bih.button.backtotop.text

ออกกำลังกาย เรื่องจำเป็นของคนวัยเกษียณ

ไม่ว่าใครก็คงทราบถึงคุณประโยชน์ของการออกกำลังกาย แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายเสียเมื่อไร โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มักอ้าง ‘เหตุผล’ มากมายที่ทำให้ ‘ออกกำลังกายไม่ได้’ ไม่ว่าจะเป็นการเดินไม่ถนัด เหนื่อย ข้อติด มีโรคประจำตัว เวียนศีรษะ ปวดขาปวดเข่า ฯลฯ 

ออกกำลังกาย เรื่องจำเป็นของคนวัยเกษียณ

คุณภาพชีวิตที่ดีเกิดขึ้นได้ทุกวัย หากเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้

ไม่ว่าใครก็คงทราบถึงคุณประโยชน์ของการออกกำลังกาย แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายเสียเมื่อไร โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มักอ้าง ‘เหตุผล’ มากมายที่ทำให้ ‘ออกกำลังกายไม่ได้’ ไม่ว่าจะเป็นการเดินไม่ถนัด เหนื่อย ข้อติด มีโรคประจำตัว เวียนศีรษะ ปวดขาปวดเข่า ฯลฯ 

อันที่จริง วัยเกษียณควรจะเป็นช่วงเวลาที่มีความสุข เพราะปลอดจากภาระต่าง ๆ แล้ว แต่ความจริงคือ หลายคนต้องเวียนเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว บางรายซึมเศร้า นั่งนอนเฉย ๆ เพราะความเจ็บป่วยรุมเร้า แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปัญหาสุขภาพที่บั่นทอนความสุขในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุนั้นอาจบรรเทา หรือทำให้ดีขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมซึ่ง Better Health มีความเห็นจาก นพ. สุธี ศิริเวชฎารักษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด มาได้เรียบเรียงให้คุณได้อ่านกัน 
 

การออกกำลัง คือความจำเป็น

แน่นอนว่าการออกกำลังกายเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายทางแต่สำหรับผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกแล้ว การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความพยายามอยู่ไม่น้อย “การจูงใจให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายนั้นต้องให้ผู้ป่วยทราบถึงผลดีของการออกกำลังกาย และผลเสียของการขาดการออกกำลังกาย” นพ. สุธีเริ่ม

อธิบาย “ยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวแล้ว ต้องบอกเลยครับว่าปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่ได้ทำให้คุณออกกำลังกายไม่ได้นะครับ แต่เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าคุณจำเป็นต้องออกกำลังกายแล้ว หากยังอยากที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีสุขภาพดี อยากไปไหนได้ไป อยากทำอะไรได้ทำ และสามารถดูแลตัวเองได้ในวัยเกษียณครับ” 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุประสบปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายมีตั้งแต่ อายุที่เพิ่มขึ้น โรคประจำตัวของแต่ละคน อาทิโรคเบาหวานที่ส่งผลถึงหลอดเลือดส่วนปลาย รวมทั้งการมองเห็นโรคไขข้ออักเสบ ฯลฯ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อซึ่งอาจเป็นผลมาจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ประกอบกับขาดการออกกำลังกายส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแอลง และปัญหาเรื่องการทรงตัว อาการวิงเวียน หน้ามืด ทรงตัวลำบาก มักเกิดกับผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคพาร์กินสัน  เป็นต้น

นพ. สุธีเน้นว่า การออกกำลังกายไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นความจำเป็นสำหรับทุกคนที่อยากมีสุขภาพดีไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด “เหตุที่ผมบอกว่าการออกกำลังกายเป็นความจำเป็นนั้นก็เพราะว่าการออกกำลังกายมีผลดีต่อร่างกายหลายอย่าง ในผู้สูงอายุการออกกำลังจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ช่วยเรื่องการทรงตัวเพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนเป็นโรคอะไร เช่น ถ้าเป็นโรคข้อ เดิมอาจจะมีข้อติดอยู่ การออกกำลังกายที่เน้นเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อก็ช่วยให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานและไขมันสูง ก็จะได้ประโยชน์โดยตรงเพราะถ้าเน้นออกกำลังกายแบบแอโรบิค ร่างกาย ก็จะเผาผลาญ

อาหารดีขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลและไขมันในเลือดลดลงลดการใช้ยาลงได้จนกระทั่งสามารถหยุดยาได้ในบางราย” นพ. สุธีกล่าว 
 

ออกกำลังให้ถูก ทำอย่างไร

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุมีความแตกต่างจากการออกกำลังกายในคนหนุ่มสาวมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว นพ. สุธีเน้นว่า“ข้อควรจำในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ คือ ต้องห้ามออกแรงมากหรือเคลื่อนไหวเร็ว ผมมักจะแนะนำผู้ที่มาปรึกษาว่าให้เน้นออกกำลังกายเป็นส่วน ๆ ไปครับ โดยต้องยึดหลักไว้ว่าทำช้า ๆ ต่อเนื่อง และมีแรงต้านหรือแรงกระแทกน้อย”

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุจะเป็นไปเพื่อเน้นเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย ดังต่อไปนี้
 
  • เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อ ทำได้โดยการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ให้ได้สุดพิสัยการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ จากแขนแนบอยู่ข้างลำตัวก็ค่อย ๆ ยกขึ้นเหนือศีรษะให้สุด ทำต่อเนื่องข้อละประมาณ 5-10 ครั้ง
  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบนี้ คือการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เน้นพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อหลัง เช่น ยกน้ำหนักที่ไม่หนักมากนัก ดันกำแพง หรือการยกแขน ยกขา ในผู้สูงอายุ น้ำหนักของแขนขาก็ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อได้แล้ว 
  •  เพิ่มความยืดหยุ่นและการทรงตัว เป็นการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ จนสุด หรือเกินกว่าพิสัยการเคลื่อนไหวเล็กน้อยเพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีการถ่ายเทน้ำหนักไปมาเพื่อเพิ่มการทรงตัว ลดโอกาสในการหกล้ม บาดเจ็บ หรือปวดกล้ามเนื้อ ตัวอย่างการออกกำลังกายชนิดนี้ ได้แก่ การรำมวยจีน โยคะ โดยเลือกท่าง่าย ๆ
  •  เพิ่มสมรรถภาพของหัวใจและปอด หรือที่เรียกว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ อย่างต่อเนื่องให้หัวใจทำงานถึงระดับหนึ่งที่เรียกว่า Target Heart Rate (TGR) หรืออัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย ซึ่งในผู้สูงอายุ TGR จะต่ำกว่าในคนหนุ่มสาวโดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60-70 ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Maximum Heart Rate) และคงที่อยู่ประมาณ 15 นาที และควรทำให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือวันเว้นวันโดยประมาณ

นพ. สุธีเสริมอีกว่า “การจัดหมวดหมู่การออกกำลังกายเช่นนี้เพื่อให้เราเห็นชัดว่ามีอะไรบ้างที่จำเป็น ซึ่งการออกกำลังแต่ละครั้งจะได้ประโยชน์หลายอย่างร่วมกัน อาทิ การรำมวยจีน ได้มีการเคลื่อนไหวของข้อ ได้ใช้กล้ามเนื้อจากการยกแขนขา เป็นการออกกำลังกายที่ไม่มีแรงต้านมีการถ่ายเทน้ำหนักไปมา และหากทำได้นานพอก็ได้ประโยชน์กับหัวใจด้วย”

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุบางรายอาจมีข้อจำกัด เช่น มีปัญหาเรื่องข้อเข่าหรือมีความเสี่ยงมากต่อการหกล้มบาดเจ็บ ก็อาจปรับเปลี่ยนเป็นการออกกำลังในท่านั่งหรือนอนได้ และแม้จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  แต่ก็ไม่ใช่ไม่ยอมออกกำลังกายเลย ชีวิตหลังวัยเกษียณจะเป็นชีวิตที่เปี่ยมสุข และสุขภาพดีอย่างยั่งยืนหรือไม่ คุณเลือกเองได้ แล้วอย่างนี้คุณพร้อมจะเริ่มชีวิตหลังวัยเกษียณแล้วหรือยัง
 

คุณหักโหมเกินไปหรือเปล่า

การออกกำลังกายเป็นเรื่องจำเป็นแต่การหักโหมเกินไปนั้นอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ วิธีการประเมินความหนักหน่วงในการออกกำลังกายอย่างง่าย ๆ คือการบอกด้วยความรู้สึกว่าเหนื่อยมากน้อยเพียงใดด้วย Borg RPE Scale หรือ Rating of Perceived Exertion (RPE) ที่ให้คะแนนความเหนื่อยตามความหนักหน่วงในการออกกำลังกายไว้ตั้งแต่ระดับ 6-20 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ฝากไว้ให้ระวัง!

หากคุณเป็นผู้สูงอายุและคิดจะเริ่มออกกำลังกาย มีหลายเรื่องที่คุณต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้
 
  • รู้จักตัวเองว่าเป็นโรคอะไร และมีความเสี่ยงอย่างไร อย่าลืมปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม
  • เริ่มออกกำลังกายจากเบา ๆ ในเวลาสั้น ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มความหนักและระยะเวลาขึ้นจนสามารถออกกำลังกายได้นานถึง 15-30 นาที
  • สวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสมคล่องแคล่วเพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะออกกำลัง
  • จัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม สถานที่ออกกำลังกายควรเป็นพื้นที่
  • เรียบโล่ง มั่นคง มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนหรือหนาวจัดเกินไป
  • เลือกรูปแบบการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เน้นชนิดที่ช้า ไม่มี
  • แรงกระแทกต่อข้อ หรือแรงต้าน และไม่หนักหน่วงเกินไป เช่น การเดินขี่จักรยาน ว่ายน้ำ
  • ห้ามกลั้นหายใจหรือเบ่งไม่ว่าจะออกกำลังกายอะไรก็ตาม เพราะจะเพิ่มความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักโอกาสที่ความดันจะสูงขึ้นจนเป็นอันตรายมีสูงมาก
  • อาการปวดเมื่อยหลังออกกำลัง (Post Exercise Soreness) อาจเกิดขึ้นได้ พักและปรับรูปแบบการออกกำลังให้เบาลงแล้วจึงค่อยกลับไปออกกำลังกายตามเดิม
  • อบอุ่นร่างกายทุกครั้งประมาณ 10 นาที เพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นก่อนออกกำลังกาย และอย่าหยุดทันทีทันใดภายหลังออกกำลังกาย ให้เวลาในการ “คูลดาวน์” ประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจและสมอง ซึ่งจะลดอาการปวด เวียนศีรษะลงได้
  • อย่าออกกำลังกายจนรู้สึกว่าเหนื่อยเกินไป สังเกตการหายใจว่าเร็วเกินไปหรือไม่ พูดฟังรู้เรื่องหรือไม่
  • หากมีอาการผิดปกติระหว่างออกกำลังกาย เช่น หายใจขัด เจ็บหน้าอกหรือเวียนศีรษะต้องหยุดทันที
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 30 มีนาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs