bih.button.backtotop.text

Q&A แผลผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery)

Q&A แผลผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery)  ที่หลายคนสงสัย ทำไมแผลผ่าตัดหนังหน้าท้อง ถึงต้องเป็นรอยยาวและเป็นคีลอยด์ด้วย

 

คำถาม : ทำให้แผลเล็กกว่านี้หรือสั้นกว่านี้ได้ไหม ครับ/คะ"

เป็นคำถามที่หลายคนรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับแผลศัลยกรรมผ่าตัดหนังหน้าท้อง ที่ช่วยแก้ปัญหาหน้าท้องย้วย คล้อย ยื่น ได้อย่างตรงจุด แต่กลับต้องแลกมากับแผลผ่าตัดที่ถึงขนาดบางคน ก็ไม่กล้าตัดสินใจทำเพราะกังวลเรื่องรอยแผล

 

คำถาม : ทำไมรอยแผลถึงต้องมีแนวยาว?

นั่นเพราะคุณหมอมีความจำเป็นที่จะต้องตัดผิวหนัง พร้อมกับไขมันส่วนเกินออกไป จึงต้องมีการกีดรอยแผลเป็นแนวยาว(ตามรอยแผล) และเย็บกลับเข้าไปใหม่เพื่อทำให้หน้าท้องเรียบเนียนกระชับ ซึ่งอาจมีการดูดไขมันเพิ่มเติมเพื่อเก็บรายละเอียดให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ในส่วนรอยแผลจากการดูดไขมันนั้น ก็จะอยู่ในตำแหน่งบริเวณใกล้เคียวกัน แต่รอยแผลจากการตัดหนังหน้าท้องจะชัดและเด่นกว่า

 

คำถาม : ปกติแล้วคุณหมอซ่อนแผลไว้ตรงไหน?

ปกติแล้วคุณหมอจะซ่อนแผลไว้บริเวณขอบบิกินี่ (ขอบกางเกงใน) อาจต่ำลงมากว่าขอบนิดนึง จึงง่ายต่อการปกปิด และไม่สามารถเห็นได้ง่ายๆแน่นอนครับ

 

คำถาม : วิธีการดูแลแผลไม่ให้เป็นคีย์ลอยด์

ในระหว่าง 2 อาทิตย์แรก คุณหมออาจจะขอให้ยังไม่ทำอะไรกับแผลก่อน (ทายาลดเรือนรอยแผลหรือทำอะไรกับแผลด้วยวิธีต่าง ๆ ) นอกจากการเช็ดล้างทำความสะอาดแบบปกติทั่วไป และควรเลือกทานอาหารที่มีการบำรุง เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและแผลหลังการผ่าตัด แล้วหลังจากนั้นหากคุณหมออนุญาต จึงค่อยหมั่นทายาลดรอยแผลอย่างสม่ำเสมอ ในระหว่าง 1 - 2 เดือนแรกควรงดการออกกำลังกายลักษณะที่มีการยืด - หดตัว ก่อนนะครับ ให้รอแผลสมานตัวดีเสียก่อน หากทำอย่างสม่ำเสมอหมั่นทำความสะอาดแผล ทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่นานรอยแผลก็จะค่อยๆเรือนหาย ผิวหนังกลับมาเรียบเนียนกระชับได้อย่างแน่นอนครับผม


*หมายเหตุ
ศัลยกรรมผ่าตัดหนังหน้าท้องไม่ใช่การลดน้ำหนัก เพียงแต่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการแก้ปัญหาในการกระชับสัดส่วน ดังนั้นผลลัพธ์หลังการผ่าตัดจะคงสภาพได้ดีและอยู่ได้นาน ก็ต่อเมื่อเรากลับมาดูแลตัวเองควบคู่กันไปด้วย หมั่นออกกำลังกาย และควบคุมอาหาร เพียงเท่านี้รูปร่างดี ๆ ก็จะอยู่คู่กับคุณไปตลอดแล้วล่ะครับ


เรียบเรียงโดย
นพ. เสรี เอี่ยมผ่องใส



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 24 สิงหาคม 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs