bih.button.backtotop.text

รู้ทันความเสี่ยงโรคหัวใจ ตอน ภาวะน้ำหนักเกิน

17 กันยายน 2567

ภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะโรคอ้วนเป็นปัญหาที่สำคัญของโลกในยุคปัจจุบัน ในประเทศไทยคาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยมากถึง 30%ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน



ภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะโรคอ้วนเป็นปัญหาที่สำคัญของโลกในยุคปัจจุบัน ในประเทศไทยคาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยมากถึง 30%ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ในการวินิจฉัยภาวะอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินเราใช้ค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI  ที่เกิน 25  จัดว่าเป็นภาวะน้ำหนักเกิน ถ้าเกิน 30 จัดว่าเป็นโรคอ้วน และถ้า BMI มากกว่า 35 ร่วมกับมีโรคร่วมคือ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวานและโรคหัวใจ จัดว่าเป็นภาวะอ้วนรุนแรง นอกเหนือจากการใช้ค่า BMI เราจะใช้ค่าเส้นรอบเอวในเพศชายที่เกิน 90 เซนติเมตรและเกิน 80 เซนติเมตรในเพศหญิงจัดว่ามีภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งยิ่งมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นถึง 3-5 เท่า

โรคอ้วนนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากไขมันที่สะสมในชั้นช่องท้อง นำไปสู่ภาวะฮอร์โมนที่ผิดปกติ ไขมันเหล่านี้จะสะสมในหลอดเลือดหัวใจและเส้นสมอง นำไปสู่โรคหัวใจในอายุน้อย แล้วหลอดเลือดสมองตีบด้วย นอกเหนือจากโรคหัวใจและสมองตีบ ภาวะอ้วนยังนำไปสู่การนอนกรนและการหายใจอุดกั้นซึ่งทำให้เกิดวงจร Vicious Cycle วงจรอุบาทว์ เนื่องจากภาวะนอนกรน จะยิ่งทำให้ความดันสูง ภาวะความดันสูงยิ่งทำให้อ้วน และภาวะอ้วน ยิ่งทำให้นอนกรนเหล่านี้ทำให้คนไข้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินไม่หายขาดจากโรคหัวใจและหลอดเลือดสักที การรักษาโรคอ้วนในปัจจุบัน มี 3 อย่างที่ต้องทำควบคู่กันไป  อันที่ 1  คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารและการออกกำลังกาย อันที่ 2 คือการใช้ยาที่ช่วยในการลดน้ำหนัก และอันที่ 3 คือการผ่าตัดกระเพาะอาหาร หรือ Bariatric surgery ซึ่งมีผลในการช่วยลดน้ำหนักได้อย่างถาวรมากที่สุดรวมทั้งป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากที่สุดด้วย  

สำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน อย่านิ่งนอนใจควรจะเข้ามารับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงเบาหวานและโรคหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองในอนาคต  



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs