bih.button.backtotop.text

แม่นยำ ปลอดภัย มั่นใจ กับการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถี 3 มิติ

แม่นยำ ปลอดภัย มั่นใจ กับการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถี 3 มิติ
          เมื่อคุณหรือคนใกล้ชิดจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง และต้องมีการยึดด้วยอุปกรณ์ โลหะ ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับการผ่าตัดเพิ่มขึ้น บทความนี้จะเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มความปลอดภัยและ ทำให้การผ่าตัดยึดโลหะในปัจจุบันมีความแม่นยำแตกต่างจากในอดีตอย่าง มากขึ้น
 
เทคนิคดั้งเดิม
          เทคนิคดั้งเดิม คือการเปิดแผลยาวในแนวกลางหลัง และเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกจนเห็น กระดูกโล่งๆ ก่อนที่จะใส่สกรูเข้าไปยึดกระดูกสันหลัง ซึ่งความปลอดภัยของเทคนิคนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์เป็นสำคัญ ณ ปัจจุบัน วิธีนี้ยังถือว่าเป็นมาตรฐานทั่วโลก ในปัจจุบันวงการแพทย์ให้การยอมรับการรักษาด้วยวิธีนี้ว่ามีอัตราความสำเร็จที่น่าพึงพอใจ
 
การใช้เครื่องเอ็กซเรย์ 2 มิติช่วยในการผ่าตัด
          ในยุคต่อมา ได้มีการนำเครื่องเอ็กซเรย์ 2 มิติเข้ามาช่วยในระหว่างผ่าตัด เพื่อทำให้ไม่ต้องเปิดแผล ใหญ่มาก แต่มีข้อด้อยคือ การได้รับปริมาณรังสีที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากภาพที่ได้เป็น 2 มิติ จึงจำเป็นต้อง ถ่ายภาพเอ็กซเรย์หลายครั้งในระหว่างผ่าตัด ยิ่งไปกว่านั้นคือ บุคลลากรในห้องผ่าตัดที่ต้องทำการผ่าตัดบ่อยๆ ปีละหลายร้อยราย จะได้รับรังสีสะสมปริมาณสูง
 
ทำไมต้อง 3มิติ
 
Figure-1.png

เครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถีจะแสดงภาพเครื่องมือผ่าตัดและภาพกระดูกสันหลังแบบเรียลไทม์
 
          รอบๆ กระดูกสันหลังมีอวัยวะสำคัญเช่น เส้นประสาท และเส้นเลือดต่างๆ อยู่โดยรอบ ความปลอดภัย และความแข็งแรงในการยึดสกรูขึ้นอยู่กับว่าเรายึดสกรูอยู่ในกระดูกได้แม่นยำแค่ไหน การเห็นภาพกระดูกทั้ง 3มิติจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการยึดสกรูอย่างมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่กระดูก มีขนาดเล็กเป็นพิเศษ หรือเมื่อเป็นการผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย
 
ระบบคอมพิวเตอร์นำวิถี 3มิติทำงานอย่างไร
          หลักการทำงานเหมือนการทำงานของระบบ GPS ในรถยนต์ โดยใช้เครื่องสแกน 3 มิติ ในระหว่าง การผ่าตัด คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลมาคำนวณแล้วแสดงภาพขึ้นบนจอ แพทย์จะเห็นภาพ ทั้งเครื่องมือผ่าตัดและกระดูกของคนไข้จากในจอคอมพิวเตอร์โดยที่ไม่ต้องจำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่หรือเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูก
 
ข้อจำกัดและข้อด้อย
 
Figure-2.jpg

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถีมีส่วนช่วยให้แผลผ่าตัดเล็กลง และทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเนื่องจากความเจ็บปวดจากการผ่าตัดน้อย
 
          เนื่องจากภาพที่เห็นเป็นผลจากการคำนวณเทียบกับจุดอ้างอิงที่ติดบนตัวผู้ป่วย ดังนั้น ระหว่างการผ่าตัด หากมีกระบวนการที่ทำให้จุดอ้างอิงเคลื่อนที่ไปจากเดิมมากๆ ความแม่นยำก็จะคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งระหว่างการผ่าตัดศัลยแพทย์จะทำการตรวจเช็คอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นการสแกน 3 มิติ ผู้ป่วยจะได้รับรังสี มากกว่าการผ่าตัดด้วยเทคนิคดั้งเดิมที่ไม่ได้ใช้ระบบนำวิถี แต่ปริมาณรังสีที่ได้รับก็จะพอๆ กับการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หนึ่งครั้ง ซึ่งอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาก อย่างไรก็ดีหากท่านมีความกังวลเกี่ยวกับปริมาณรังสีก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องได้

ผลลัพธ์ที่ได้ต่างจากอดีตอย่างไร
          มีวารสารทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติมากมายที่รายงานความแม่นยำของการใส่สกรู ด้วยระบบคอมพิวเตอร์นำวิถี ซึ่งส่วนใหญ่รายงานความแม่นยำที่เกินกว่า 90%ขึ้นไป นอกจากนั้นยังช่วย ลดการกลับมาผ่าตัดซ้ำครั้งที่สองเพื่อแก้ไขสกรูที่ใส่ไม่แม่นยำอีกด้วย
 
มาตรฐานความปลอดภัยในระดับบำรุงราษฎร์
          ที่บำรุงราษฎร์ เราเริ่มใช้คอมพิวเตอร์นำวิถีช่วยในการใส่สกรูเป็นมาตรฐานมาแล้วตั้งแต่ปี 2013 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกควบคุมโดยนักรังสีเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น จนถึงปัจจุบัน ได้มีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 800 ราย หรือมากกว่า 3,000 สกรู โดยมีอัตรา ความแม่นยำอยู่ที่ 99.8% นอกจากความแม่นยำที่สูงมากแล้วยังทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงได้ รวมถึงลดความเจ็บปวดจากการผ่าตัดและยังช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วย
ในโรงพยาบาลใหญ่ๆที่มีการผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังอย่างสม่ำเสมอในประเทศไทยส่วนใหญ่จะ
ลงทุนซื้อเครื่องนี้ไว้เพื่อยกระดับความปลอดภัยอยู่แล้ว หากจำเป็นต้องมีการผ่าตัดยึดสกรู ลองปรึกษา แพทย์ประจำตัวของท่านดู หรือจะโทรมาสอบถามที่บำรุงราษฎร์ก็ได้ครับ


เกี่ยวกับผู้เขียน

  DrWithawin.jpg

หมอเข้ม หรือ น.พ. วิธวินท์ เกสรศักดิ์ เรียนจบเฉพาะทางทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ ที่ร.พ. รามาธิบดี และได้ไปเรียนต่อยอดด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยการส่องกล้องเอ็นโดสโคปที่ประเทศเยอรมนี และประเทศอังกฤษ ปัจจุบันนอกจากหมอเข้มจะทำงานเป็นศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลังประจำที่ร.พ.บำรุงราษฎร์ แล้วยังเป็นแพทย์ผู้ฝึกสอนการผ่าตัดด้วยเทคนิคเอ็นโดสโคปในประเทศเยอรมนี และเป็นผู้บรรยายอิสระให้กับ AOspine ซึ่งเป็นองค์กรการศึกษาแบบไม่แสวงผลกำไรในระดับนานาชาติอีกด้วย
 


สถาบันกระดูกสันหลังบำรุงราษฎร์
ชั้น 20 อาคารเอ (A) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
8.00-20.00  (BKK Time)
Hot line tel. +662 011 3091
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 12 กรกฎาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs