bih.button.backtotop.text

ผิวหนังผู้สูงวัย

อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งระบบผิวหนัง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังมีทั้งปัจจัยภายใน คือ ความเสื่อมของเซลล์ตามเวลา และปัจจัยภายนอก คือ ผลจากสิ่งแวดล้อม

ผิวหนังผู้สูงวัย
อายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งระบบผิวหนัง ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังมีดังนี้
  1. ปัจจัยภายใน (Intrinsic factor) คือ ความเสื่อมของเซลล์ตามเวลา เซลล์มีการแบ่งตัวช้าลง การซ่อมแซมเซลล์เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ลดลง รวมทั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการสะสมของเสียและเกิดกลไกการทำลายเซลล์มากขึ้น
  2. ปัจจัยภายนอก (Extrinsic factor) ได้แก่ ผลจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงแดด มลภาวะในแสงแดด ซึ่งประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตเอ (ยูวีเอ) และรังสีอัลตราไวโอเลตเอ (ยูวีบี) มีผลในการทำลายดีเอ็นเอของเซลล์ผิวหนัง ร่วมกับมีการเกิดอนุมูลอิสระที่มากขึ้น ส่งผลให้เซลล์เสื่อมสภาพลง นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ (สารจากบุหรี่เป็นตัวการทําให้เส้นใยอีลาสตินในผิวหนังแตกตัวคล้ายกับที่เกิดจากแสงแดดทั้งชั้นตื้นและชั้นลึก) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ก็เป็นปัจจัยภายนอกร่างกายที่ส่งเสริมให้เซลล์ผิวหนังเสื่อมก่อนวัยอันควรได้

จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพผิวหนังของผู้สูงวัย ทำให้เกิดปัญหาที่พบบ่อยดังนี้
  1. ผิวหนังเปลี่ยนสี จุดด่างดำในผู้สูงวัย (Senile lentigo หรือ Age spots) เกิดจากการรวมตัวของเม็ดสี (melanocytes) ผิดปกติในผิวหนัง เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานลดลง มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงเข้ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปจะเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มีเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด เช่น คอ หน้า และหลังมือ อาจมีการสะสมของเซลล์เม็ดสีเป็นจุดๆ เกิดเป็นจุดสีน้ำตาลกระจายตามผิวหนังได้ เกิดเนื้องอกซึ่งเรียกว่า “กระเนื้อ” เพิ่มขึ้น
  2. ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อทำงานลดลง ทำให้รูขุมขนกว้าง ผิวแห้งและเป็นขุย เกิดอาการคัน แพ้สิ่งต่างๆ ได้ง่าย ผิวแห้ง (xeroderma) หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดเป็นภาวะผิวหนังแห้งและอักเสบ (xerotic eczema) เกิดการแดง ลอก และคันมากขึ้น ผู้ป่วยอาจเกาจนทำให้เกิดแผลบริเวณผิวหนังซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ 
  3. ผิวหนังบางลง คอลลาเจนและอีลาสตินลดลง ทำให้ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่น เกิดริ้วรอย ร่องแก้ม ร่องใต้ตา ผิวเปราะแตก ฉีกขาดเป็นแผลได้ง่าย เมื่อเกิดแผลจะหายได้ช้ากว่าในวัยหนุ่มสาว
  4. ผื่นคันจากการแพ้ (Dermatitis) พบมากในผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด ผื่นคันจากการแพ้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฝุ่นละออง สารเคมี อาหารทะเล สัตว์เลี้ยง อุณหภูมิ หรือยาที่ใช้ประจำ ผื่นคันที่เกิดจะเป็นผื่นแดง นูน และก่อให้เกิดอาการคันมาก อาจรบกวนการนอนได้
  5. รอยช้ำห้อเลือด (Senile purpura) เกิดจากหลอดเลือดเปราะ ทำให้ฟกช้ำหรือมีเลือดคั่งใต้ผิวหนังได้ง่าย มักเห็นเป็นจ้ำห้อเลือด โดยเฉพาะนอกร่มผ้า พบได้บ่อยในบริเวณที่มีโอกาสสัมผัสหรือโดนกระทบกระแทกได้ง่าย พบมากในผู้สูงวัยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด
  6. มะเร็งผิวหนัง เนื่องจากเซลล์ผิวหนังมีการซ่อมแซมหรือมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติ พบได้ในผู้ที่มีแนวโน้มของยีนที่ผิดปกติร่วมกับการโดนรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน เซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติอาจมีลักษณะนูนคล้ายไฝ หรือเป็นแผลเป็นนูน หรือเป็นแผลเรื้อรังไม่หาย ตำแหน่งที่อาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้ง่ายมักเป็นบริเวณหน้าหรือนอกร่มผ้า รวมถึงศีรษะ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีผมบางหรือศีรษะล้านและมีการสัมผัสแสงแดดเป็นประจำ
  7. โรคผิวหนังจากเส้นเลือดขอด (Stasis dermatitis) พบบริเวณข้อเท้า สาเหตุเกิดจากการไหลเวียนของหลอดเลือดไม่ดี โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดจะเป็นเรื้อรัง มีลักษณะผิวหนังหนา แห้งลอก สีผิวไม่สม่ำเสมอ และมีรอยดำแถวข้อเท้า
  8. แผลเรื้อรังหายช้า (Chronic ulcer) พบได้บ่อยในผู้สูงวัย เนื่องจากการซ่อมแซมแผลทำได้ช้าลง โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องนอนติดเตียงและขยับช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การนอนนานๆ อาจทำให้เกิดแผลกดทับและกลายเป็นแผลเรื้อรัง เช่น แถวก้นกบ นอกจากนี้ในผู้ที่เป็นผื่นผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า (stasis eczema) และมีการแกะเกาเป็นแผล เกิดเป็นแผลจากการคั่งของเลือด (stasis ulcer) แผลจะหายได้ช้า มักมีร่องรอยแผลเป็น ผิวหนังหนาขรุขระ
  9. แผลติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากภูมิคุ้มกันในผู้สูงวัยต่ำกว่าคนปกติ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หากมีการแกะเกาอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเข้าไปในรอยแผลได้ นอกจากนี้อาจมีความเสี่ยงในการเกิดงูสวัด หูด หรือเชื้อราที่ผิวหนัง
  10. การรับความรู้สึกที่ผิวหนังลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  11. เล็บแข็งและหนา สีของเล็บอาจเข้มขึ้น แต่มักเปราะ ผุ และหักได้ง่าย
  1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในการดูแลผิว โดยเลือกชนิดที่อ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม และให้ความชุ่มชื้น
  2. อาบน้ำที่มีอุณหภูมิอุ่นพอดี หลีกเลี่ยงน้ำร้อน
  3. หลีกเลี่ยงการขัดถูอย่างรุนแรงบริเวณผิวหนัง
  4. เช็ดตัวพอหมาดและทามอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมบำรุงผิวหลังจากเช็ดตัว
  5. ใช้เครื่องสร้างความชื้น (humidifier) เมื่ออากาศแห้ง
  6. ใส่ถุงมือ หมวก เสื้อแขนยาว โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่สามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต และทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 เป็นอย่างน้อย เมื่อจำเป็นต้องออกแดดหรือตากแดดนานๆ ควรหาที่ร่มและไม่ออกแดดในเวลาแดดจัด เช่น ช่วงเวลา 10.00-14.00 น.
  7. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  8. หมั่นตรวจสอบผิวหนังของตนเองสม่ำเสมอ หากพบการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่น่าสงสัย ควรปรึกษาแพทย์
คือ การบาดเจ็บของผิวหนังหรือชั้นใต้ผิวหนังที่เกิดจากการกดทับอย่างต่อเนื่อง การเสียดสีกับเตียงหรือเสื้อผ้า และการฉีกขาดของผิวหนังที่เกิดจากการครูดกับพื้นผิว เช่น การเคลื่อนย้ายตัวจากเตียง มักเกิดในบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกแล้วเกิดการกดทับนานๆ แผลกดทับพบได้บ่อยในผู้สูงวัยที่ติดเตียงหรือมีปัญหาในการเคลื่อนไหว เช่น ต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้หรือรถเข็นเป็นเวลานานๆ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจทำให้แผลกดทับแย่ลง ได้แก่ ความสกปรกหรืออับชื้นของผิวหนัง การเสียดสีที่อาจทำให้เกิดแผลได้มากขึ้นหรือเพิ่มโอกาสการติดเชื้อและการอักเสบ
 
  1. พลิกตัวหรือเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ หากผู้สูงวัยไม่สามารถทำเองได้ ควรมีผู้ดูแลช่วยในการพลิกตัวเปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมง หรือบ่อยกว่านั้นหากมีแผลกดทับ
  2. เลือกที่นอนหรือเบาะนั่งให้เหมาะสม เช่น ที่นอนลม หรือฟูกรองนอนสำหรับป้องกันแผลกดทับ แต่ควรหลีกเลี่ยงหมอนหรือที่รองนั่งบางชนิดที่อาจทำให้เกิดแผลกดทับได้มากขึ้น เช่น กรณีที่เกิดแผลแล้วใช้หมอนรองรูปโดนัทหรือวงกลมรองนั่งเพื่อไม่ให้แผลสัมผัสกับเบาะ กรณีนี้หมอนรองนั่งอาจกดทับผิวหนังบริเวณรอบๆ แผล ทำให้เลือดไหลเวียนได้แย่ลงและทำให้แผลกดทับที่เป็นอยู่แย่ลงหรือเป็นกว้างขึ้น
  3. ตรวจดูผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะบริเวณปุ่มกระดูกหรือบริเวณที่มีการกดทับ เพื่อสังเกตลักษณะที่บ่งบอกถึงภาวะแผลกดทับเบื้องต้น
  4. สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง เช่น ผิวหนังมีสีแดงผิดปกติหรือคล้ำผิดปกติ โดยเมื่อกดบริเวณสีที่ผิดปกติจะไม่ซีดลง ซึ่งไม่เหมือนกับลักษณะของผื่นผิวหนังทั่วไป ลักษณะผิวหนังมีความอุ่น ความแข็งด้านหรือลักษณะผิวหนังนูนผิดปกติ มีอาการเจ็บหรือคันบริเวณผิวหนังที่มีการกดทับนานๆ
  5. ใช้ยาเพื่อป้องกันผื่นผิวหนังและการอักเสบ
  • Cavilon™
    • Cavilon™ Durable Barrier Cream (ชนิดครีม) ทาผิวหนังหลังการขับถ่าย เป็นการเคลือบป้องกันผิวหนัง ช่วยให้ผิวหนังนุ่ม ชุ่มชื้นขึ้น อาจทาซ้ำบ่อยขึ้นหากมีการขับถ่ายบ่อยเพื่อป้องกันผื่น
    • Cavilon™ No Sting Barrier Film (แบบฟิล์มพ่น) ใช้เพื่อป้องกันการอักเสบและเป็นแผลถลอก พ่นบริเวณที่สัมผัสสิ่งขับถ่ายซ้ำทุก 24-72 ชั่วโมง หรือถี่ขึ้นเป็นทุก 12 ชั่วโมงเมื่อมีผิวหนังแดงหรือถ่ายบ่อยครั้ง  *Cavilon™ ทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถใช้กับแผลที่ติดเชื้อได้
  • Zinc Paste ทาผิวหนังบริเวณที่เป็นแผลกดทับ
  • Duoderm Hydroactive Gel ทาผิวหนังบริเวณที่เป็นแผลกดทับ
  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทโปรตีนและวิตามิน เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ ในกรณีที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงวัย อาจจำเป็นต้องเลือกชนิดและและรูปแบบของอาหารที่เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร
คือ ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้เกิดอาการบวมแดง ปวด หรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย หากมีความรุนแรง การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่กระแสเลือดซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่มักเกิดบริเวณขา สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแผล รอยแตก หรือผิวหนังที่บอบบาง
อาการของเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ได้แก่ บริเวณที่ติดเชื้อจะมีอาการบวม แดง และมีแนวโน้มขยายเป็นบริเวณกว้าง รวมทั้งอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้
  1. มีไข้
  2. มีอาการปวดภายใน 1-2 วันแรกที่เริ่มเกิดอาการ และเจ็บเมื่อถูกกดหรือสัมผัสโดนบริเวณนั้น
  3. รู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ
  4. เกิดแผลหรือมีผื่นขึ้นบริเวณที่เกิดอาการ และอาจขยายตัวลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
  5. เกิดรอยบุ๋มบริเวณผิวหนัง
  6. ปวดกล้ามเนื้อ
ทั้งนี้ หากมีอาการต่อไปนี้ร่วมกับอาการข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพราะเชื้ออาจแพร่กระจายสู่ส่วนอื่นหรืออาจเข้าสู่กระแสเลือดจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 
แก้ไขล่าสุด: 16 มกราคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

คลินิกสุขภาพผู้สูงอายุนิวไลฟ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs