bih.button.backtotop.text

ตากุ้งยิง

ตากุ้งยิง (Hordeolum/Stye/Sty) คือ ภาวะที่ตามีฝีเม็ดเล็กๆ ที่เปลือกตาบนหรือเปลือกตาล่าง มีอาการเจ็บ หรือปวดระบม บริเวณเปลือกตาตรงที่มีฝีกุ้งยิงอาจเป็นแบบชนิดหัวโผล่ออกด้านนอกหรือหัวมุดเข้าด้านในเปลือกตา ตำแหน่งฝีจะอยู่ตรงขอบเปลือกตา เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบบริเวณเปลือกตาที่พบได้บ่อยกว่าอย่างอื่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดสแต็ฟฟีโลค็อคคัส (staphylococcus)

สาเหตุ
ตากุ้งยิงเกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา ซึ่งโดยปกติแล้วตาของคนเราจะมีต่อมไขมันมากมายอยู่บริเวณใต้ผิวหนังที่เปลือกตา ซึ่งสามารถระบายไขมันออกมาได้โดยผ่านทางรูระบายเล็กๆ ใกล้ๆ ขนตา แต่หากมีอะไรมาอุดตัน เช่น ฝุ่นละออง ฯลฯ จะทำให้ไขมันที่ผลิตออกมาไม่สามารถระบายได้ ทำให้เกิดการอุดตันเป็นก้อนขึ้นที่บริเวณเปลือกตา และหากมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไป ก็จะทำให้เกิดการอักเสบ เป็นหนอง มีอาการเจ็บและบวมแดงรอบๆ ดวงตา ทั้งนี้สาเหตุที่มักทำให้เกิดการติดเชื้อ ได้แก่
  1. ขยี้ตาบ่อยๆ ทำให้เปลือกตาไม่สะอาด
  2. ล้างเครื่องสำอางออกไม่หมดหรือไม่สะอาด
  3. ใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ด้วยมือที่ไม่สะอาด
เมื่อเกิดอาการตากุ้งยิง เริ่มแรกจะมีอาการเจ็บๆ คันๆ บริเวณเปลือกตา ต่อมาจะเริ่มบวมแดงและเริ่มรู้สึกปวดบริเวณเปลือกตา หากกดลงไปบริเวณก้อนจะรู้สึกเจ็บ จะเริ่มเห็นเป็นหัวฝีหรือหัวหนองภายใน 4-5 วัน หลังจากนั้นหนองจะแตกและยุบไป ในกรณีที่หนองออกไม่หมดจะเกิดเป็นก้อนแข็งเป็นไตที่เปลือกตา ซึ่งจะค้างอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานาน และอาจกลับมาอักเสบขึ้นอีกได้เป็นครั้งคราว
 
หากเริ่มสงสัยว่ามีอาการตากุ้งยิง ควรรีบมาพบจักษุแพทย์โดยเร็ว เพราะในระยะแรกๆ นั้นสามารถรักษาได้โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-20 นาที เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไขมันบริเวณเปลือกตาเปิดตัว ช่วยระบายไขมันที่อุดตันอยู่ โดยระหว่างที่ประคบควรจะหลับตาไว้ ทั้งนี้แพทย์จะทำการตรวจและสั่งยาให้ด้วย อาจเป็นยาหยอดตา ยาป้ายตา หรือบางรายอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในรายที่มีหนองแพทย์จะต้องทำการเจาะและขูดหนองออก และให้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 3-5 วัน หรือจนกว่าอาการอักเสบจะหายดี ซึ่งหากเจาะหนองออกไม่หมดหรืออาการอักเสบยังไม่หายดีอาจเกิดเป็นตากุ้งยิงซ้ำได้อีก
 
  1. ปิดตาไว้ให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออกและไม่ให้แผลบวมประมาณ 12-24 ชั่วโมง หรือตามคำสั่งแพทย์
  2. เมื่อเปิดตาแล้วให้เริ่มใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง
  3. หากมีรอยเขียวคล้ำบริเวณที่ทำการเจาะหนอง สามารถประคบด้วยน้ำแข็ง
  4. ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด
  5. ควรใช้สำลีชุบน้ำสะอาด บีบพอหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณรอบๆ ดวงตาในวันรุ่งขึ้น
 
 
แก้ไขล่าสุด: 02 พฤษภาคม 2566

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 3 คน

Related Health Blogs