bih.button.backtotop.text

สายตายาวสูงอายุ

สายตายาวสูงอายุมักพบในผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป เป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับทุกคน เพียงแต่จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าแตกต่างกันไป นอกจากนี้โรคบางโรคยังอาจทำให้เกิดสายตายาวสูงอายุได้เร็วกว่าปกติ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคโลหิตจางและการได้รับอุบัติเหตุทางตา

สาเหตุของสายตายาวสูงอายุ
สาเหตุหลักคืออายุที่มากขึ้น โดยเฉลี่ย 40 ปีขึ้นไป การโฟกัสในที่ใกล้อาศัยกล้ามเนื้อในลูกตา (Ciliary muscle) ที่เป็นตัวบีบให้เลนส์ตาซึ่งอยู่บริเวณส่วนกลางของลูกตาขยับโป่งเข้า-ออก เพื่อให้เห็นชัดในที่ใกล้ เมื่ออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อนี้อ่อนแรงลงร่วมกับเลนส์ตาที่แข็งขึ้นทำให้การปรับโฟกัสมองใกล้ทำได้ยากขึ้น ระยะชัดยืดห่างตัวเราออกไป ภาวะนี้ สามารถเกิดร่วมกับสายตาสั้น สายตายาวแต่กำเนิดและสายตาเอียงได้ ต่างจากสายตายาวแต่กำเนิดโดยที่สายตายาวแต่กำเนิดมักมีปัญหาทั้งการมองใกล้และมองไกล โดยพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่สายตายาวสูงอายุมักมองไม่ชัดในการมองใกล้และมองไกลในผู้ใหญ่เท่านั้น
  • ไม่สามารถอ่านหนังสือหรือมองวัตถุระยะใกล้ได้ชัดเจนเหมือนเดิมแต่ยังมองระยะไกลได้ดี
  • อาจปวดตาหรือปวดศีรษะเมื่อทำงานระยะใกล้
  • อาจแสบตาหรือเคืองตา
สายตายาวสูงอายุวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจตาขั้นพื้นฐาน ได้แก่การตรวจสุขภาพตาโดยทั่วไปและการตรวจด้วยเครื่องมือดังนี้
 
  • การตรวจระดับการมองเห็น (visual acuity assessment test) เพื่อวินิจฉัยภาวะสายตายาวโดยให้อ่านตัวอักษรหรือตัวเลขบนแผนภูมิในระยะที่กำหนด
  • การทดสอบความหักเหของแสงที่เข้าสู่ดวงตา (refraction test) โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Phoropter เครื่องมือจะมีเลนส์หลายชุดที่มีขนาดกำลังต่างๆกันและให้อ่านแผนภูมิขณะมองผ่านเลนส์ที่มีกำลังแตกต่างกัน เพื่อให้ได้ค่าเลนส์ที่เหมาะสมในการแก้ไขสายตา
  • การตรวจวัดสายตาระยะใกล้ (Near visual acuity test) โดยให้ผู้ป่วยถือแผ่นตรวจค่าสายตาแบบมองใกล้ ที่ระยะ 30 ถึง 45 ซม. และอ่านจากขนาดใหญ่ไปหาเล็ก หากมองไม่ชัด แพทย์จะค่อยๆใส่เลนส์(เพื่อช่วยขยายขนาดตัวอักษะ)ให้ผู้ป่วย ทำให้อ่านได้ดีขึ้น โดยที่ค่าเลนส์ เช่น +1 +2D (Diopters) คือค่าสายตายาวสูงวัยที่ผู้ป่วยจะใส่เพื่อช่วยการมองเห็นในที่ใกล้
  • ตรวจตาอย่างละเอียด โดยจักษุแพทย์ (Slitlamp examination) เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีภาวะสายตาผิดปกติที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ตาแห้งหรือจอประสาทตาเสื่อม
แก้ไขได้โดยการใช้เลนส์นูนเฉพาะเวลาดูใกล้ โดยการแก้ไขภาวะสายตายาวมีทางเลือกทั้งแบบไม่ถาวรและแบบถาวร ดังนี้

