bih.button.backtotop.text

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เกล็ดเลือด (platelet) คือ องค์ประกอบของเม็ดเลือดที่สร้างจากไขกระดูก และถูกทำลายที่ม้ามและตับ เกล็ดเลือดไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด มีอายุประมาณ 10 วัน มีหน้าที่ช่วยทำให้เลือดหยุดไหลในกรณีที่มีบาดแผลหรือมีภาวะเลือดออก

เกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่าค่าปกติ (150,000-400,000 เกล็ด/ไมโครลิตร) ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำได้ เช่น ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเกล็ดเลือดได้ตามปกติ หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกล็ดเลือดในร่างกายลดลงในโรคบางชนิด เช่น การมีภูมิต้านทานทำลายเม็ดเลือด (idiopathic thrombocytopenic purpura: ITP) โรคเอสแอลอี (systemic lupus erythematosus: SLE) เป็นต้น

อาการ
  • พบจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามร่างกาย โดยไม่ได้รับการกระทบกระแทก
  • พบเลือดออกจากเยื่อบุช่องปาก
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด
  • มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ
  • ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดได้ลดลง
  • เกล็ดเลือดถูกทำลาย
  • โรคที่สร้างภูมิต้านทานทำลายเกล็ดเลือด
จากการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count: CBC) รูปร่าง ขนาดของเกล็ดเลือด รวมถึงอาการแสดงอื่นที่บ่งบอกถึงภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ห้ามใช้ไหมขัดฟัน
  • หลีกเลี่ยงการทำฟันหรือผ่าตัดอื่นๆ หากยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล
  • ห้ามยกของหนัก เล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงหรือการกระแทก
  • ห้ามเดินเท้าเปล่าเพราะอาจเกิดบาดแผลจากการถูกทิ่มตำ
  • หากมีปัญหาในการทรงตัวต้องมีผู้ช่วยเหลือในขณะที่เดิน
  • งดการตัดเล็บ การโกนหนวดโดยการใช้ใบมีด ให้ใช้มีดโกนไฟฟ้าแทน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมที่อาจเกิดอุบัติเหตุจากการทิ่มตำ เช่น กรรไกร มีด
  • หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกหรือจามแรงๆ
  • หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก ดื่มน้ำให้มากๆ
 
กรณีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 เกล็ด/ไมโครลิตร
  • ให้นอนพักบนเตียงและต้องทำกิจกรรมโดยมีผู้ดูแล และแพทย์อาจพิจารณาให้เกล็ดเลือดทดแทน
  • งดแปรงฟัน
  • ห้ามเบ่งอุจจาระ ไอหรือจามแรงๆ
สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดหากเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คือ ภาวะที่มีเลือดออกในอวัยวะส่วนสำคัญ ซึ่งจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น เลือดออกในสมองและในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
  • เลือดออกในช่องปากหรือเหงือก
  • เลือดกำเดาไหล
  • เลือดออกทางช่องคลอด
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • พบจุดจ้ำเลือดตามตัวโดยที่ไม่ใช่จากการเกิดอุบัติเหตุหรือกระทบกระแทก
  • พบจุดเลือดออกเล็กๆ ใต้ผิวหนัง
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน
  • ปวดศีรษะตลอดเวลา
  • ตาพร่ามัว
  • ปวดท้อง
  • เกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 เกล็ด/ไมโครลิตร ถือว่าผิดปกติและต้องเฝ้าระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นความเสี่ยง เช่น การเล่นกีฬา เป็นต้น
  • เกล็ดเลือดต่ำกว่า 20,000 เกล็ด/ไมโครลิตร ถือว่าเกล็ดเลือดต่ำมากและอาจเกิดภาวะเลือดออกได้เองโดยที่ไม่ต้องมีกิจกรรมเสี่ยงใดๆ

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs