bih.button.backtotop.text

เบาหวานและการตั้งครรภ์

เบาหวานเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดระดับกลูโคสในเลือดสูง (กลูโคส คือ น้ำตาลที่เป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย) โดยร่างกายที่มีกลูโคสสูงสามารถก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ทางสุขภาพตามมาได้ เบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนตั้งครรภ์หรือระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งสองสภาวะล้วนจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  1. เบาหวานที่พบก่อนการตั้งครรภ์ หมายถึง หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ หรือตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังอดอาหารมากกว่า 25 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร่วมกับมีอาการของภาวะเบาหวาน การรักษาโดยการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และอาจใช้ยาฉีดอินซูลินหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
  2. เบาหวานที่พบขณะตั้งครรภ์ หมายถึง หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยตรวจพบหรือไม่ทราบว่าเป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์แต่ได้รับวินิจฉัยขณะตั้งครรภ์ หากระดับน้ำตาลไม่สูงมาก เมื่อคลอดบุตรแล้วสภาวะของโรคมักหายไป
โดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม แล้วตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากนั้น 1 ชั่วโมง หากพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรแสดงว่ามีแนวโน้มในการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จึงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม
 
ผลกระทบระหว่างตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูง มีภาวะเสื่อมของปลายประสาท ไต ตา และหลอดเลือด ติดเชื้อได้ง่าย ปริมาณน้ำคร่ำมากเกิดปกติ และอัตราการผ่าท้องคลอดเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ผลกระทบต่อทารก มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดการแท้ง เสียชีวิตในครรภ์ มีความพิการแต่กำเนิด ทารกน้ำหนักตัวมากทำให้คลอดลำบาก มีโอกาสเกิดอันตรายระหว่างคลอดได้ เช่น คลอดติดไหล่ นอกจากนี้ทารกหลังคลอดอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นต้น
 
เบาหวานทั้งสองชนิดสามารถควบคุมได้ระหว่างตั้งครรภ์ โดยการควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด วิธีการควบคุม เช่น รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายเป็นประจำ หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จำเป็นต้องได้รับอินซูลิน ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์หรือว่าเป็นอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ก็ตามควรพบแพทย์ตามนัด

เนื่องจากการมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบทั้งสุขภาพมารดาและทารก การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จะช่วยป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อมารดาและทารกได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานก่อนและขณะตั้งครรภ์จึงควรพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัดเพื่อสุขภาพที่ดีของมารดาและทารก
 
แก้ไขล่าสุด: 06 พฤษภาคม 2564

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ต่อมไร้ท่อ เบาหวานและโภชนบำบัด

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs