ตาเป็นอวัยวะที่ช่วยในการมองเห็น จึงถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก และถึงแม้โรคเกี่ยวกับตาจะไม่ทำให้เสียชีวิต แต่อย่าลืมว่าดวงตาเสียแล้วซ่อมไม่ได้ ดังนั้น จุดประสงค์ของการตรวจคัดกรองตา เพื่อตรวจค้นโรคทางตาที่พบบ่อย ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียสายตาทั้งชั่วคราวและถาวร โดยโรคทางตาบางโรคอาจไม่มีอาการแสดงในระยะเริ่มต้น ส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคทางตา ได้แก่
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอดส์ หรือโรคเลือด sickle cell
- มีประวัติโรคทางตา เช่น จอประสาทตาลอก อุบัติเหตุเกี่ยวกับตาหรือสูญเสียการมองเห็นในตาข้างหนึ่งหรือสองข้าง
- มีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคทางตา เช่น ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม
- เชื้อชาติแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งอายุมากกว่า 20 ปี
- ทำงานที่ใช้สายตามาก
- ใช้ยาที่มีผลต่อตา
- ใส่คอนแทคเลนส์
นอกจากนี้ โดยทั่วไปผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองตาแม้จะไม่มีความเสี่ยงใดๆ ก็ตาม เนื่องจากโรคทางตาที่พบบ่อยหรือการเปลี่ยนแปลงของสายตามักจะเริ่มที่ช่วงอายุนี้ การตรวจคัดกรองจะช่วยในการตรวจค้นโรคทางตาที่พบบ่อย รวมถึงโรคบางอย่างที่พบไม่บ่อยแต่มีความร้ายแรงจนอาจทำให้สูญเสียตาได้ เช่น เนื้องอกในลูกตา ทั้งนี้ความผิดปกติของตาอาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติทางร่างกายบางอย่างได้อีกด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง หรือ เบาหวาน
ความถี่ในการตรวจคัดกรองตา
อายุ
|
ความถี่ในการตรวจ
|
ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง
|
ผู้ทีมีความเสี่ยง
|
แรกเกิด-24 เดือน
|
ตอนอายุ 6 เดือน
|
ตอนอายุ 6 เดือน หรือตามที่แพทย์แนะนำ
|
2-5 ปี
|
ตอนอายุ 3 ปี
|
ตอนอายุ 3 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ
|
6-18 ปี
|
ก่อน 6 ปี และหลังจากนั้นทุก 2 ปี
|
ทุกปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ
|
18-39 ปี
|
อย่างน้อย 1 ครั้ง ระหว่างช่วงอายุนี้
|
ทุก 1-2 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ
|
40-45 ปี
|
ทุก 2-4 ปี
|
ทุก 1-3 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ
|
55-64 ปี
|
ทุก 1-3 ปี
|
ทุก 1-2 ปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ
|
65 ปีขึ้นไป
|
ทุก 1-2 ปี (แม้ไม่มีอาการใดๆ เลย)
|
ทุกปี หรือตามที่แพทย์แนะนำ
|
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: