bih.button.backtotop.text

โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือรองช้ำ

โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ หรือที่รู้จักกันดีว่าโรครองช้ำ เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการเจ็บที่ส้นเท้าจนอาจส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้

อาการของโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

ผู้ที่เป็นโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบจะมีอาการเจ็บที่ส้นเท้าและลามไปทั่วฝ่าเท้า ในบางครั้งอาจลามไปที่อุ้งเท้าด้วย ลักษณะอาการเจ็บจะเป็นแบบปวดจี๊ดและปวดแสบ โดยความเจ็บปวดจะเกิดขึ้นทีละน้อย อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน ทั้งนี้อาการปวดอาจมากขึ้นได้ในช่วงระหว่างวันและ/หรือหลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เช่น ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน และยิ่งมีการเคลื่อนไหวมากก็จะรู้สึกปวดมากขึ้น

 

  • การรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยในผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานในระหว่างวัน เช่น ผู้ที่ต้องยืนตลอดกะการทำงานทั้ง 8 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้น
  • น้ำหนักตัวมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจก่อให้เกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า
  • ลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดิน/วิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิมหรือบนพื้นผิวแข็ง (เช่น พื้นซีเมนต์หรือคอนกรีต)
  • เอ็นร้อยหวายยึด ทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือข้อสันหลังอักเสบ อาจทำให้มีโอกาสเกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นในจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
  • ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป หรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่องทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ
  • การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • การใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน (arch support) และ/หรืออุปกรณ์รองรับส้นเท้า (heel cushion)
  • การทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การฝึกยืดเอ็นร้อยหวาย ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ 
  • การฉีดสเตียรอยด์ เป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก แม้ว่า 98% ของผู้ที่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์จะรู้สึกดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลานานถึง 18 เดือนจึงจะหายขาด และในบางครั้งโรคอาจเกิดขึ้นมาได้อีก 

 
โดยส่วนใหญ่การรักษาโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนได้ เช่น การติดเชื้อ การเจ็บปวดต่อเนื่อง การที่เส้นประสาทเล็กๆ บริเวณรอบฝ่าเท้าได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทำให้รู้สึกชาและเหมือนมีเข็มตำที่ส้นเท้า รวมถึงการผ่าตัดนำพังผืดออกอาจทำให้ฝ่าเท้าแบนได้อีกด้วย

แก้ไขล่าสุด: 12 มกราคม 2564

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ออร์โธปิดิกส์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.54 of 10, จากจำนวนคนโหวต 70 คน

Related Health Blogs