bih.button.backtotop.text

เจาะลึกประโยชน์ ที่พยุงหลัง

ไม่มีใครอยากเจออาการปวดหลัง เพราะถ้ามันเกิดขึ้น เราคงชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ราบรื่นแน่นอนครับ บางคนที่ค้นหาในกูเกิลจะเจอ “ที่รัดหลังแก้ปวด” และสงสัยว่ามันสามารถลดอาการปวดหลังได้จริงหรือไม่ ในบทความนี้หมอจะมาแนะนำที่รัดแก้ปวดหลังชนิดต่างๆและจะแนะนำว่าจริงๆแล้วได้ประโยชน์หรือไม่
 
ที่รัดหลังส่วนล่าง (pic1) ทำหน้าที่แทนกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวของเรา (core body muscle) ในระหว่างที่เราใส่ที่รัดหลังซึ่งจะมีส่วนดึงให้เกิดการกระชับมากขึ้นเปรียบเสมือนการเกร็งหน้าท้องและหลัง ขณะใส่เราจึงรู้สึกผ่อนคลายและสบาย เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะมีอาการปวดหลังจากการทำงาน บาดเจ็บ หรือมีความเสื่อมจากกระดูกหลัง มันจะช่วยลดอาการปวดและทำให้คุณผ่านหนึ่งวันไปได้อย่างง่ายดาย
 
pic1-(1).jpg
Pic 1

มาดูประโยชน์ของที่รัดหลังกันบ้างว่าส่วนใหญ่แล้วใช้ในอาการแบบไหน
  1. ช่วยลดการเคลื่อนไหวของส่วนที่บาดเจ็บนั้นๆ ช่วยให้กล้ามเนื้อได้พัก
  2. ช่วยลดแรงที่มากระทำต่อกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกขณะยกของ
  3. ช่วยให้การเปลี่ยนอิริยาบถเช่นการเปลี่ยนจากนั่งเป็นท่ายืน ทำได้อย่างง่ายดาย
  4. บางรายจะใส่ในช่วงหลังผ่าตัดหลังเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มความมั่นคงให้กับหลัง
 
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าที่รัดหลังจะมีประโยชน์และสรรพคุณช่วยลดอาการปวดก็ตาม หมอไม่แนะนำให้ใช้ที่รัดหลังติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ เราจะเห็นได้ว่าที่รัดหลังจะทำหน้าที่แทนกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวของเรา การใช้ที่รัดหลังติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อไม่ถูกใช้งาน พอไม่ใช้งานติดต่อกันก็จะเกิดการฝ่อของกล้ามเนื้อขึ้น ซึ่งกลับเป็นผลร้ายต่อหลังของเราอย่างมาก เพราะเมื่อใดที่กระดูกสันหลังของเราไม่มีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพยุงหลัง จะทำให้กระดูกหลังและหมอนรองเสื่อมเร็วขึ้นเปรียบเสมือนรถยนต์ที่ไม่มีโช๊คอัพ ย่อมทำให้เพลาเกิดการสึกหรอไวมากขึ้นนั่นเองครับ
 
สำหรับคำแนะนำในการใช้ที่รัดหลังให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ ควรใช้ที่รัดหลังในระยะแรกของอาการปวดเท่านั้น ถ้าอาการปวดเริ่มลดลงหลัง 2 วัน สามารถถอดที่รัดหลังได้ครับและควรจะเริ่มการออกกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวให้มากขึ้น ถ้าออกกำลังได้มากขึ้นก็เริ่มใช้ที่รัดหลังน้อยลงตามลำดับได้ เมื่อใดที่กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวของเราแข็งแรงเมื่อนั้นเราจะมีที่รัดหลังส่วนตัวที่เราจะสามารถนำมันออกมาใช้เมื่อไรก็ได้ที่เราต้องการครับ

เกี่ยวกับผู้เขียน

DrWithawin.jpg

หมอเข้ม หรือ น.พ. วิธวินท์ เกสรศักดิ์ 
ศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลังประจำที่ร.. บำรุงราษฎร์
หมอแมท หรือ นพ. ปวินท์ เกษมพิพัฒน์ชัย
ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อเเละศัลยกรรมกระดูกสันหลัง - Bumrungrad Health Network

 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 02 มิถุนายน 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs