bih.button.backtotop.text

อาการปวดหัวที่ปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

ปวดศีรษะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกพบบ่อยคือปวดศีรษะเกิดจากชนิดที่ไม่มีรอยโรค เช่นไมเกรน กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะเกร็งตัว สำหรับไมเกรนถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเมื่อเป็นถี่ขึ้นมากขึ้นจะกลายเป็นไมเกรนเรื้อรัง ทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น



ปวดศีรษะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกพบบ่อยคือปวดศีรษะเกิดจากชนิดที่ไม่มีรอยโรค เช่นไมเกรน กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะเกร็งตัว สำหรับไมเกรนถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเมื่อเป็นถี่ขึ้นมากขึ้นจะกลายเป็นไมเกรนเรื้อรัง ทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น แล้วมีผลกระทบต่อตัวคนไข้เองทั้งชีวิตการทำงาน ทั้งต่อชีวิตของครอบครัว ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือเป็นปวดศีรษะที่เกิดจากชนิดที่มีรอยโรค ยกตัวอย่างเช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองผิดปกติ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้นานการรักษาจะยากยิ่งขึ้น อาจจะให้ผลการรักษาไม่ดีเท่ากับการรักษาตั้งแต่ในระยะแรก

วิธีการรับมือกับการปวดศีรษะให้สังเกตอาการปวดศีรษะของตัวเองว่ามีลักษณะแบบนี้หรือเปล่า เช่น ปวดมากขึ้น ปวดถี่ขึ้น ทานยาแก้ปวดแล้วไม่หาย หรือมีอาการอื่นประกอบ ยกตัวอย่าง เช่น ตามองภาพซ้อนลานสายตาผิดปกติ เมื่อเป็นแบบนี้แล้วควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาและวินิจฉัยที่ถูกต้อง หากปวดศีรษะจากไมเกรนปัจจุบันมีการรักษาที่ก้าวหน้าไปมากเรามียาฉีดเพื่อลดความถี่ของอาการปวดศีรษะ เรามีการใช้โบท็อกลินุ่มท็อกซิน ฉีดรอบ ๆ   ศีรษะเพื่อลดอาการปวดศีรษะ หรือใช้ทั้ง 2 อย่างร่วมกัน นอกจากนี้ในรายที่ไม่ได้ผลจากการรักษา 2 อย่างข้างต้นนี้ อาจจะมีการเสริมอย่างอื่น เช่น เครื่องมือกระตุ้นเส้นประสาทที่หน้าผาก หรือการฉีดยาบล็อคเส้นประสาทที่ศีรษะด้านหลัง ซึ่งผลการรักษาต่าง ๆ   เหล่านี้ช่วยคนไข้ได้มาก นอกจากการใช้ยาแล้วการลดปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยกระตุ้น เช่นอากาศร้อน นอนไม่เพียงพอ นอนผิดเวลา การทานอาหารไม่ตรงเวลา การไม่ออกกำลังกาย การควบคุมความเครียดจะทำให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นมากไปกว่านี้อีก

นอกจากนี้การฝึกจัดการความเครียดของตัวเอง การพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้ตรงเวลา ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ จะทำให้การรักษาเสริมไปกับการใช้ยาให้ผลดียิ่งขึ้น ลดจำนวนวันการปวดศีรษะดีขึ้นไปอีก อาการปวดศรีษะอาจจะไม่ใช่เรื่องเล็กเสมอไปอาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก ๆ ซึ่งทำให้ผลการรักษาผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น
 


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 18 มีนาคม 2568

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs