ความสำคัญของตรวจโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
โดยปกติแล้ว การตรวจก็จะเป็นการตรวจเพื่อหลายๆ วัตถุประสงค์
- ตรวจเพื่อทำนายโรคที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นโรครุนแรงที่ต้องการการรักษา
- ตรวจเพื่อทำนายความปลอดภัยในการใช้ยา เช่น การตรวจกรรมพันธุ์ เพื่อดูว่าเรามีโอกาสที่จะแพ้ยาบางชนิดหรือไม่ หากว่าในอนาคตเราต้องการยานั้น จะได้เฝ้าระวังหรือหลีกเลี่ยงไปใช้ยาอื่น
- เป็นการตรวจเพื่อบุตร ในกรณีเช่นนี้ ผู้ที่ควรตรวจมักจะเป็นคนที่แข็งแรง แต่วางแผนที่มีจะครอบครัว การตรวจจะเน้นไปในเรื่องของโรคพันธุกรรมที่หากสามีและภรรยามีกรรมพันธุ์นี้ทั้งคู่ อาจจะถ่ายทอดให้บุตรทำให้บุตรเกิดโรคได้ คู่แต่งงานก็จะทราบได้ล่วงหน้าว่า มีโรคใดบ้างที่อาจจะเป็นโรคที่อาจจะเกิดขึ้น หากเราเลือกมีบุตร
ใครบ้างที่ควรตรวจ และควรตรวจเมื่อไหร่
เมื่อก่อนแนะนำให้คนที่มีความผิดปกติหรือเป็นโรคแล้วตรวจทางพันธุกรรม แต่ในปัจจุบันอาจจะตรวจในลักษณะของเชิงป้องกัน คือ เรามีสุขภาพปกติ แต่เราอาจจะอยากรู้ว่าพันธุกรรมของเรา จะกำหนดโรคอะไรในอนาคตที่เราอาจจะป้องกันไว้ก่อนได้ ถ้าเราตรวจแล้วทราบว่ายีนส์ไหนที่มีความผิดปกติ
โรคอะไรบ้างที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การตรวจจะมีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น
โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ความผิดปกติแต่กำเนิด ถ้ามีประวัติเหล่านี้ในครอบครัว เราอาจจะเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งโรคเหล่านี้อาจจะเกิดกับเราได้ในอนาคต หรือเกิดแล้วในปัจจุบัน แต่เรายังไม่รู้ เพราะฉะนั้นกลุ่มคนเหล่านี้จึงกับการเหมาะกับการตรวจทางพันธุกรรมมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป
ประโยชน์ของการตรวจโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การที่แพทย์จะสามารถตรวจได้ว่า มีกรรมพันธุ์หรือพันธุกรรมที่จะก่อโรคหรือไม่ จะส่งผลในสองเรื่อง
1.เรื่องการของการป้องกันโรค ทำให้รู้ล่วงหน้าแล้วอาจจะทำให้ป้องกันโรคได้
2.เรื่องของการรักษาโรคให้ตรงที่สุด ที่พื้นฐานของความผิดปกตินั้นๆ
เมื่อตรวจแล้วทราบผล ต้องทำอย่างไร
โดยทั่วไปหลังจากที่ผู้รับการตรวจเข้ามาฟังผลการตรวจ ถ้าผลตรวจเป็นผลกำกวมหรือเป็นผลบวกก็มักจะต้องมีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านพันธุศาสตร์อธิบายให้เข้าใจว่าผลการตรวจมีความหมายว่าอย่างไร และกระบวนการต่อไปควรทำอย่างไร หากกระบวนการต่อไปเป็นกระบวนการที่ต้องพึ่งแพทย์เฉพาะทาง ก็จะมีการส่งต่อไปให้แพทย์เหล่านั้นเพื่อที่จะดูแลเฉพาะโรค เฉพาะแต่ละข้อมูลต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2565