ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เป็นอาการปวดบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วโป้งที่พบได้บ่อยและมักเกิดในคนที่ใช้ข้อมือและมือในการทำงานซ้ำๆและต้องงอข้อมือมากเป็นเวลานานๆและในท่าที่หักข้อมือในท่าที่ไม่เหมาะสม
เกิดจากพังผืดปลอกหุ้มเอ็นถูและเสียดสีกับเยื่อหุ้มเอ็นและเอ็นกระดกข้อมือและนิ้วหัวแม่มือจนอักเสบ
กลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคนี้ได้ง่าย
- กลุ่มคนทำงานเช่น ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ, คนทำงานบ้าน ,คนทำอาหาร , งานช่าง , งานทำสวนปลูกต้นไม้,ยกของหนัก
- กลุ่มกิจกรรมที่ใช้ข้อมือมากๆ เช่น เล่นกีฬา,เล่นเวทเทรนนิ่ง, เล่นดนตรี, การอุ้มลูกหลานนานๆ, ถักไหมพรมหรืองานอดิเรกอื่นที่ต้องประดิษฐ์ ตอกตะปู ไขสกรู การบิดผ้าจนแห้ง
- คนอ้วน เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย
- หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งฮอร์โมนเพศหญิงมีส่วนสัมพันธ์ทำให้เกิดง่ายขึ้น
- ผู้ป่วยกลุ่มโรครูมาตอยด์ โรคทัยรอยด์ เบาหวาน
อาการ
มักเจ็บข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มือเวลากระดกนิ้วหัวแม่มือหรือหักข้อมือมาฝั่งนิ้วหัวแม่มือ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะปวดร้าวไปตลอดนิ้วห้วแม่มือและแขนส่วนปลายมากขึ้น ปวดมากตอนตื่นนอนและอาจมีอาการชาหรือแสบร้อนไปตลอดนิ้วหัวแม่มือได้ บวมแดงมากขึ้นกดเจ็บ
การรักษา
- ทานยา พักการใช้งานมือ การใส่สนับข้อมือที่คลุมล็อคนิ้วหัวแม่มือ ในระยะที่เริ่มเป็นแรกๆ
- เมื่ออาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นมากกว่า 2-3 สัปดาห์ อาจต้องฉีดยาเสตียรอยด์บริเวณที่ปวด หลังฉีดก็จะหายปวดและใช้งานได้ปกติแต่อาจกลับเป็นซ้ำได้อีกเมื่อมีการใช้งานมากๆ
- ถ้ามีการกลับเป็นซ้ำหรือไม่ดีขึ้น ต้องพิจารณาผ่าตัดโดยฉีดยาเฉพาะที่และตัดพังผืดปลอกหุ้มเอ็นที่รัดเส้นเอ็นออกโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ก็จะมักหายขาด และอาการกลับเป็นซ้ำน้อยมากหลังผ่าตัด
เรียบเรียงโดย นพ. สุรชัย รัตนเสรีเกียรติ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ, การผ่าตัดมือ
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 19 ธันวาคม 2566