การรักษาแบบไม่ถาวร
  • แว่นสายตา มีทางเลือกหลายอย่างดังนี้
    • แว่นสายตาสำหรับมองใกล้ หากไม่มีปัญหาสายตาด้านอื่นๆ อาจใช้เพียงแว่นสายตาชนิดนี้เฉพาะเวลาทำงานระยะใกล้ เช่น อ่านหนังสือ
    • แว่นสายตาเลนส์สองชั้น (bifocals) แว่นสายตาที่มีเลนส์สำหรับมองไกลอยู่ด้านบนและมองใกล้ใช้เลนส์ด้านล่าง
    • แว่นสายตาเลนส์สามระยะ (trifocals) แว่นสายตาที่มีสามเลนส์ ได้แก่เลนส์สำหรับมองไกล เลนส์สำหรับมองระยะกลางและเลนส์สำหรับมองใกล้
    • แว่นสายตาเลนส์โปรเกรสซีฟ (progressive) แว่นสายตาที่มีเลนส์ที่ช่วยให้มองเห็นชัดทุกระยะ ทั้งระยะใกล้ ระยะกลางและระยะไกล
  • เลนส์สัมผัส สำหรับคนที่ไม่อยากสวมแว่นตา สามารถใส่เลนส์สัมผัสเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
    • เลนส์สัมผัสสองระยะ (bifocal contact lenses) เลนส์สัมผัสชนิดที่มีโฟกัสสองระยะ ทำให้มองเห็นทั้งในระยะใกล้และระยะไกล
    • เลนส์สัมผัสหลายระยะ (multifocal contact lens) คล้ายคลึงกับเลนส์สัมผัสสองระยะแต่เพิ่มการมองเห็นระยะกลางประมาณ 3 ฟุต

การรักษาแบบถาวร
  • เทคนิค Monovision เป็นการกำหนดค่าสายตาโดยทำให้ตาข้างหนึ่งชัดในที่ไกล ส่วนอีกข้างชัดในที่ใกล้ เมื่อเปิดตาทั้ง 2 ข้างจะทำให้มองใกล้และมองไกลได้ โดยทำได้ทั้งเลนส์สัมผัส เลเซอร์ชนิดต่งๆ เช่น ReLEx SMILE, Femtosecond LASIK, หรือ PRK  เหมาะกับผู้ที่ต้องการมองเห็นในระยะใกล้และไกลโดยไม่ต้องใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้อาจไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการมองใกล้เพื่ออ่านหนังสือเป็นเวลานานและมองไกลในเวลากลางคืนหรือในที่ที่แสงไม่เพียงพอ เนื่องจากอาจมีอาการตาล้าหรือความคมชัดไม่พอ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใช้แว่นสายตาในบางโอกาศ วิธีนี้ไม่ได้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยทุกคน ควรเข้ารับการปรึกษากับจักษุแพทย์ก่อนตัดสินใจ
  • FemtoLASIK PRESBYOND เป็นการทำเลสิกแบบไร้ใบมีด แพทย์จะใช้เฟมโตเซเคินเลเซอร์ในการสร้างฝากระจกตาแทนการใช้ใบมีด ทำให้การสร้างฝากระจกตามีความอ่อนโยนและแม่นยำกว่าการใช้ใบมีด เฟมโตเลสิกสามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาสายตายาวตามวัยได้ด้วยโปรแกรม PRESBYOND laser blended vision เพื่อเพิ่มความโค้งกระจกตาให้มีความยาวโฟกัสมากขึ้น
ภาวะสายตายาวสูงอายุเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามวัย ถึงแม้จะป้องกันไม่ได้แต่เราสามารถดูแลดวงตาให้มีสุขภาพดีไปนานๆและป้องกันโรคตาอื่นๆที่มาพร้อมกับวัย เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุได้ด้วยวิธีการดังนี้
  • ใช้สายตาในที่ๆมีแสงสว่างเพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่ประกอบด้วยวิตามินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตา เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี ลูทีนและซีแซนทีน พบได้มากในผักใบเขียวและผลไม้
  • สวมแว่นกันแดดเมื่ออยู่กลางแจ้ง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ไม่สูบบุหรี่ จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมโรคเรื้อรังที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้งโรคตาหลายชนิดสามารถรักษาหรือลดความรุนแรงได้หากพบและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
วิทยาลัยจักษุวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Ophthalmology) ได้แนะนำให้ผู้ใหญ่ตรวจตาอย่างสม่ำเสมอตามแนวทางดังนี้
  • อายุน้อยกว่า 40 ปีควรตรวจตาทุก 5-10 ปี
  • อายุ 40 ถึง 54 ปี ควรตรวจตาทุก 2-4 ปี
  • อายุ 55 ถึง 64 ปี ควรตรวจตาทุก 1-3 ปี
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาทุก 1-2 ปี
 
หากมีปัญหาสายตา เช่น ต้องใช้แว่นหรือเลนส์สัมผัสหรือโรคประจำตัวที่อาจมีผลกับขอประสาทตา เช่น โรคเบาหวาน ควรมาพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาบ่อยครั้งกว่าที่แนะนำ
 

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เลเซอร์สายตา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs