สามารถติดต่อได้ทางปากจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่

สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เป็นต้น โดยผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มนี้บ่อยหรือเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
 
อาการสำคัญที่พบได้บ่อยคือ อาการปวดแสบปวดร้อนในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งระหว่างหน้าอกและสะดือ ซึ่งอาจปวดได้เมื่อท้องว่าง ระหว่างมื้ออาหาร หรือเวลาใดก็ได้ ในบางครั้งอาจมีอาการปวดจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โดยอาการปวดอาจสั้นหรือยาวก็ได้ อาจมีอาการเพียงไม่กี่นาทีจนถึงเป็นชั่วโมง

อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระมีเลือดปน หรือเบื่ออาหาร ทั้งนี้อาการเลือดออกอาจเป็นอาการเริ่มแรก หรือเป็นอาการเพียงอย่างเดียวของโรคนี้ก็ได้ หากมีเลือดออกและปล่อยให้ออกต่อไปโดยไม่ทำการรักษา ผู้ป่วยอาจมีภาวะซีดและอ่อนเพลียได้
หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ควรติดต่อนัดพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะมีวิธีการตรวจวินิจฉัยดังนี้
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
  • การตรวจหาเชื้อ H. pylori ในกระเพาะอาหารทางลมหายใจ
  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยแพทย์จะสอดท่อขนาดเล็กและพับงอได้เข้าไปทางปาก จากนั้นสอดลงสู่กระเพาะอาหาร ที่ปลายท่อจะมีกล้องขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถดูลักษณะการอักเสบของแผลได้ แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อผนังกระเพาะอาหารออกมาเพื่อตรวจสอบหาเชื้อ H. pylori
  • การถ่ายภาพทางรังสีในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นระยะ (upper gastrointestinal series) โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานสารทึบแสงก่อนจากนั้นจึงทำการเอกซเรย์
แนวทางการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารขึ้นกับสาเหตุ
  • การรักษาเพื่อกำจัดเชื้อ H. pylori จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะเชื้อนี้ค่อนข้างดื้อต่อยาโดยส่วนใหญ่ มักต้องใช้ยา 2-3 ชนิดเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหาร 1 ชนิด และร่วมกับยาปฏิชีวนะ 1-2 ชนิด โดยมีประสิทธิผลในการกำจัดเชื้อ H. pylori ได้ 80-90% นอกจากนั้น ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยารักษาโรคกระเพาะอาหารต่ออีก 4-8 สัปดาห์แล้วแต่กรณี
  • การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) อาจต้องทำการปรับเปลี่ยนยาที่ใช้ ร่วมกับรับประทานยาลดกรดหรือยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารตามแต่แพทย์สั่ง
ทั้งนี้ หากการรักษาไม่สามารถรักษาแผลที่มีอยู่ได้ หรือมีอาการแทรกซ้อน หรือเกิดมีกระเพาะอาหารทะลุ แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัด
  • ป้องกันและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโดยการล้างมือให้สะอาด รับประทานอาหารที่สุกและสะอาด และดื่มน้ำที่สะอาด
  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากต้องรับประทานยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) เป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารเป็นแผลจากการใช้ยา
  • ไม่ซื้อยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) รับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง