bih.button.backtotop.text

โรคโลหิตจาง (ธาลัสซีเมีย)

โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (thalassemia) เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุจากความผิดปกติทางพันธุกรรมระดับยีน ทำให้การสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ถูกทำลายง่าย โรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพ่อและ/หรือแม่สามารถส่งต่อพันธุกรรมนี้มายังต่อลูก พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง

ธาลัสซีเมียแบ่งตามความรุนแรงของอาการได้ 2 กลุ่ม
  1. กลุ่มผู้ที่เป็นโรค อาการของธาลัสซีเมียจะรุนแรงแตกต่างกันไปตามประเภทของธาลัสซีเมียที่เป็น โดยอาการของโรคสามารถแบ่งตามระดับความรุนแรงได้ตั้งแต่ชนิดที่มีความรุนแรงน้อยไปจนถึงชนิดที่มีอาการรุนแรงมาก
  2. กลุ่มผู้ที่ไม่มีอาการ เกือบทั้งหมดของผู้ที่เป็นพาหะของโรคจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป แต่มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ในร่างกายและอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกได้
  1. พบแพทย์โลหิตวิทยาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
  2. เมื่อจะแต่งงานหรือต้องการจะมีบุตร ควรมาตรวจพร้อมคู่สมรสเพื่อทราบถึงโอกาสที่จะเป็นโรคของบุตร
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
  1. การดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก เช่น เลือดสัตว์ ตับ ผักโขม เป็นต้น
  • งดยาและวิตามินที่เสริมธาตุเหล็ก
  • ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น รับประทานขมิ้นชัน ดื่มน้ำชา เป็นต้น
  • ควรตรวจฟันทุก 6 เดือนเนื่องจากฟันผุง่าย
  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือการเล่นรุนแรง
  • งดดื่มสุราหรือของมึนเมา
  • ไม่ควรซื้อวิตามินซีรับประทานเอง
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่างๆ โดยอยู่ในที่อากาศโปร่งไม่แออัด
  • ถ้ามีอาการปวดท้องที่ชายโครงข้างขวารุนแรง มีไข้ และตัวเหลืองมากขึ้นให้สงสัยว่าถุงน้ำดีอักเสบ ต้องรีบไปพบแพทย์
  1. การให้เลือด
  • ไม่ต้องให้เลือดหากผู้ป่วยซีดเพียงเล็กน้อย
  • ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดที่มีความรุนแรงปานกลาง ถ้ามีอาการซีดมากหรืออ่อนเพลีย การให้เลือดจะทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้นโดยแพทย์จะพิจารณาให้เป็นครั้งคราว
  • ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดที่มีความรุนแรงมากจะมีอาการตั้งแต่เด็ก ซีดมาก แพทย์จะพิจารณาการให้เลือดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ กระดูกเปลี่ยนรูป ม้ามโต แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการให้เลือดคือติดเชื้อและภาวะเหล็กเกินได้ จึงต้องให้ยาขับเหล็กควบคู่กันไปด้วย
  1. การให้ยาขับธาตุเหล็ก หากมีเหล็กในร่างกายมากทำให้เกิดการสะสมในอวัยวะต่างๆ อาจมีผลเสียต่อร่างกาย จึงจำเป็นต้องขับออกด้วยยาซึ่งมีทั้งแบบฉีดและแบบรับประทาน แพทย์จะใช้ยาฉีดชื่อดีเฟอร็อกซามีน (deferoxamine) หรือเดสเฟอราล® (Desferal®) โดยการฉีดเข้าทางผิวหนังหรือหลอดเลือดดำ การพิจารณาถึงเวลาที่จะเริ่มให้ยาหรือปริมาณยานั้นแพทย์จะพิจารณาจากธาตุเหล็กที่เกินและเลือดที่ได้รับ
  2. การตัดม้าม
  • ทำเฉพาะในรายที่ม้ามโตมาก ซีดมาก และต้องการเลือดถี่ขึ้นๆ ไม่ควรทำในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4-5 ปี เพราะจะติดเชื้อง่ายหลังตัดม้าม
  • ในรายที่จะต้องตัดม้ามออก ควรพิจารณาให้วัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสและฮีโมฟิลุสก่อนผ่าตัด
  1. การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นวิธีเดียวที่จะรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้ในปัจจุบัน มักได้ผลดีในผู้ป่วยอายุน้อย ปัจจุบันสามารถใช้เลือดจากสายสะดือมาเป็นแหล่งเซลล์ต้นกำเนิดได้ด้วย แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายสูง

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์เวชศาสตร์จีโนม บำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 5 คน

Related Health Blogs