The serious threat not to be ignored
Our kidneys are the command center of the body’s waste management system, quietly filtering out harmful toxins from the bloodstream day after day. But today’s fast-paced modern lifestyles are leading to more and more cases of chronic kidney disease (CKD).
For expert insight on this serious threat, Better Health consulted Dr. Sira Sooparb, a board-certified specialist in nephrology who has spent many years treating patients with CKD.
โรคไตเรื้อรัง อีกหนึ่งโรคที่ต้องเฝ้าระวัง
ไต อวัยวะที่เปรียบได้กับโรงบำบัดของเสียที่ต้องอยู่กับมลพิษตลอดเวลา เนื่องจากมีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด การทรุดโทรมของไตจึงเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้รูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน
สาเหตุของโรค
นพ. สิร สุภาพ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไตวิทยา อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดโรคไตเรื้อรังไว้ว่า เกิดได้ทั้งจากโรคในเนื้อไตเองและจากโรคอื่นอาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมไปถึง โรค SLE โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส และโรคตับอักเสบบี ซี ซึ่งโรคเหล่านี้ส่งผลให้ไตต้องทำงานหนัก จนเสื่อมสภาพในที่สุด
“โรคอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ไตเสื่อม คือโรคเบาหวาน เพราะไปทำให้น้ำตาลในไตสูง โรคความดันโลหิตสูงซึ่งไปเพิ่มความดันเลือดในไต และโรคอ้วน ที่เหมือนกับการเอาเครื่องยนต์ขนาดเล็กไปใช้กับรถคันใหญ่ เพราะการปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมาก ก็ยิ่งทำให้ไตต้องทำงานมาก นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็มีผลทำให้ไตเสื่อมเช่นกัน ” นพ. สิร อธิบาย
โรคไตคือภัยเงียบ
โรคไตแบ่งออกได้เป็น 5 ระยะตามประสิทธิภาพการทำงานของไต (ดูตาราง) โดยในระยะแรก ๆ จะไม่แสดงอาการ แพทย์มักพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคไต คือมีอาการอยู่ที่ระดับสี่แล้ว ซึ่งหมายถึง ประสิทธิภาพการทำงานของไตได้ลดลงไปกว่าร้อยละ 70
“ปัญหาคือ ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคไต ไตเสียไปครึ่งหนึ่งแล้วก็ยังไม่มีอาการ เพราะโรคไตเป็นโรคที่หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะไม่มีทางรู้ได้เลย เป็นหมอไตเองก็ไม่รู้ว่ามีโรคไตอยู่ถ้าไม่เช็คตัวเอง” นพ. สิร กล่าว
รักษาที่สาเหตุ
ในการรักษาโรคไตเรื้อรังนั้น นพ. สิรอธิบายว่าจำเป็นต้องแก้ที่สาเหตุ เช่น ควบคุมเบาหวาน ลดความดัน ควบคุมน้ำหนัก ซึ่งทั้งหมดนี้ทำได้ด้วยการควบคุมอาหาร โดยเน้นที่การจำกัดปริมาณเกลือ ปริมาณโปรตีน และปริมาณฟอสเฟต ซึ่งมักจะอยู่ในนมและถั่ว เพราะเป็นอาหารที่ทำให้ไตทำงานหนัก นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ละเลิกบุหรี่ และอย่าปล่อยให้ตัวเองเครียด
“การคุมอาหารเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับผู้ป่วย แต่ต้องพยายามทำให้ได้ เพราะถ้าคุมอาหารได้ ยาก็จะทำงานได้ผลดี คนไข้ที่ยังทำไม่ได้ หมอจะแนะนำให้นั่งสมาธิ เพราะช่วยทั้งในเรื่องของการควบคุมจิตใจและยังทำให้ อารมณ์ดีอีกด้วย”
นพ. สิร แนะนำ
ระยะของโรคไตเรื้อรัง
เพราะโรคไตเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการในระยะแรก การเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อหาค่า GFR (Glomerular Filtration Rate) หรือ อัตรากรองของไตเท่านั้นจึงจะทราบระยะของโรคได้ ดังนี้
ระยะของโรค |
อัตรากรองของไต* |
อาการที่สังเกตได้ |
ระยะที่ 1 |
90 - 100 % |
การทำงานของไตยังเป็นปกติ แต่อาจไม่สามารถรับยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบได้ อาจมีโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะ |
ระยะที่ 2 |
60 - 89 % |
ผลตรวจเลือดโดยทั่วไปยังไม่แสดง
ความผิดปกติ ความดันเลือดอาจสูงขึ้น
เล็กน้อย ถ้าปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตตั้งแต่ช่วงนี้อาจหายได้โดยไม่ต้องรับการรักษา
|
ระยะที่ 3 |
30 - 59 % |
ผลตรวจเลือดแสดงความผิดปกติ
อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวเพลีย และแขนขาบวมแบบอ่อน ๆ มีโอกาสต้องเข้ารับการล้างไต |
ระยะที่ 4 |
15 - 29 % |
ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
ตัวซีด ผิวแห้ง และขาบวม หากผู้ป่วย
ไตอักเสบ จะพบโปรตีนรั่วมากับปัสสาวะ
ควรควบคุมความดันเลือดอย่างเคร่งครัดและจำเป็นต้องเข้ารับการฟอกเลือด |
ระยะที่ 5 |
ต่ำกว่า 15 % |
อาการหนัก สามารถติดเชื้อได้ง่าย คนไข้ต้องได้รับการฟอกเลือดอย่างเร่งด่วน ก่อนที่อาการจะรุนแรงจนไม่มีทางแก้ไข |
* ระดับการทำงานของไตที่ถือว่าปกติหรือ 100% เทียบเท่ากับค่า GFR 90 - 120 มิลลิลิตร/นาที
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 29 มีนาคม 2565