bih.button.backtotop.text

Heart Failure Program โปรแกรมการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

โปรแกรมการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มุ่งเน้นการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวแบบองค์รวมครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจล้มเหลว โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านภาวะหัวใจล้มเหลวและทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญด้านดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉพาะ ทำงานร่วมกันสอดประสานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลและการเสียชีวิต

Layout-Heart-Failure_info_AW1.jpg


การวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยนำโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านภาวะหัวใจล้มเหลว ผ่านการฝึกอบรมและได้รับวุฒิบัตรผู้ชำนาญการเฉพาะทางสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวจากประเทศสหรัฐอเมริกา (American Board)
 

การรักษา

รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวต้องใช้หลายมิติร่วมกัน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทีมแพทย์ซึ่งประกอบด้วยอายุรแพทย์โรคหัวใจและศัลยแพทย์ทรวงอก รวมถึงทีมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ ทำงานสอดประสานร่วมกันอย่างใกล้ชิด 
 
โปรแกรมการรักษาครอบคลุมตั้งแต่ผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการไปจนถึงผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงดังนี้
  • ผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ  ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแต่มีปัจจัยเสี่ยง สามารถพบแพทย์เพื่อควบคุมความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้โครงสร้างของหัวใจผิดปกติจนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว แพทย์จะใช้ยาและคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการแต่ยังไม่รุนแรง  ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการเช่น เหนื่อยง่ายขึ้น ขาบวมเท้าบวมกดมีรอยบุ๋ม อ่อนเพลีย และอื่นๆ แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาและการช่วยให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ดีที่สุด ตั้งแต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย  นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย แพทย์จะทำการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร สำหรับผู้ป่วยที่พบว่ามีสาเหตุจำเพาะแพทย์จะทำการรักษาเพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุ เช่น การสวนหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน  การเปลี่ยนหรือซ่อมลิ้นหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาถึงแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมใด นอนราบไม่ได้ เคยต้องได้รับยากระตุ้นหัวใจ นอนโรงพยาบาลบ่อย หลังจากแพทย์รักษาด้วยยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ในรายที่เหมาะสมกับการผ่าตัด แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ (Heart transplant) หรือการผ่าตัดใส่หัวใจเทียม (LVAD: Left Ventricular Assist Device/RVAD: Right Ventricular Assist Device)
 

การติดตามเฝ้าระวังอาการ

พยาบาลเฉพาะทางผ่านการฝึกอบรมด้านการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉพาะ เฝ้าติดตามประเมินอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอดเส้นทางการรักษา ทั้งขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลรวมถึงระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติที่บ้าน  


โภชนาการ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ นักโภชนาการ ให้คำแนะนำการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มอย่างเหมาะสมโดยมีการติดตามผลในระยะยาวเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมและมีอาการที่ดีขึ้น
 

การออกกำลังกาย เพื่อหัวใจที่แข็งแรง

ทีมแพทย์เวชศาสตร์เฉพาะทางด้านฟื้นฟูหัวใจ แนะนำผู้ป่วยโรคหัวใจให้ “ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์แก่หัวใจ” ภายใต้คำแนะนำและการตรวจสมรรถภาพร่างกายที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล
 

การใช้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

เภสัชกรคลินิกเฉพาะทาง ทำงานร่วมกับแพทย์อย่างใกล้ชิดในการใช้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
 



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 23 มีนาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs