bih.button.backtotop.text

รู้สึกว่าในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี

Patient Testimonial คุณเชื่อมจิต มุสิกบุตร ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ ตับและปอด


รู้สึกว่าในความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี”

คุณเชื่อมจิต เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการศัลยพยาธิวิทยา (Surgical Pathology) ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เล่าประสบการณ์การในการรักษาโรคมะเร็งระยะที่ 4 ให้กับเราฟัง การได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิดกับทีมแพทย์ผู้มีความชำนาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ ทำให้คุณเชื่อมจิตรู้สึกอุ่นใจและมั่นใจในกระบวนการรักษา

คุณเชื่อมจิตสังเกตว่าตอนแรกตัวเองมีอาการท้องเสียและท้องผูกสลับกัน และรู้สึกเหมือนถ่ายไม่เสร็จ จนกระทั่งวันหนึ่งถ่ายเป็นมูกเลือดและรู้สึกปวดท้อง จึงตัดสินใจไปพบกับแพทย์ ซึ่งได้ซักประวัติและตรวจร่างกายด้วยการส่องกล้อง ทำให้พบก้อนมะเร็งที่สำไส้ใหญ่ระยะที่สอง ขนาดประมาณสองเซ็นติเมตร แพทย์ได้ทำการผ่าตัดและรักษาด้วยการเคมีบำบัดอยู่ 6 เดือน จนหายเป็นปกติและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม

หลังจากนั้นประมาณหนึ่งปีครึ่ง คุณเชื่อมจิตมีอาการปวดเจ็บที่ชายโครงด้านขวาเวลานอนพลิกตัว จึงมาพบแพทย์อีกครั้ง เมื่อตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเพทซีที (PET-CT) ก็พบก้อนเนื้อร้ายที่ปอดและตับ แพทย์จึงได้รักษามะเร็งปอดและตับด้วยการผ่าตัด

คุณเชื่อมจิตแนะนำว่า “จริงๆเราลองหลายอย่าง เช่น  ศึกษาธรรมชาติบำบัด การออกกำลังกาย หายใจด้วยออกซิเจน มันไม่และฉายแสง คุณเชื่อมจิตเป็นมะเร็งที่ตับซ้ำถึงสองครั้ง ในปัจจุบันไม่พบก้อนมะเร็งที่ตับแล้ว ยังเหลือมะเร็งที่ปอดที่ยังคงรักษาอยู่อย่างต่อเนื่อง


รักษามะเร็งปอด ด้วยเทคโนโลยีการรักษามะเร็งที่เฉพาะเจาะจง
คุณเชื่อมจิตได้รักษามะเร็งปอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 มาจนถึงปัจจุบัน โดยได้เปลี่ยนจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด มาเป็นการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับยามุ่งเป้า (targeted therapy) ซึ่งก่อนการรักษาด้วยยามุ่งเป้า แพทย์ได้นำชิ้นเนื้อมะเร็งส่งตรวจยีนกลายพันธุ์ และเลือกยามุ่งเป้าที่เข้าได้กับยีนกลายพันธุ์นั้น

หลังจากใช้ยามุ่งเป้าประมาณ 2 ปี คุณเชื่อมจิตเริ่มดื้อยา แพทย์จึงได้เปลี่ยนมาเป็นการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น  เมื่อคุณเชื่อมจิตเริ่มดื้อยาอีกครั้ง แพทย์จึงได้เปลี่ยนเป็นการรักษาด้วยยายับยั้งไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitors: TKI) ซึ่งเป็นกลุ่มยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไคเนสเพื่อลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยให้ก้อนมะเร็งไม่ขยายมากขึ้นจนเกินไป คุณเชื่อมจิตเล่าว่า “อาจารย์ที่นี่ update ยาเร็วมาก ทำให้เรามีตัวเลือกยาเยอะพอสมควร และอาจารย์จะคอยดูว่าให้ยาอะไร มีผลข้างเคียงแบบไหน มีอะไรที่ต้องระวัง”


ประทับใจในการดูแลเอาใจใส่และการทำงานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ
คุณเชื่อมจิตได้รักษากับแพทย์หลายท่าน  เช่น นพ. ณรงศักดิ์ เกียรติขจรธาดา อายุรแพทย์โรคมะเร็ง พญ. สุธิดา สุวรรณเวโช อายุรแพทย์โรคมะเร็ง นพ. รชานนท์ มูรธานันท อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม รศ.ทพ. ภัททพล อัศวนันท์ ทันตแพทย์และพญ. อรพิน ธนพันธุ์พาณิชย์  คุณเชื่อมจิตกล่าวว่า “ประทับใจอาจารย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางแต่ละท่าน ที่ทำงานร่วมกันและพร้อมช่วยเราเต็มที่ทุกคน เช่น การฉายแสง อาจารย์จะดูแล้วดูอีกว่าทำได้ไหม เพื่อไม่ให้พี่ suffer จากคีโมมากเกินไป.. เราได้หมอเฉพาะทางที่มีความรู้จริงๆ เพราะพี่เข้า ICU สองสามรอบ ครั้งหนึ่งฮอร์โมนคอร์ติซอลต่ำ แต่ยังหาสาเหตุไม่เจอ  หากไปเจอหมอไม่เก่ง ฉีดอัดโซเดียมเข้าไป มีโอกาสที่จะเป็นอัมพาต นอกจากนี้บำรุงราษฎร์ยังมี Tumor board ที่อาจารย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งมาประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์เคสผู้ป่วยมะเร็งและดูแลรักษาร่วมกัน อย่างเคสของพี่ก็เข้า Tumor board…น้องพยาบาลทุกคนก็ดูแลดีมาก”

หายแค่ควบคุมได้ ยังไงตัวหลักก็ยังเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน อยากบอกว่าหากเป็นโรคสำคัญให้มาที่บำรุงราษฎร์ มีทั้งยาดีและหมอดี มีทีมที่มาช่วยดูแล โอกาสรักษาพลาดมีน้อยด้วยความที่อาจารย์เป็นมืออาชีพ”
 



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 24 ตุลาคม 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs