bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (ACL) ฉีกขาด

การผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดนับเป็นวิธีการรักษาที่ใช้บ่อย มีเป้าหมายเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกหน้าแข้งเคลื่อนที่ไปข้างหน้ามากเกินไปเนื่องจากจะส่งผลเสียต่อกระดูกอ่อน และเพื่อให้หัวเข่ากลับมาทำงานได้ตามปกติ

การผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด

สำหรับการรักษา แพทย์จะนำเส้นเอ็นส่วนที่ขาดออกไปและนำเส้นใหม่มาใส่แทนที่ ทั้งนี้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เทคนิคการผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยได้มีการปรับปรุงเทคนิคและทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ง่ายขึ้น ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องนับเป็นกระบวนการที่มีวิวัฒนาการอย่างมากเพื่อการผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด

โดยปกติแล้วการผ่าตัดรักษาเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาดมี 3 วิธีหลักๆ คือ single-bundle, double-bundle และ selective bundle

  • Single-bundle ACL reconstruction แพทย์มักเลือกใช้วิธีนี้ในบริเวณที่ไม่จำเป็นต้องมีการหมุน หรือเมื่อสภาพร่างกายผู้ป่วยมีข้อจำกัด เช่น เป็นการผ่าตัดซ้ำสองหลังจากที่การผ่าตัดเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าครั้งแรกไม่ประสบผลสำเร็จ
  • Double-bundle ACL reconstruction วิธีนี้เป็นมาตรฐานใหม่ของการรักษา มีหลักฐานสนับสนุนจากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าวิธีนี้สามารถทำให้ส่วนที่ต้องหมุนมีความแข็งแรงขึ้นได้มากกว่าวิธี single-bundle (Am J Sports Med 2010;38(1):25 และ Am J Sports Med 2008;36(2):290)
  • Selective bundle reconstruction ในกรณีที่มีหลายส่วนได้รับบาดเจ็บ ไม่จำเป็นต้องนำเอาเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าออกทั้งหมด แต่จะเป็นเพียงส่วนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น วิธีการนี้จะเป็นการรักษาเส้นใยธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยรักษาตำแหน่งของหน้าแข้งและการทำงานของกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กับกระดูกขา (Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc 2010;18:47–51)
  • ความเสี่ยงจากการได้รับยาสลบ
  • อาการขาชาหรืออ่อนแรงจากการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
  • เลือดออกระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด
  • อันตรายที่อาจเกิดกับอวัยวะใกล้เคียงระหว่างผ่าตัด เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด และข้อเข่า
  • การติดเชื้อที่กระดูกหรือข้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทันทีหรือในภายหลัง
  • งดน้ำและอาหารประมาณ 6–8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  • ควรหยุดรับประทานยาแอสไพรินและยาละลายลิ่มเลือดชนิดอื่นๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยาทุกชนิดที่ใช้อยู่
  • การทำกายภาพก่อนการผ่าตัดจะช่วยให้เข่ากลับมาใช้งานเหมือนเดิมได้เร็วขึ้น ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดในขณะที่เข่าปวด บวม มักจะมีปัญหาในการฟื้นฟูสภาพของเข่าหลังจากการผ่าตัด

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 7.87 of 10, จากจำนวนคนโหวต 47 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง