ติ่งเนื้องอกในสำไส้ใหญ่ คือ การเจริญเติบโตของก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเหมือนก้อนเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากผนังลำไส้ บางครั้งจะมีลักษณะเหมือนเห็ด ขนาดของติ่งเนื้อจะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ¼ ของ 1 นิ้ว ไปจนกระทั่งหลายนิ้ว สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ จุดตลอดทางเดินอาหาร แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือบริเวณลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยบางรายอาจมีติ่งเนื้อหลายจุดกระจายไปทั่วบริเวณลำไส้ใหญ่
ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบติ่งเนื้อลักษณะนี้ได้มากขึ้น โดยมีการประมาณเอาไว้ว่า ผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 50 ปีแม้จะไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ก็ยังมีโอกาสที่พบติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ได้ถึง 25%
ในกรณีที่ท่านตรวจพบ
ติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่จะแบ่งวิธีการรักษาเป็น 2 ชนิดคือ
- หากติ่งเนื้อมีขนาดไม่เกิด 2.5 ซ.ม. แพทย์จะสามารถตัดติ่งเนื้อได้ทันที่ในขณะที่ทำการส่องกล้องอยู่ เพื่อนำวิเคราะห์ชิ้นเนื้อต่อไป
- หากติ่งเนื้อมีขนาดใหญ่กว่า 2.5 ซ.ม. แพทย์สามารถใช้เทคโนโลยีอื่นๆ ในการส่องกล้องผ่านทางปาก เข้าไปตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ออกได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2567