bih.button.backtotop.text

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง Cardiac Resynchronization Therapy (CRT)

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง Cardiac Resynchronization Therapy (CRT) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวโดยช่วยกระตุ้นหัวใจห้องล่างซ้ายและด้านล่างขวาเพื่อให้บีบตัวในจังหวะที่ประสานกันและบีบตัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการผ่าตัดที่มีแผลเล็กอยู่บริเวณหน้าอกด้านบนใต้กระดูกไหปลาร้า

ประโยชน์

1.    เพื่อบรรเทาอาการโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นภาวะที่หัวใจบีบตัวอ่อนแรงกว่าที่ควร ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ โดยเครื่องจะช่วยให้การบีบตัวของหัวใจห้องล่างทำงานสัมพันธ์กันดีขึ้น

2.    ช่วยให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น หัวใจทำงานดีขึ้น ผู้ป่วยมีโอกาสออกกำลังกายได้มากขึ้น

3.  ช่วยลดจำนวนครั้งที่ผู้ป่วยต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรง

มี 2 ชนิด ช่วยทำให้หัวใจบีบตัวในจังหวะที่สัมพันธ์กันและทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

1.    เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ cardiac resynchronization therapy (CRT) ชนิดธรรมดา (cardiac resynchronization therapy pacemaker: CRT-P)

2.    เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ cardiac resynchronization therapy (CRT) ชนิดเป็นเครื่องกระตุกหัวใจร่วมด้วย (cardiac resynchronization therapy defibrillator: CRT-D)

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ cardiac resynchronization therapy defibrillator (CRT-D) สามารถรับรู้เมื่อหัวใจเต้นเร็วเกินไปที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและสามารถปรับจังหวะให้เป็นปกติได้ โดยมากแพทย์มักแนะนำให้ใช้เครื่อง cardiac resynchronization therapy defibrillator (CRT-D) ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยควรใช้เครื่องชนิดใดจึงจะเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเข้ารับการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ cardiac resynchronization therapy (CRT) ได้แก่

  1. มีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดที่เกิดจากการมีเลือดออกและคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง หรือติดเชื้อบริเวณที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  2. มีอาการแพ้ยาที่ได้รับระหว่างการใส่เครื่อง
  3. หลอดเลือดได้รับความเสียหาย
  4. ปอดแฟบ
  5. มีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
  6. เกิดลิ่มเลือดอุดตันทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะอื่นซึ่งพบน้อยมาก
  7. เสียชีวิตซึ่งโอกาสเกิดน้อยมาก

การรับประทานยา

แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs