bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดแก้ไขเปลือกตา ท่อน้ำตา หรือการผ่าตัดรอบดวงตา

การผ่าตัดแก้ไขเปลือกตา ท่อน้ำตา หรือการผ่าตัดรอบดวงตา คือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขและเสริมสร้างเปลือกตา ท่อน้ำตาและเบ้าตา เพื่อให้กายวิภาคและการทำงานของอวัยวะดังกล่าวกลับเข้าสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด

การผ่าตัดเฉพาะทางเช่นนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินปัญหาและความรุนแรงของภาวะเจ็บป่วยจากศัลยแพทย์เฉพาะทางจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง (oculoplastic specialist or surgeon) ก่อน และแนะนำวิธีแก้ไขด้วยการผ่าตัดด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

ความสำคัญของเปลือกตาและท่อน้ำตา
เปลือกตาเป็นอวัยวะที่ละเอียดอ่อนและทำหน้าที่เปรียบเสมือนกำแพงที่คอยปกป้องดวงตา หากมีพยาธิสภาพที่เปลือกตาอาจส่งผลให้ดวงตาได้รับอันตราย เช่น การระคายเคือง การอักเสบ หรือการติดเชื้อได้ และถ้าเป็นในระยะเวลานานอาจส่งผลถึงการมองเห็นอย่างถาวร

ท่อน้ำตาทำหน้าที่ระบายน้ำตาที่สร้างจากต่อมน้ำตาที่อยู่บริเวณภายในของเปลือกตาด้านบน น้ำตาทำหน้าที่หล่อลื่นและชะล้างของเสียและนำพาออกจากตาลงไปสู่ทางเดินท่อน้ำตาและไปสู่โพรงจมูกในที่สุด เมื่อเกิดพยาธิสภาพของระบบท่อน้ำตาและทำให้เกิดความผิดปกติก็จะทำให้ความสามารถในการระบายน้ำเสียลดน้อยลง การผ่าตัดจะช่วยให้ความสามารถในการระบายน้ำเสียออกจากตานั้นกลับสู่ภาวะปกติ และป้องกันการติดเชื้อของระบบท่อน้ำตาและดวงตาในอนาคต
 
โรคของเบ้าตาที่พบได้บ่อย ได้แก่ เนื้องอกของเบ้าตา อาจเป็นเนื้องอกภายนอกดวงตาหรือภายในดวงตาก็ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัวเนื้องอกที่มาเบียดกดดวงตา อาจส่งผลถึงการมองเห็น ภาวะตาโปนจากโรคไทรอยด์ ในกรณีที่เป็นรุนแรงก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการผ่าตัดขยายเบ้าตา ภาวะอุบัติเหตุของกระดูกเบ้าตา ทำให้มีภาวะดวงตายุบผิดตำแหน่ง ในบางกรณีภาวะเหล่านี้จำเป็นต้องผ่าตัดเบ้าตาเพื่อแก้ไขพยาธิสภาพที่ผิดปกติให้กลับสู่ปกติให้มากที่สุด

 
  • อาการบวม ตามปกติของการผ่าตัดรอบๆ ตาจะมีอาการบวมและฟกช้ำเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาการบวมและฟกช้ำอาจถูกสังเกตว่าเกิดมากขึ้นได้ในวันที่ 2 หรือ 3 หลังผ่าตัด ในบางรายอาจเห็นบริเวณรอบเปลือกตาล่างหรือแก้มมีลักษณะมีสีคล้ำขึ้นได้ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามแรงโน้มถ่วง ทั้งนี้การใช้น้ำแข็งประคบจะทำให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นน้อยลงและหายเร็วขึ้นมาก หากผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างรุนแรงหรืออาการไม่ทุเลา ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที
  • อาการเลือดออก บางครั้งหลังการผ่าตัดอาจมีเลือดไหลซึมเป็นจุดเล็กบริเวณแผลที่เย็บได้ ผู้ป่วยอาจใช้ผ้าก๊อซบางๆ ประคบหรือกดเบาๆ ที่แผลให้เลือดหยุดไหลได้
  • กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาตัน บางครั้งอาจพบว่ามีเลือดไหลซึมจากแผลมาที่จมูกหรือกลืนลงคอได้ ผู้ป่วยอาจได้รับการติดผ้าก๊อซที่จมูกเพื่อช่วยซับเลือดได้
  • ห้ามจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง
หากมีเลือดไหลมากและไม่หยุด ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที
  • อาการอื่นๆ ได้แก่ น้ำตาไหลมากขึ้น อาการแพ้แสงสว่าง อาการคัน น้ำตามีสีแดงปนเลือด อาการตึงที่เปลือกตา ซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันๆ หากยังมีอาการดังกล่าวอยู่หรืออาการไม่ทุเลา ควรปรึกษาจักษุแพทย์ทันที
 
เมื่อใดที่ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์
  • มีอาการปวดบริเวณแผลอย่างมาก โดยไม่สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล
  • บริเวณแผลมีอาการบวมแดงอย่างมาก และ/หรือมีหนองบริเวณแผล
  • มีอาการตามัวลงอย่างชัดเจน
  • มีเลือดออกมากผิดปกติจากบริเวณแผลหรือไม่หยุดหลังจากประคบด้วยความเย็นแล้ว
  • มีอาการปวดตาร่วมกับอาการคลื่นไส้
  • มีอาการมองเห็นไฟแลบหรือมองเห็นเงาดำเป็นลักษณะฉากมืดบังการมองเห็น
ผู้ป่วยควรปรึกษาจักษุแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลที่อาจเกิดขึ้นหากไม่การรักษา
แก้ไขล่าสุด: 16 มิถุนายน 2564

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs