bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ คือ การผ่าตัดเพื่อให้ทราบว่ามีการกระจายของโรคมะเร็งเต้านมมายังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับแผนการรักษาและการพยากรณ์โรค

จุดประสงค์ของการทำหัตถการ
เหตุผลหลักที่ต้องมีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้เนื่องจากมะเร็งเต้านมจะมีการแพร่กระจายมายังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ก่อนการกระจายไปที่อื่น ดังนั้นการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จึงสามารถบอกความรุนแรงของโรคมะเร็งว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ และยังเป็นการผ่าตัดนำต่อมน้ำเหลืองที่มีการกระจายของโรคออกไปจากร่างกายด้วย
 
ศัลยแพทย์สามารถตัดสินใจจากผลการตรวจต่อมน้ำเหลืองด้วยวิธี frozen section ว่าจะทำการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมดตามวิธีมาตรฐานในกรณีที่พบว่ามีการกระจายของมะเร็งมายังต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลแล้ว หรือจะหยุดการเลาะต่อมน้ำเหลืองในกรณีที่พบว่าไม่มีการกระจายของมะเร็งมายังต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล เนื่องจากการเลาะต่อมน้ำเหลืองออกไปน้อยจะลดโอกาสการเกิดแขนบวม (seroma) และอาการชาบริเวณท้องแขน

การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ
  1. การเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกทั้งหมด (axillary lymph node dissection) เป็นวิธีมาตรฐานดั้งเดิม คือ การผ่าตัดโดยเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกไปทั้งหมด ทำไปพร้อมๆ กับการผ่าตัดเต้านม ซึ่งโดยทั่วไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จะมีอยู่ประมาณ 10-50 ต่อม เหตุที่ต้องเลาะเอาต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกไปทั้งหมดเนื่องจากไม่ทราบว่ามะเร็งจะกระจายมายังต่อมน้ำเหลืองต่อมใดบ้าง จึงจำเป็นต้องนำต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดที่รักแร้ออกมาตรวจ
  2. การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (sentinel lymph node biopsy) เป็นวิธีใหม่ ช่วยในการพิสูจน์ว่าผู้ป่วยมีการกระจายของโรคมายังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้หรือไม่ ด้วยหลักฐานทางการแพทย์ที่มีการพิสูจน์แล้วว่ามะเร็งทั้งหลายจะมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในรูปแบบที่แน่นอน โดยมีการเคลื่อนตัวของเซลล์มะเร็งไปเป็นลำดับ โดยไปยังต่อมที่หนึ่ง จากนั้นจึงกระจายไปยังต่อมที่สอง สาม สี่ ฯลฯ ไปเรื่อยๆ ด้วยหลักการดังกล่าว หากสามารถหาต่อมน้ำเหลืองต่อมแรกที่รับน้ำเหลืองจากมะเร็งได้พบ ซึ่งเรียกว่าต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (sentinel lymph node) ก็จะสามารถบอกได้ว่ามีการกระจายโรคของมะเร็งมายังต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ ซึ่งในการผ่าตัด หากสามารถนำต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลมาพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการกระจายของมะเร็งมา ก็ไม่มีความจำเป็นในการเลาะต่อมน้ำเหลืองที่เหลือออก

 
  • อาการปวดบริเวณที่ผ่าตัด ซึ่งอาการปวดขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาเพื่อระงับอาการปวด
  • การติดเชื้อ เกิดอาการอักเสบ บวม แดง ปวด และมีของเหลวไหลออก
  • แผลหายช้า ขอบแผลอาจขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงและเปลี่ยนสี
  • รู้สึกตึงๆ หน้าอก แขนข้างที่ผ่าตัดมีแรงน้อยลงและมีอาการชา เนื่องมาจากเส้นประสาทบางส่วนถูกตัดขาดระหว่างการผ่าตัด โดยอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร
  • มีอาการบวมแขนข้างที่ผ่าตัด เนื่องจากแพทย์ตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้บางส่วนออก
โอกาสสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและทางเลือกอื่นในการรักษา
 
การดูดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ ในกรณีที่คลำต่อมน้ำเหลืองในรักแร้ได้
 
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs