bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดส่องกล้องเลาะเส้นเอ็นที่ยึดเพื่อแก้ไขไหล่ติด

การผ่าตัดส่องกล้องเลาะเส้นเอ็นที่ยึดเพื่อแก้ไขไหล่ติด (arthroscopic capsular release) เป็นวิธีผ่าตัดโดยใช้กล้องสำหรับอวัยวะที่เป็นข้อเพื่อตัดผ่านส่วนที่เป็นพังผืด ทำให้ข้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ

เพื่อผ่าตัดส่องกล้องเลาะเอ็นที่ยึดสำหรับแก้ไขอาการไหล่ติด

ความเสี่ยงที่อาจเกิดเมื่อผ่าตัดโดยวางยาสลบ ได้แก่ ปัญหาด้านการหายใจและหัวใจ เกิดลิ่มเลือดและมีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่อยาสลบ ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดแก้ไขไหล่ติด ได้แก่ ไหล่กลับมาติดอีกครั้งหนึ่ง ติดเชื้อและประสาทถูกทำลาย

ความสำเร็จจากการทำหัตถการขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

 

หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น

อาการไหล่ติดไม่สามารถหายได้เอง หากปล่อยไว้อาการจะยิ่งแย่จนในที่สุดผู้ป่วยจะไม่สามารถเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้เลย

แพทย์มักเริ่มรักษาอาการไหล่ติดโดยให้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ยากลุ่มสเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) ให้ประคบร้อนหรือใช้ความร้อนบำบัดที่หัวไหล่และให้บริหารยืดกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจประคบเย็นและรับประทานยาหรือฉีดยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ การทำกายภาพบำบัดจะช่วยเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวให้มากขึ้นได้ หากรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นอาจจำเป็นต้องผ่าตัด การผ่าตัดวิธีหนึ่งที่แพทย์อาจใช้รักษาคือวิธีดัดดึงขณะผู้ป่วยถูกวางยาสลบ (manipulation under anesthesia: MUA) ซึ่งแพทย์จะดัดและยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่ที่ยึดขณะผู้ป่วยหลับไปเพราะฤทธิ์ยาสลบ

แก้ไขล่าสุด: 08 ธันวาคม 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและข้อ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs