ปวดคอ
ปัญหาที่พบได้บ่อยในชีวิตประจําวันเนื่องจากกิจกรรมของคนเราต้องทําในท่านั่ง ทําให้คอต้องทําหน้าที่รับน้ำหนักจากศีรษะตลอดทั้งวัน รวมทั้งคอยังเป็นอวัยวะที่สามารถเคลื่อนไหว ได้หลายทิศทาง ทั้งก้ม เงย เอียงและหมุน ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นทําให้พบปัญหาปวดคอได้ 50% ในช่วงชีวิตของเรา
สาเหตุของการปวดคอ
1. ลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
2.
ภาวะข้อเสื่อม/ ข้ออักเสบ
3. ภาวะเครียดทางจิตใจ
4. อุบัติเหตุบริเวณคอ
5. สาเหตุอื่นๆ เช่น มีกระดูกคอผิดปกติแต่กําเนิด
สายตาผิดปกติ เป็นต้น
อาการ
ปวดตึงหรือตื้อบริเวณคอ อาจร้าวมาที่บ่า สะบักหรือแขน ในบางรายอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมกับ อาการชา เคลื่อนไหวคอได้น้อยลง
การรักษา
- เมื่อมีอาการปวดคอควรหยุดพัก
- ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็นประมาณ 15-20 นาที
- หรือใช้ เครื่องพยุงคอหรือผ้าขนหนูม้วนที่หนาและยาวพอที่จะรับน้ำหนัก พันรอบคอไว้ เพื่อจํากัดการเคลื่อนไหว และลดแรงกดจากน้ำหนักของศีรษะ
- อาจรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลหรือแอสไพริน เป็นต้น ถ้าหากว่ารับประทานยา 5-7 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
การบริหารกล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสําคัญที่สุดในการรักษา เพราะจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทําให้ลดโอกาสที่จะปวดคอในครั้งต่อไป
การป้องกันการปวดคอ
จัดท่าในชีวิตประจําวันให้เหมาะสม เช่น ไม่นอนคว่ำเป็นประจํา ระวังและหลีกเลี่ยงอิริยาบถและท่าทาง ที่ต้องมีการก้มและเงยคอบ่อยๆ
การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
การบริหารกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น อาจทําภายหลังจากประคบอุ่น เนื่องจากความร้อนจะช่วย ให้เนื้อเยื่อต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้นและบรรเทาอาการปวดด้วย
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 14 ตุลาคม 2565