bih.button.backtotop.text

การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงวัย

เมื่อผู้สูงวัยอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหว สายตา และความจำ มักเสื่อมลงตามธรรมชาติ ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลควรดูแลการใช้ยาเพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงวัยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือ การอ่านฉลากยาให้ละเอียด เพื่อให้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา

การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงวัย
ผู้สูงวัยมักมีปัญหาสุขภาพหลายด้านทำให้ต้องใช้ยาหลายประเภท ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา การได้รับยามากเกินไป และผลข้างเคียงจากยาที่รุนแรง
 
การใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงวัย
เมื่อผู้สูงวัยอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหว สายตา และความจำ มักเสื่อมลงตามธรรมชาติ ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลควรดูแลการใช้ยาเพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงวัยใช้ยาได้อย่างถูกต้อง โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือ การอ่านฉลากยาให้ละเอียด เพื่อให้สามารถใช้ยาได้อย่างถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา
 
ยาก่อนอาหารควรรับประทานอย่างน้อย 30 นาทีก่อนมื้ออาหาร ส่วนยาหลังอาหารสามารถรับประทานหลังอาหารได้ทันทีหรือภายใน 15 นาทีหลังมื้ออาหาร
 
หากลืมรับประทานยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ เนื่องจากยาบางชนิดสามารถรับประทานทันทีที่นึกได้ ในขณะที่ยาบางชนิดอาจต้องรอรับประทานมื้อถัดไป
 
นอกจากการมีผู้ดูแลคอยจัดยาแล้ว ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่ผู้สูงวัยสามารถเลือกใช้เป็นตัวช่วยในการป้องกันการลืมรับประทานยาและช่วยให้รับประทานยาได้อย่างถูกต้อง เช่น
  • กล่องใส่ยา เช่น กล่องที่ระบุวันในสัปดาห์ไว้อย่างชัดเจน ผู้สูงวัยที่มีการรับประทานยาหลายชนิดและมีความซับซ้อนอาจเลือกกล่องยาที่แบ่งตามมื้ออาหาร
  • นาฬิกาปลุก สามารถเลือกใช้นาฬิกาข้อมือหรือโทรศัพท์มือถือตั้งเวลาปลุกเตือนเมื่อถึงเวลารับประทานยา
  • แอปพลิเคชันสำหรับเตือนให้รับประทานยาในสมาร์ทโฟน สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เตรียมยาล่วงหน้าครั้งละมากๆ หากเป็นยาบรรจุแผง แนะนำให้เก็บยาไว้ในแผงและเอาเม็ดยาออกจากแผงเมื่อจะรับประทานเท่านั้น เนื่องจากยาบางชนิดอาจไวต่อแสงหรือความชื้นทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย
 
การปรับเพิ่มขนาดยาด้วยตนเองอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง ส่วนการปรับลดขนาดยาอาจลดประสิทธิภาพของการรักษา เช่น ยาลดความดันโลหิตที่รับประทานต่อเนื่องจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ หากหยุดยาเองทันทีอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นมากจนเกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรปรับขนาดยาหรือหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
 
ตับและไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการขจัดยาออกจากร่างกาย ในผู้สูงวัยประสิทธิภาพของการขจัดยาจะลดลงตามธรรมชาติเมื่อเทียบกับวัยหนุ่มสาว ดังนั้นขนาดยาที่เท่ากันจึงอาจมีฤทธิ์ตกค้างในร่างกายผู้สูงวัยได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว ซึ่งปัญหานี้จะยิ่งแย่ลงหากยานั้นมีพิษต่อตับหรือไต โดยจะส่งผลให้การทำงานของอวัยวะเหล่านี้เสื่อมลง การใช้ยาในผู้สูงวัยจึงจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ และมีการปรับขนาดยาที่เหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์
 
เนื่องจากผู้สูงวัยมีสภาพร่างกายที่เสื่อมลงทุกระบบ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาจึงสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยอาจเกิดอาการหน้ามืดขณะเปลี่ยนท่าทางหรือลุกขึ้นยืน ซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองไม่เพียงพอ หากรับประทานยาลดความดันโลหิตอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นลม ล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุได้

ผู้สูงวัยที่มีอาการปวดเข่าหรือปวดข้อที่ต้องรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินอาหาร การรับรู้ความเจ็บปวดที่ลดลงอาจทำให้ไม่รู้สึกถึงอาการผิดปกติ จนกว่าอาการนั้นจะรุนแรงขึ้น ผู้ดูแลและผู้สูงวัยจึงควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น หากพบปัสสาวะหรืออุจจาระมีสีคล้ำซึ่งเป็นสัญญาณของอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
 
ยากลุ่มที่ผู้สูงวัยควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด ยาแก้แพ้ และยาแก้ปวด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น เวียนศีรษะ ง่วงซึม และสับสน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) อาจทำให้ผู้สูงวัยเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงขึ้นหรือไตวายได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในระยะสั้นๆ และควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้สูงวัยที่มีประวัติความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคไต ทั้งนี้ผู้สูงวัยควรใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้นและไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
 
ในผู้สูงวัย การใช้ยาบางชนิดร่วมกันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยารุนแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น ยาแก้ปวดชนิดที่ทำให้มีอาการง่วงซึม เมื่อรับประทานร่วมกับยานอนหลับอาจกดสมองจนหลับลึกมากเกินไปหรือทำให้มีอาการสับสนจนเกิดอันตรายได้ ยาบางชนิดเมื่อใช้ร่วมกันอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด เมื่อรับประทานพร้อมนม แคลเซียม หรือยาลดกรด อาจทำให้มีการดูดซึมลดลง จึงต้องรับประทานห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อผู้สูงวัยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจึงควรจดจำชื่อยาที่รับประทานหรือนำยาที่ใช้อยู่ทั้งหมดมาให้แพทย์หรือเภสัชกรดู เพื่อจะได้สามารถปรับเปลี่ยนชนิดของยาหรือเวลาที่รับประทานยา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการใช้ยาที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

 
การรับประทานวิตามิน สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับโรคหรือภาวะที่เป็น สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไตเพราะอาจทำให้สมดุลแร่ธาตุในร่างกายผิดปกติหรือการทำงานของไตแย่ลงได้ การเลือกใช้จึงควรมีข้อมูลทางวิชาการที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย รวมถึงแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนการเริ่มใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดตามมาโดยเฉพาะปัญหายาตีกัน
  • จัดทำรายการยาทั้งหมดที่รับประทานให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งรวมถึงยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์และโรงพยาบาล ยาที่ซื้อเองจากร้านยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรทุกชนิด นำรายการยาหรือยาที่รับประทานทุกชนิดมาทุกครั้งที่พบแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่าแพทย์ทุกท่านที่สั่งจ่ายยาได้รับทราบถึงยาทุกชนิดที่กำลังรับประทาน
  • ทำความคุ้นเคยกับชื่อยาและวัตถุประสงค์ของยาทุกชนิดที่ใช้อยู่ สอบถามแพทย์อยู่เสมอว่ายังจำเป็นต้องรับประทานยานั้นหรือไม่และขนาดยาที่ใช้นั้นถูกต้องหรือไม่ และขอให้แพทย์หยุดยาที่ไม่จำเป็น
  • เมื่อได้รับการสั่งจ่ายยาชนิดใหม่ ควรสอบถามถึงผลข้างเคียงและอันตรกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นกับยาที่รับประทานอยู่เดิมทุกครั้ง
แก้ไขล่าสุด: 21 มีนาคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs