การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ สู่หัวใจดวงใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจคือการผ่าตัดนำหัวใจใหม่ใส่แทนที่หัวใจหัวใจเดิมของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจอาจฟังดูน่ากลัว แต่เป็นการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จสูงโดยผู้ป่วยมีอัตรารอดชีวิตมากถึง 85 – 90 % ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้หากไม่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจะเสียชีวิตภายในเวลาเพียง 1-2 ปี
เป้าหมายของการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจนอกจากเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติเหมือนคนสุขภาพดีทั่วไป
ทำไมถึงต้องเปลี่ยนหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นสุดที่หัวใจเสียหายอย่างถาวรหรืออ่อนแรงจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่นำไปสู่การเปลี่ยนหัวใจได้แก่
ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับการเปลี่ยนหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจไม่ได้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายทุกคน ผู้ที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้แก่
- อายุมากและร่างกายไม่แข็งแรงพอที่จะฟื้นตัวได้ดีหลังการผ่าตัด
- มีภาวะความดันโลหิตสูงในปอดที่ไม่ตอบสนองต่อยา
- มีภาวะติดเชื้อ
- เป็นโรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆ
- มีอวัยวะอื่นๆนอกจากหัวใจหัวใจล้มเหลวหลายอวัยวะ
- มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
- มีปัญหาทางจิตหรือบุคลิกภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการดูแลตัวเองและการติดตามการรักษาหลังผ่าตัด
- ภาวะเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดีหรือโรคเส้นเลือดอุดตันตามร่างกาย
ก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจต้องทำอย่างไรบ้าง
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นการผ่าตัดใหญ่ แพทย์จำเป็นต้องประเมินสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของผู้ป่วยอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจการผ่าตัดจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ตัวอย่างของการประเมินสภาพร่างกาย เช่น
- การตรวจเลือด
- การตรวจภูมิคุ้มกัน
- การตรวจการทำงานของไต
- การตรวจการทำงานของหัวใจและปอด
- การตรวจวินิจฉัยทางรังสี เช่น เอกซเรย์ ซีที สแกนหรือเอ็มอาร์ไอ
- การตรวจประเมินสภาวะทางจิตและสภาพสมอง
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจทำได้อย่างไร
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจประกอบด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อน หลังจากที่ได้อวัยวะจากผู้บริจาคซึ่งมีกลุ่มเลือดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ทีมศัลยแพทย์จะผ่าตัดนำหัวใจออกจากร่างกายของผู้บริจาคและหยุดหัวใจด้วยน้ำยาพิเศษ ในขณะที่ทีมศัลยแพทย์อีกทีมหนึ่งจะวางยาสลบ ใส่เครื่องช่วยหายใจให้แก่ผู้ป่วยและเปิดทรวงอกของผู้ป่วยรอไว้ เมื่อหัวใจผู้บริจาคมาถึง ศัลยแพทย์จะนำหัวใจดวงเก่าของผู้ป่วยออกเพื่อนำหัวใจดวงใหม่ใส่เข้าไปทดแทนและปล่อยเลือดไปเลี้ยงหัวใจเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นอีกครั้งหนึ่ง
หลังการผ่าตัดต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ผู้ป่วยจะต้องอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 1-3 สัปดาห์ โดยแพทย์จะให้ข้อมูลในการดูแลตัวเองต่อไป เช่น
- การรับประทานยากดภูมิอย่างเคร่งครัดตามที่แพทย์แนะนำ
- การดูแลรักษาความสะอาดทั้งทางด้านอาหารและการใช้ชีวิต
- การมาพบแพทย์เพื่อตรวจระดับยาและตรวจชิ้นเนื้อตามนัดหมาย
- การออกกำลังกายที่ควรทำและไม่ควรทำ
- การตระหนักถึงอาการติดเชื้อและอาการร่างกายต่อต้านอวัยวะ
ความเสี่ยงจากการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมีอะไรบ้าง
ความเสี่ยงที่พบได้มีดังนี้
- หัวใจทำงานไม่ดีทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย
- ร่างกายต่อต้านอวัยวะใหม่
- การติดเชื้อ
- โรคไตหรือภาวะไตล้มเหลว
- ความดันโลหิตสูง
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งผิวหนังและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจส่วนใหญ่สามารถกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น ทำงาน เล่นกีฬา ออกกำลังกาย มีครอบครัวและมีบุตรได้ วิทยาการที่ก้าวหน้าทางการแพทย์ช่วยให้อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจสูงขึ้นเรื่อยๆ
สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีประสบการณ์ในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่ประสบความสำเร็จมานานกว่า 20 ปี ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพของเราพร้อมบริการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวแบบสมบูรณ์ (complete heart failure care) ครอบคลุมในทุกๆด้าน
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 10 ตุลาคม 2567