bih.button.backtotop.text

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดต้องผ่าตัดหลังทารกเกิดออกมาเลยหรือไม่?

03 กันยายน 2567

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดต้องผ่าตัดหลังทารกเกิดออกมาเลยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็น มาฟังรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดย นพ. ปรีชา เลาหคุณากร แพทย์ชำนาญการเฉพาะทางกุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ


โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดต้องผ่าตัดหลังทารกเกิดออกมาเลยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่เป็น ถ้ามีอาการที่ไม่รุนแรงมาก ก็สามารถรอได้ สาเหตุที่รอ เพราะว่าบางชนิดสามารถหายด้วยตัวเอง สำหรับคนที่มีอาการรุนแรง มีอาการหัวใจวายหรือว่าเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่พอ มักมีความจำเป็นต้องรีบผ่าตัด ซึ่งสามารถผ่าตัดได้ตั้งแต่แรกเกิด

การรักษาโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด มีอยู่ 2 วิธี วิธีหนึ่งคืออาศัยการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งจะต้องมีการเปิดหน้าอกและก็ใช้เครื่องปอดเทียม หัวใจเทียม เพื่อจะได้สามารถหยุดหัวใจได้ หมอผ่าตัดจะได้ลงไปซ่อมแซ่มส่วนที่ผิดปกติได้ อีกวิธีนึง ซึ่งไม่ต้องอาศัยการผ่าตัด โดยเราสามารถใช้สายยางเล็กๆ สวนเข้าไปในเส้นเลือดใหญ่ของร่างกายไปถึงหัวใจ และจากสายยางนั้น เราสามารถที่จะใส่บอลลูนเพื่อจะขยายลิ้นหัวใจที่ตีบหรือเราสามารถใส่เครื่องมืออุดรูรั่วเข้าไปภายในหัวใจได้ การใช้วิธีนี้ ทำได้เฉพาะบางโรคเท่านั้นที่ไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ ซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียดของความผิดปกติที่เป็นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีเฉพาะลิ้นหัวใจที่ตีบมากๆ เราสามารถใส่สายสวนเข้าไปเพื่อที่จะขยายลิ้นได้ แต่ถ้าสมมุติว่ามีความผิดปกติอย่างอื่นที่เราต้องแก้ไข อย่างเช่น ไปตัดต่อเส้นเลือดหรือไปเพิ่มเติมเส้นเลือด ก็ต้องอาศัยการผ่าตัด


 



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs