You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
ตัวคัดกรองที่เลือก: ทั้งหมด
ประเภท : ทั้งหมด
ล้างทั้งหมด
โรคข้อเสื่อมก็เป็นโรคที่หมายถึง ข้อรับน้ำหนักมีการเสื่อม ข้อเสื่อมในที่นี้ หมายถึงข้อสะโพกและข้อเข่า พบได้เมื่ออายุมากเกิน 45-60 ปี ในคนชาวไทยก็มักจะเป็นข้อเข่า อาจจะเริ่มต้นจากฝืดขัดแข็ง ลุกลำบาก จนกระทั่งเริ่มมีการผิดรูปของข้อเข่าเช่นขาโก่งหรือขาเก
ข้อเข่าเสื่อมคือภาวะที่มีการเสื่อมหรือการสึกกร่อนของกระดูกบริเวณข้อเข่า ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างเช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี กล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงเข่ามีอาการอ่อนแรง น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น
สาเหตุของอาการปวดข้อสะโพกที่อาจจะพบได้บ่อยมากที่สุดคือ การเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น แตกต่างจากการออกกำลังกายหรือจากการใช้งาน ซึ่งการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อเส้นเอ็นต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุที่รุนแรงสามารถรักษาหายได้โดยการทานยาหรือว่าการพักผ่อน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่มีความรุนแรงมักเกิดเป็นเวลายาวนาน จะเริ่มเจ็บขึ้นมาทีละนิด ยาวนานเป็นเดือน รักษาโดยการกินยาจะทำให้อาการดีขึ้นแต่ไม่สามารถทำให้ตัวโรคนั้นมันหายไป
ความแตกต่างระหว่างการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าบางส่วน กับ เปลี่ยนผิวข้อเข่าทั้งข้อ คือ หากข้อเข่าเสื่อมเฉพาะส่วนก็จะเปลี่ยนผิวข้อบางส่วน และหากเสื่อมทั้งข้อก็จะเปลี่ยนข้อเข่าทั้งข้อ แพทย์เป็นผู้ประเมินอาการเสื่อมว่าเป็นมากหรือเป็นน้อย โดยดูจากภาพเอกซเรย์และภาพถ่าย MRI ประกอบว่ายืนยันว่าข้อเข่าคนไข้เสื่อมเฉพาะส่วนจริงๆ หรือทั้งข้อ
การผ่าตัดแก้ไขข้อเทียมที่เคยผ่าตัดมาแล้ว ข้อเทียมทุกอย่างสามารถเกิดปัญหาขึ้นได้ เพราะว่าข้อเทียมนั้น ไม่ใช่เป็นอวัยวะและไม่ได้มีชีวิตเพราะฉะนั้นการซ่อมแซมของตัวเองของข้อเทียม มันไม่มี และการป้องกันการติดเชื้อของข้อเทียมจะน้อยลง สาเหตุสำคัญ คือข้อเที่ยมนั้นใช้มานานจนมันเสื่อมสภาพและทำให้ข้อเทียมนั้นหลวมไป รวมถึงเรื่องการติดเชื้อไม่จำเป็นต้องผ่าตัดมาแล้วนานมันติดเชื้อขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ หรือมีการเคลื่อนหรือมีการเลื่อนหลุดของตัวข้อเทียมอาจจะด้วยสาเกตุ กระดูกหักจากอุบัติเหตุหรืออะไรต่างๆ เป็นต้น
ผ่าตัดข้อเข่าเทียมมี 2 แบบ คือการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งซีกหรือเปลี่ยนผิวข้อบางส่วน(Partial Knee Replacement) เหมาะกับผู้ป่วยโรคข้อในระดับสึกเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง และ เปลี่ยนผิวข้อทั้งหมด(Total Knee Replacement) เหมาะกับผู้ป่วยที่มีผิวข้อสึกมากกว่า 1 ส่วนขึ้นไป Minimaly investige surgery หรือการผ่าตัดแบบแผลเล็กผสมผสานกับเทคนิคการคุมปวดที่เรียกว่า Minimal Pain Arthroplasty การคุมปวดแบบพิเศษ Opioid Anesthesia คือใช้ยาแก้ปวดกลุ่มพวกโอปิออยด์ หรือว่ามอร์ฟีนน้อยที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากมอร์ฟีน คนไข้สามารถลุกขึ้นเดินได้ภายใน 10 ชั่วโมงหลังผ่าตัด
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยแพทย์ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม ข้อดีและประโยชน์ของการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม เรื่องแรก คือ มีความแม่นยำไม่ว่าจะเป็นการกรอกระดูก การตัดกระดูก วางตำแหน่งของข้อเทียม และช่วยลดโอกาสในการเสียเลือดให้น้อยลง อีกทั้งยังช่วยการวางตำแหน่งของข้อเทียมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย
ศ.นพ. อารี ตนาวลี แพทย์ศัลยกรรมกระดูกเฉพาะทางด้านข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม ผู้มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคข้อเข่าและข้อสะโพกซึ่งเป็นข้อที่รับน้ำหนักของร่างกาย ทำการรักษาเฉพาะกลุ่มโรคข้อรับน้ำหนักที่เป็นข้อเสื่อมซึ่งมีช่วงเวลาของการเป็นโรคที่ยาวนาน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยที่ไม่เหมือนเดิม
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ การที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุหมายความว่าผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้นกว่าเดิม แต่ความจริงข้อนี้มิได้สะท้อนถึงระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแต่อย่างใด การมีชีวิตยืนยาวและเปี่ยมสุขเป็นพรอันประเสริฐประการหนึ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมไม่ว่าจะเนื่องด้วยสาเหตุใดก็ตาม ความเสี่ยงในการที่จะกลายเป็นผู้พิการทุพพลภาพย่อมมากขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเสื่อมยังคงรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีไว้ได้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจึงเป็นทางเลือกที่ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมระยะรุนแรง