bih.button.backtotop.text

ทุกปัญหาเรื่องข้อ รักษาได้ด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น

19 ตุลาคม 2564

PRP treatment หรือการักษาด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้นสูง โดยใช้เลือดของเราเอง เป็นทางเลือกในการรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น การอักเสบของผิวข้อเข่าหรือข้อเข่าเสื่อม เพื่อบรรเทาอาการอักเสบหรือบาดเจ็บ โดยไม่ต้องผ่าตัด มีความปลอดภัยสูงและสามามารถฉีดซ้ำได้

AW-PRP-Treatment_1920x1080-(1).jpg
PRP คืออะไร

PRP (Platelet Rich Plasma) คือการรักษาด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดที่มีเข้มข้นสูงกว่าระดับปกติ โดยการนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยเพียงเล็กน้อยมาปั่นเพื่อแยกเกล็ดเลือดและพลาสมาออกมา หลังจากนั้นแพทย์จะนำเกล็ดเลือดและพลาสมาที่ได้มาจากการปั่นจนมีความเข้มข้นสูง ฉีดกลับเข้าไปในบริเวณที่บาดเจ็บ ช่วยรักษาอาการเจ็บปวดและเร่งการฟื้นฟูสภาพร่างกาย


การรักษาด้วย PRP มีข้อดีอย่างไร

การนำเกล็ดเลือดและพลาสมามาปั่น ทำให้ได้เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ซึ่งภายในประกอบด้วย Growth factor ต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกายบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ
 

PRP เหมาะกับใครบ้าง
  • อาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม
  • มีอาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ข้อเข่าอักเสบ
  • มีอาการบาดเจ็บและความเสื่อมของเส้นเอ็น เช่น Tennis elbow และ Golfer elbow
  • เคยรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด กินยาหรือฉีดสเตียรอยด์แล้วไม่ดีขึ้น 
 
ใช้เวลาในการรักษานานเท่าไร

โดยปกติแพทย์จะทำการฉีด PRP ทั้งหมด 3 เข็ม ห่างกันเข็มละหนึ่งสัปดาห์ ในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ผลของการรักษาอยู่ได้นานประมาณ 6 -12 เดือน และสามารถฉีดซ้ำได้

การรักษาด้วยเกล็ดเลือดมีความปลอดภัยสูงเพราะใช้เลือดของตัวผู้ป่วยเองในการเยียวยาอาการบาดเจ็บให้หายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามการฉีด PRP ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ จึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ที่ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทาง ในแต่ละด้านเป็นผู้ทำหัตถการฉีด PRP จึงมั่นใจได้ในความชำนาญและประสบการณ์ในการฉีด PRP ได้อย่างแม่นยำตรงจุด โดยเฉพาะในเคสหรือในตำแหน่งที่ยากๆ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร.1378




 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

ทุกปัญหาเรื่องข้อ รักษาได้ด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น
คะแนนโหวต 0 of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs