bih.button.backtotop.text

วัคซีนที่ผู้สูงวัยควรฉีด

ภูมิคุ้มกันของผู้สูงวัยอาจลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งจากกระบวนการชราและจากโรคเรื้อรังที่ผู้สูงวัยอาจมีร่วมด้วย ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีพิจารณารับการฉีดวัคซีนดังต่อไปนี้ เพื่อปกป้องตนเองจากโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรค

วัคซีนไข้หวัดใหญ่
  • ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สามารถก่อให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรงในผู้สูงวัย ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เกิดปอดอักเสบ หรือแม้แต่เสียชีวิตได้ แนะนำให้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะก่อนช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาวที่มีการระบาดสูง
  • ผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 65 ปี อาจพิจารณารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขนาดสูง (high dose) เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ที่รุนแรง 
  • โรคปอดบวมและไอพีดี (invasive pneumococcal disease: IPD) เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในผู้สูงวัย เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัสซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีหลายสายพันธุ์และแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ง่ายผ่านละอองฝอยจากการหายใจ ไอ และจาม โรคที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส ได้แก่ โรคปอดบวม ปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และไซนัสอักเสบ ส่วนการติดเชื้อนิวโมคอคคัสที่รุนแรงอาจทำให้เกิดโรคไอพีดี (invasive pneumococcal disease: IPD) ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
  • แนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดคอนจูเกต 13 หรือ 15 สายพันธุ์ (PCV13 หรือ PCV15) 1 เข็ม ตามด้วยชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ (PPSV23) อีก 1 เข็ม ห่างกัน 1 ปี
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันปอดอักเสบมาก่อน สามารถเลือกรับการฉีดวัคซีนชนิดคอนจูเกต 20 สายพันธุ์ (conjugate 20-valent) เพียง 1 เข็มได้
  • ผู้สูงวัยจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรครุนแรง การเสียชีวิต หรือปัญหาสุขภาพในระยะยาวจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยอัตราการเสียชีวิตในผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัวที่ติดเชื้อโควิด-19 อาจสูงถึง 1 ใน 3 ข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อและป้องกันการเกิดโรคที่รุนแรง รวมถึงผลข้างเคียงที่รุนแรงของวัคซีนมีน้อยมากและเกิดในผู้สูงวัยน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว
  • แนะนำให้ผู้สูงวัยรับวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ จำนวน 1 เข็มต่อปี
อาร์เอสวี (respiratory syncytial virus: RSV) เป็นไวรัสที่คล้ายกับไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือโควิด-19 ซึ่งสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงและภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงวัยและเด็กเล็ก โรคนี้เกิดขึ้นตามฤดูกาลในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ผู้สูงวัยโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรังหรือโรคหัวใจควรพิจารณารับการฉีดวัคซีนนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี

 
  • โรคบาดทะยัก คอตีบ และไอกรนยังคงพบได้ในประเทศไทย และสามารถทำให้เกิดโรคที่มีความรุนแรงได้ในผู้สูงวัย
  • วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน (tetanus-diphtheria-acellular pertussis vaccine: Tdap) เป็นวัคซีนกระตุ้นสำหรับฉีดทุก 10 ปี หลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ผู้สูงวัยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน (Tdap) แทนการได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและคอตีบ (tetanus-diphtheria toxoid vaccine: Td) หรือวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (tetanus toxoid: TT) เพียงอย่างเดียว
  • โรคงูสวัดเกิดได้บ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดแสบร้อนตามแนวเส้นประสาท ซึ่งในผู้สูงวัยมักมีอาการรุนแรงและนานกว่าผู้ที่มีอายุน้อย วัคซีนสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้
  • แนะนำให้ผู้ใหญ่อายุ 50 ปีขึ้นไปเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดชนิดรีคอมบิแนนท์ (recombinant zoster vaccine) จำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน  
หลังการฉีดวัคซีนทุกชนิด อาจมีอาการไข้ต่ำ ปวด บวม และแดงในบริเวณที่ฉีดวัคซีนเกิดขึ้นได้ สามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมได้ตามความจำเป็น ซึ่งอาการควรดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์
การฉีดวัคซีนถือเป็นกลยุทธ์การป้องกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันการเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งช่วยให้ผู้สูงวัยสามารถรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีเอาไว้ได้
 
สามารถรับคำปรึกษาและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงวัยได้ที่คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
  • สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A1333.html [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567].
  • World Health Organization. COVID-19 advice for the public: Getting vaccinated. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19-vaccines/advice [Accessed 5 November 2024].
  • Centers for Disease Control and Prevention. Staying up to date with COVID-19 vaccines. Available from: https://www.cdc.gov/covid/vaccines/stay-up-to-date.html [Accessed 5 November 2024].
แก้ไขล่าสุด: 17 มกราคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs