คำถามที่พบบ่อยสำหรับการใช้ฮอร์โมนหรือเทคฮอร์โมน
Q1: ฮอร์โมนเพศแบ่งได้เป็นกี่กลุ่มอะไรบ้าง
A: แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
Q2: ปัญหาหรือความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการการใช้ฮอร์โมนในปัจจุบันมีเรื่องอะไรบ้าง
A: เรื่องการใช้ฮอร์โมน ยังมีหลายเรื่องที่ผู้ใช้ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
- การวินิจฉัยโรค ส่วนใหญ่การวินิจฉัยตนเองแต่ไม่มีข้อมูล
- การใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิง ส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยตนเอง ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นพี่และเพื่อน
- ปัญหาการใช้ยาเกินขนาด
- แหล่งที่มาของยา ทั้งยากินและยาฉีดส่วนใหญ่ซื้อจากร้านขายยา
- ยาฉีด บางรายฉีดกันเอง
- มีการรับการตรวจสุขภาพน้อย
Q3: รู้ไหม ซื้อฮอร์โมนกินเอง เสี่ยงอันตรายไม่รู้ตัว!
A: การซื้อฮอร์โมนกินเองตามโฆษณาชวนเชื่อ หรือการบอกต่อในสังคมโซเชียล อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ หากไม่ได้ตรวจร่างกายก่อน หรือใช้ปริมาณสูงเกินกว่าที่จำเป็น เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เพราะฉะนั้นการมาพบแพทย์เพื่อได้รับฮอร์โมนที่ถูกต้อง ในระยะยาวหากจำเป็นต้องรับฮอร์โมนเพศชายต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ยิ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามสุขภาพ ตรวจติดตามการทำงานของอวัยวะสำคัญต่างๆ จากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัยและลดผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนให้น้อยที่สุด
Q4: ภัยจากการใช้ยาฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศ
A: การใช้ยาฮอร์โมนเพื่อการข้ามเพศเป็นวิธีการรักษาที่คนข้ามเพศนิยมเพื่อเปลี่ยนสรีระให้มีลักษณะแบบเพศที่ตนต้องการ คนจำนวนมากใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์เนื่องจากไม่ตระหนักถึงอันตรายที่ตามมาโดยเฉพาะภัยจากยาคุมกำเนิด กล่าวคือ การใช้ยาฮอร์โมนในปริมาณมากเพื่อเร่งผล หรือใช้ผิดประเภทหรือผิดขนาดอาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุของการเสียชีวิตซึ่งพบมากในกลุ่มคนข้ามเพศ
“ร่างกายของคนข้ามเพศแต่ละคนไม่เหมือนกัน ยาที่เหมาะสมกับแต่ละคนจึงต่างกัน บางคนเหมาะที่จะรับยากิน บางคนได้ยาทา หรืออาจได้ยาแบบเดียวกันแต่ต่างโดส ซึ่งแพทย์จะแนะนำได้ดีที่สุด”
สำคัญที่สุด คือ การใช้ยาฮอร์โมนไม่ใช่วิธีที่จะใช้ได้กับทุกคน บางรายไม่อาจใช้ยาฮอร์โมนได้เลย เช่น คนไข้ที่มีโรคมะเร็งเต้านม กล้ามเนื้อหัวใจตาย หลอดเลือดหัวใจตีบ คนไข้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ มีความเข้มข้นของเลือดมากเกินไป คนไข้ที่มีค่าตับหรือค่าไขมันผิดปกติ เป็นต้น
Q5: การใช้ฮอร์โมนที่ถูกต้อง ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
A: ข้อควรรู้เมื่อต้องใช้ฮอร์โมน
- เลือกใช้ฮอร์โมนที่มีผลข้างเคียงตํ่า (ตาม guideline) และปรับขนาดฮอร์โมน ให้ถูกต้องกับสภาพร่างกาย
- หาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาฮอร์โมนที่ถูกต้อง รวมทั้งอันตรายของการใช้ยาเกินขนาด
- ตรวจระดับฮอร์โมน และตรวจติดตามผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ฮอร์โมน
Q6: สิ่งที่ควรทำ สำหรับผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเพศจากเพศชายเป็นหญิง มีอะไรบ้าง
A:
- ประเมินทุก 3-6 เดือน ในปีแรก และ 1-2 ครั้งในปีต่อไป เพื่อดูอาการแสดงของเพศหญิงและ ภาวะแทรกซ้อน
- ตรวจวัดระดับฮอร์โมน testosterone และ estradiol ทุก 3-6 เดือน
- ในผู้ที่ใช้ยา spironolactone ควรตรวจ serum electrolytes โดยเฉพาะ serum potassium ตรวจทุก 3 เดือนในปีแรก ทุก 6 เดือนในปีต่อไป
- ควรตรวจคัดกรองมะเร็ง เช่นมะเร็งเต้านม มะเร็งลําไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก
- การตรวจ Bone mineral density (UCSF excellent center, 2016)
- ตรวจเมื่ออายุ 65 ปีในกลุ่มที่มีไม่มีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน
- ตรวจเมื่ออายุ 50-64 ปีในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุน เช่น มีประวัติครอบครัวมีการใช้ ยากลุ่มสเตียรอยด์
- ตรวจโดยไม่คํานึงถึงอายุในกลุ่มที่ตัดรังไข่ ตัดอัณฑะแล้ว และหยุดใช้ฮอร์โมนนานกว่า 5 ปี
Q7: จุดมุ่งหมายของการใช้ฮอร์โมนบำบัดสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศคืออะไร
A: จุดมุ่งหมายของการใช้ฮอร์โมนบำบัด คือ ทำให้คุณเป็นตัวของคุณมากขึ้นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ คุณอาจเคยสัมผัสความรู้สึกอึดอัดใจเนื่องจากคุณไม่มีความสุขกับภาพลักษณ์ภายนอกของคุณที่เป็นชายหรือหญิง หรือบางครั้งคุณไม่พอใจกับบทบาทที่ต้องแสดงออกเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิง หรือบางครั้งปัจจัยทั้งสองอย่างนั้นช่างขัดกับความรู้สึกที่แท้จริงภายในว่าคุณเป็นใคร ซึ่งคุณอาจจำเป็นต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความรู้สึกสับสนนี้และรู้สึกท้อแท้ที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่นมาตลอดหลายปี
ถ้าคุณมีความรู้สึกดังกล่าว การใช้ฮอร์โมนบำบัดจะช่วยคุณได้ การรักษาแนวทางนี้บางครั้งถูกเรียกว่า ‘cross-sex’ hormone therapy
Q8: จำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนไปตลอดหรือไม่
A: คำตอบ คือ คุณจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิต หากคุณยังต้องการผลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในด้านการแสดงออกเป็นหญิง หรือฮอร์โมนแอนโดรเจนในด้านการแสดงออกเป็นชายยังคงอยู่หากเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณตัดสินใจจะผ่าตัดเอารังไข่หรืออัณฑะของคุณออก
- ปริมาณฮอร์โมนที่คุณกินจะถูกลดขนาดลงให้เหลือแค่เพียงพอที่จะให้ผลด้านการแสดงออกทางเพศต่อคุณ และเพียงพอจะป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อคุณอายุมากขึ้น
- ถ้าคุณยังใช้ยาต้านฮอร์โมนร่วมด้วย (hormone blocker) คุณจำเป็นต้องหยุดใช้ยาเหล่านี้เช่นกัน
Q9: ทำไมถึงจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจติดตามอาการ
A: แพทย์จะตรวจติดตามสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ายาฮอร์โมนได้เข้าสู่ร่างกายของคุณจริง และสามารถตรวจพบความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพได้ทันท่วงที ซึ่งแพทย์อาจมีการปรับยา และ/หรือ สั่งยาเพิ่ม ตามความเหมาะสมของแต่ละคน
ดังนั้นประวัติการเป็นโรคต่างๆ อาทิ มะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือด หรือโรคตับ ของคุณรวมทั้งคนในครอบครัว จึงมีความจำเป็นที่แพทย์จะต้องรับทราบ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าถ้าคุณมีโรคดังกล่าวแล้วจะถูกห้ามใช้ฮอร์โมน แต่ข้อมูลเหล่านั้นจะช่วยให้แพทย์ได้แนะนำถึงแนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสมแทน รวมถึงติดตามอาการของคุณได้ดียิ่งขึ้น
Q10: การใช้ฮอร์โมนบำบัดจะส่งผลอย่างไรกับการมีเพศสัมพันธ์บ้าง
A: ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone) ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน มีส่วนเพิ่มความต้องการทางเพศ ดังนั้น ในกลุ่มชายข้ามเพศอาจมีความต้องการมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งขึ้น สำหรับหญิงข้ามเพศที่ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอาจมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวขององคชาตทำให้การมีเพศสัมพันธ์ลำบากมากขึ้น หญิงข้ามเพศหลายคนกล่าวว่า ในช่วงระหว่างเปลี่ยนแปลงนี้ เธอไม่ได้รู้สึกสนใจการมีเพศสัมพันธ์ใดๆ หากคุณและคู่ของคุณมีปัญหาเรื่องนี้ คุณอาจต้องลองพูดคุยกันหรือเข้ารับการปรึกษา
Q11: จำเป็นต้องหยุดยาฮอร์โมนก่อนจากผ่าตัดหรือไม่
A: การผ่าตัดล้วนมีความเสี่ยง ดังนั้น หากคุณวางแผนจะเข้ารับการผ่าตัด คุณควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ก่อนเพื่อพูดคุยถึงข้อดีและข้อเสียของการหยุดฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดล่วงหน้าหลายสัปดาห์เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดภายในเส้นเลือด หญิงข้ามเพศควรหยุดกินยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ ก่อนการผ่าตัด แต่เนี่องจากไม่มีช่วงเวลาหยุดยาที่ตายตัวแน่ชัด ทั้งศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์อาจมีความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต่างกันออกไปได้ ทีมแพทย์จะพิจารณาสุขภาพของคุณอย่างละเอียดแม้ว่าคุณจะสูบหรือไม่สูบบุหรี่ รวมถึงเป็นหรือไม่เป็นโรคอ้วนก็ตาม
คุณสามารถเริ่มการใช้ฮอร์โมนได้อีกครั้งหลังจากการผ่าตัดประมาณ 2-3 สัปดาห์ เมื่อคุณแข็งแรงเพียงพอลุกจากเตียงได้และแพทย์ไม่ได้สั่งห้าม ในช่วงระหว่างที่หยุดการใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อนการผ่าตัด คุณอาจต้องการยาต้านฤทธิ์ฮอนโมนเทสโทสเทอโรน เพื่อหยุดไม่ให้ขนบริเวณใบหน้ากลับมาขึ้นใหม่
ทั้งชายและหญิงข้ามเพศจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือดก่อนผ่าตัดเพื่อเช็คสุขภาพและดูความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดหรือภาวะเลือดไหล
Q12: ยังสามารถมีลูกได้อีกหรือไม่ เมื่อใช้ฮอร์โมน
A: การใช้ฮอร์โมนจะทำให้คุณเกิดภาวะเป็นหมันหลังจากใช้ยาไปช่วงระยะหนึ่ง เนื่องจากผลลัพธ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด การใช้ฮอร์โมนจึงไม่ใช่วิธีสำหรับการคุมกำเนิด ควรใช้ถุงยางอนามัยแทนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ถ้าคุณเป็นหญิงข้ามเพศ การหยุดยาฮอร์โมนอาจช่วยให้การสร้างสเปิร์มกลับมาได้บ้าง ปัจจุบันยังไม่มีช่วงเวลาแน่นอนของการเป็นหมันหลังเริ่มการใช้ยาฮอร์โมน อีกทั้งยังแตกต่างกันในแต่ละคน คุณจะกลายเป็นหมันถาวรหลังจากผ่าตัดนำอัณฑะออกแล้ว
ถ้าคุณเป็นชายข้ามเพศ การใช้ยาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรกว่าที่คุณจะกลายเป็นหมันถาวร แต่ก็เช่นเดียวกันว่าไม่มีช่วงเวลาที่แน่ชัด เมื่อคุณผ่าตัดเอารังไข่ออก คุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติได้ แต่เมื่อคุณผ่าตัดเอามดลูกออกคุณจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
ดังนั้น อย่าลืมที่จะปรึกษาแพทย์เรื่องผลกระทบของการใช้ฮอร์โมนกับโอกาสที่จะมีบุตรในอนาคต รวมถึงควรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บสเปิร์มหรือไข่เอาไว้ด้วย
Q13: ความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์มีอะไรบ้าง
A: อันตรายที่เกิดจากการซื้อยามากินเองมีดังต่อไปนี้
- ผลิตภัณฑ์อาจไม่ใช่ของแท้และอาจไม่ก่อให้เกิดผลอะไรกับร่างกายเลย ทำให้คุณต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
- ผลิตภัณฑ์อาจไม่มีคุณภาพและก่อให้เกิดอันตรายได้
- คุณอาจไม่ได้รับทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดและผลข้างเคียงจากการใช้ยา
- คุณอาจไม่ทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณกินยาฮอร์โมนร่วมกับยาชนิดอื่นหรือร่วมกับยาสมุนไพรต่างๆ
- คุณจะไม่ได้รับการตรวจที่ถูกต้องจากแพทย์ถึงผลที่อาจเกิดจากยาฮอร์โมน
- ขนาดยาที่กินหรือวิธีใช้ยาฮอร์โมนบางชนิด อาทิ ยากิน แผ่นแปะผิวหนัง อาจไม่ได้เหมาะสมกับคุณ
Q14: ยาฮอร์โมนจากชายเป็นหญิงจะส่งผลอะไรกับร่างกายบ้าง
A: ในหญิงข้ามเพศ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลให้
- ไขมันสะสมเพิ่มขึ้นบริเวณสะโพก
- ขนาดของอัณฑะและองคชาตจะลดขนาดลงเล็กน้อย
- การแข็งตัวขององคชาตจะทำได้ลำบากขึ้น
- รู้สึกกดเจ็บและมีลักษณะเป็นก้อนมากขึ้นที่บริเวณเต้านม
- ขนบริเวณร่างกายและใบหน้าจะลดลง ช่วยให้การกำจัดขนของหญิงข้ามเพศทำได้สะดวกขึ้น
- ลักษณะศีรษะล้านแบบเพศชายอาจลดลงหรือหยุดลงได้
Q15: ยาฮอร์โมนจากหญิงเป็นชายจะส่งผลอะไรกับร่างกายบ้าง
A: ในชายข้ามเพศ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนจะส่งผลให้
- มีขนและเคราเพิ่มขึ้นที่ใบหน้าและร่างกาย
- ลักษณะศีรษะล้านแบบเพศชายอาจเกิดขึ้นได้
- ปุ่มกระสันของอวัยวะเพศหญิง (Clitolis) จะเพิ่มขนาดขึ้นได้เล็กน้อย
- ความต้องการทางเพศอาจเพิ่มขึ้นได้
- เสียงเปลี่ยน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ถึงระดับของเสียงผู้ชายทั่วไป
- ประจำเดือนจะหยุดลง แต่อาจยังมีเลือดไหลกะปริดกะปรอยได้ซึ่งต้องอาศัยการปรับขนาดยา
- สิวอย่างเกิดขึ้นได้
Q16: ความเสี่ยงของการใช้ฮอร์โมนมีอะไรบ้าง
A: การใช้ฮอร์โมนนั้นจะปลอดภัยหากใช้ในขนาดที่เหมาะสม เนื่องจากยาฮอร์โมนนั้นถูกสังเคราะห์ให้มีความคล้ายคลึงกับฮอร์โมนในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม ยาทุกชนิดนั้นล้วนมีผลข้างเคียง และบางรายอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ผู้ใช้จึงควรศึกษาผลข้างเคียงของยาให้ดีก่อนตัดสินใจใช้ยา
ผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาฮอร์โมนเอสโตรเจน มีดังนี้
-
การเกิดลิ่มเลือด
-
กระทบการทำงานของตับ
ผลข้างเคียงที่รุนแรงจากยาฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน คือโรคเลือดข้น (Polycythemia)
Q17: อยากเทคฮอร์โมนให้เห็นผล...ต้องเทคนานแค่ไหน
A: การเทคฮอร์โมน ไม่ใช่เทคเพียง 1-2 ครั้ง แล้วจะเห็นผล แต่การเทคฮอร์โมนจะต้องเทคอย่างสม่ำเสมอ หลัง 3-6 เดือนขึ้นไปถึงจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง เช่น เสียง โครงหน้า เป็นต้น
Q18: ข้อควรระวังในการเทคฮอร์โมน มีอะไรบ้าง
A: การเทคฮอร์โมน ต้องคำนึงถึง
- ปัญหาทางสุขภาพต่างๆ เช่น ป่วยบ่อย มวลกระดูกบางลง ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง
- อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ หรือเป็นโรคซึมเศร้าได้
- ต้องคอยรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่ ถ้าน้อยเกินไป...ก็จะไม่เห็นผลตามต้องการ
Q19: เทคฮอร์โมน...นานแค่ไหนถึงเรียกว่าเหมาะสม
A: เมื่อเพศทางร่างกาย และเพศทางจิตใจ ไม่ตรงกัน เราจึงต้องพยายามที่จะให้จิตใจของเราได้รับการตอบสนอง การเทคฮอร์โมน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก และตัวสำคัญที่จะทำให้เราข้ามเพศไปยังเพศที่ต้องการได้
Q20: เมื่อเทคฮอร์โมนแล้ว จะมีลักษณะอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง
A: ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเทคฮอร์โมนจากชายไปหญิง
- เสียงเล็ก แหลม
- มีหน้าอก สะโพกผ่าย
- ผิวเนียน
- ขนบริเวณต่างๆ ลดลง
- น้องชาย มีขนาดเล็กลง และแข็งยากขึ้น (สำหรับผู้ที่ยังไม่ผ่าตัด)
ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงหลังเทคฮอร์โมนจากหญิงไปชาย
- เสียงใหญ่ ทุ้ม
- โครงหน้าเปลี่ยน
- มีสิว
- กลิ่นตัวแรง
- ผิวมัน และหยาบขึ้น
- มีนวด เครา ขนขึ้นตามที่ต่างๆ
- เริ่มเห็นกล้ามเนื้อที่ชัดเจน (ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ)
Q21: ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในการเทคฮอร์โมน มีอะไรบ้าง
A: ผลที่อาจเกิดขึ้นได้ในคนที่เทคฮอร์โมน
- เลือดข้น หรือหนืด
- ลิ่มเลือด
- ไขมันในเลือดสูง
- กระดูกบาง หรือพรุน
- มีผลกับหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไต ตับ หลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
Q22: ทำไมผู้ที่เทคฮอร์โมน ถึงไม่สามารถบริจาคเลือดได้
A: “เทคฮอร์โมนแล้วไม่สามารถบริจาคเลือดได้” กำลังเป็นประเด็นร้อนบนโลกโซเชียลในขณะนี้ที่ทำให้เกิดความเห็นต่างออกมามากมาย และหลายคนก็รู้สึกว่า การเทคฮอร์โมนของผู้ที่เป็นเพศทางเลือกเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ทำไมต้องถูกกีดกันไม่ให้ไปบริจาคเลือด ทั้งๆ เลือดกำลังขาดแคลนอย่างมากในช่วงวิกฤตการระบาด COVID-19 วันนี้เราจะมาบอกเหตุผลให้คลายสงสัยกันว่า ทำไมผู้ที่เทคฮอร์โมน ถึงไม่สามารถบริจาคเลือดได้
นี่คือเหตุผลว่า… ทำไมเทคฮอร์โมนแล้ว ถึงบริจาคเลือดไม่ได้
เนื่องจากการได้รับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในปริมาณสูงๆ อาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอดได้ ซึ่งในทรานส์แมน (คนข้ามเพศ) จำเป็นต้องได้รับปริมาณเทสโทสเตอโรนสูงเพื่อการข้ามเพศ และตัวยาเทคฮอร์โมนที่ใช้สำหรับข้ามเพศก็มีส่วนผสมของสเตียรอยด์อยู่ด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการบริจาคเลือดจะต้องงดการเทคฮอร์โมนมาก่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แต่สำหรับคนที่ต้องการข้ามเพศจำเป็นต้องเทคฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องห้ามขาดช่วง เพราะหากหยุดยาหรือขาดการเทคฮอร์โมนอาจจะทำให้การข้ามเพศหยุดชะงักหรือไม่สำเร็จได้ ดังนั้นหากไม่หยุดยาหรือหยุดเทคฮอรโมนเสียก่อน เลือดที่บริจาคไปก็จะส่งผลเสียต่อผู้ที่ได้รับเลือดนั้นได้
โดยมาตรฐานแล้ว การจัดหาเลือดต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของผู้บริจาคและผู้ป่วยที่ต้องรับเลือดเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มีสุขภาพดี และเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นประจำด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่ง การเทคฮอร์โมนจึงกลายเป็นข้อห้ามอันหนึ่งเช่นกัน
แม้ว่าทุกคนควรมีสิทธิ์ในการบริจาคเลือด แต่หากยังไม่พร้อมในด้านสุขภาพก็ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ การเป็นแรงใจในการ “Activist” เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายที่มีความเห็นต่างจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแสดงออก
แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ เราควรทำตามระเบียบของสภากาชาดไทย และถึงแม้ว่าเราจะยังไม่สามารถช่วยเหลือด้วยการบริจาคเลือดเองได้ แต่เราสามารถแชร์ข่าวสารการรับบริจาคเลือดให้เกิดการรับรู้มากขึ้นได้ ดังนั้น อย่าลืมบอกต่อและรณรงค์ให้ผู้ที่มีความพร้อมไปบริจาคเลือดกันนะ
Q23: อายุเท่าใดจึงเข้ารับบริการแปลงเพศได้
A: ไม่มีการระบุชัดว่าอายุที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนแปลงนั้นคือกี่ปี ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับบริการเป็นสำคัญ เนื่องจากบางคนต้องการข้ามเพศในวัยรุ่น อีกคนกลับต้องการหลังอายุ 40 ปีแล้ว เพียงผู้รับบริการที่มีอายุ 18-20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนเสมอ ตามข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ.2552 ซึ่งคลินิกสุขภาพเพศจะดูแลเฉพาะผู้มารับบริการวัยผู้ใหญ่เป็นหลัก
วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี จะได้รับการรักษาโดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป ซึ่งคลินิกฯ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อและจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นจากคลินิกบูรณาการสุขภาพวัยรุ่นให้บริการโดยเฉพาะ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
Q24: เราต้องตรวจสุขภาพอะไรบ้าง และผ่านเกณฑ์อะไรบ้างก่อนรับฮอร์โมนเพศชาย
A: การรับฮอร์โมนเพศชาย จะต้องผ่านเกณฑ์ดังนี้
- อายุมากกว่า 20 ปี และต้องผ่านการพบจิตแพทย์ 2 ท่านเป็นอันดับแรก เพื่อประเมินว่า ผู้รับบริการต้องการจะเป็นผู้ชายข้ามเพศแน่ๆ เพราะบางครั้งผู้รับบริการยังไม่มั่นใจในตัวเองว่า ต้องการจะเปลี่ยนแปลงร่างกายหรือไม่ หรือแค่ชอบผู้หญิงเฉยๆ หรือเป็นไปตามแฟชั่น
- หากอายุ 18 ปีแต่ไม่ถึง 20 ปี ต้องมีผู้ปกครองเซ็นยินยอม และต้องผ่านการพบจิตแพทย์ 2 ท่านเช่นกัน
- ก่อนรับฮอร์โมนเพศชายต้องผ่านการตรวจสุขภาพและความพร้อมของร่างกายก่อน
ก่อนการรับฮอร์โมนเพศชาย ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ ตามด้านล่าง
- เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติภาวะเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจ, โรคอ้วน, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, สูบบุหรี่, ประวัติโรคมะเร็งเต้านมในครอบครัว, ประวัติการใช้ยาลดความดัน, ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด, ยาสลายลิ่มเลือด เป็นต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (เจาะเลือด) เพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, ระดับน้ำตาลในเลือด, การทำงานของไต, ระดับไขมันในเลือด, การทำงานของตับ และระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในร่างกาย
- นอกจากนั้น ผู้รับบริการจะได้รับการตรวจร่างกายทุกระบบ วัดความดันโลหิต, ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง
- สำหรับผู้ที่มีประวัติประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ขาดหายเรื้อรัง แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome)
Q25: รับฮอร์โมนเพศชายแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
A: เมื่อได้รับฮอร์โมนเพศชายแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลง 2 แบบดังนี้
- การเปลี่ยนแปลงแบบถาวร ได้แก่ เสียงทุ้มใหญ่ขึ้น, คลิตอริสมีขนาดใหญ่ขึ้น , ไขมันตามร่างกายบางส่วนลดลง เช่น สะโพก
- การเปลี่ยนแปลงแบบไม่ถาวร เมื่อหยุดฮอร์โมนก็จะกลับมาเป็นปกติ ได้แก่ ประจำเดือนขาด, มวลกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นและแข็งแรงขึ้น, มีขนดกขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว และแขนขา, เต้านมขนาดเล็กลง, อาจมีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น, บางคนอาจมีผมร่วงและศีรษะล้านแบบเพศชาย, น้ำหนักเพิ่มขึ้น
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 28 สิงหาคม 2566