bih.button.backtotop.text

การตรวจจอประสาทตาด้วยการฉีดสารเรืองแสงฟลูออเรสซีนและอินโดไซยานีนกรีน

การฉีดสารเรืองแสง Fluorescein และ Indocyanine Green เป็นการทดสอบที่ทำโดยจักษุแพทย์ เพื่อจะได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับหลอดเลือดของจอประสาทตา (เยื่อบุด้านในดวงตาที่ไวต่อแสง) และเยื่อคอรอยด์ (ชั้นของหลอดเลือดที่อยู่ใต้จอประสาทตา)

ทำไมต้องทำการฉีดสีและฉีดสารเรืองแสง Indocyanine Green เพื่อดูจอประสาทตา
สารเรืองแสง Fluorescein และ Indocyanine Green ใช้ในการค้นหาและวินิจฉัยโรคทางตา เช่น
  • จอประสาทตาบวม (macular edema)
  • เบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy)
  • จอประสาทตาเสื่อม (macular degeneration)
  • หลอดเลือดดำในตาอุดตัน(branch retinal vein occlusion: BRVO) หรือหลอดเลือดดำใหญ่อุดตัน (central retinal vein occlusion: CRVO)
  • มะเร็งเมลาโนมาที่จอตา
นอกจากนี้ สารเรืองแสง Fluorescein และ Indocyanine Green ยังมีการใช้เพื่อ
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรคตา
  • กำหนดบริเวณที่จะทำการรักษา
  1. ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขจัดสารหรือสีออกทางปัสสาวะ
  2. หลังจากได้รับการฉีดสี ผู้ป่วยอาจมีอาการตาพร่ามัวซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของยาหยอดขยายม่านตา ผู้ป่วยควรระมัดระวังการพลัดตกหกล้ม
  3. ผู้ป่วยควรมีญาติมาด้วย
  4. ผู้ป่วยจะได้รับการวัดสัญญาณชีพจากพยาบาลและประเมินอาการก่อนกลับบ้าน
  5. ควรรีบมาพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ เช่น การมองเห็นไม่ชัดเจนเนื่องจากฤทธิ์ของยาหยอดขยายม่านตา ปวดตา ผื่นขึ้นตามตัว ปวดบริเวณที่ฉีดสี เป็นต้น
ผู้ป่วยอาจมีอาการภายหลังการฉีดสีเพื่อตรวจดูจอประสาทตาดังต่อไปนี้
  1. ผู้ป่วยจะมีอาการตาไวต่อแสง เนื่องจากการขยายรูม่านตาทำให้แสงเข้าตาได้มาก ผู้ป่วยจึงควรนำแว่นตากันแดดมาด้วยในวันทำหัตถการ
  2. อาการตามัวเนื่องจากยาหยอดตา ดังนั้นผู้ป่วยไม่ควรมาคนเดียวหรือขับรถมาเองในวันที่ขยายม่านตา
  3. การมองเห็นสีผิดปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นนานประมาณ 2-3 นาทีหลังจากถ่ายภาพเสร็จ
  4. สีผิวและตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองภายหลังการฉีดสี ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายชั่วโมง
  5. ปัสสาวะสีส้มหรือเหลืองเข้มเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากหัตถการ เนื่องจากสีถูกขับออกทางไต
  6. อาจมีอาการแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หากสารเรืองแสงหรือสี มีการรั่วซึมออกมาระหว่างฉีด ซึ่งอาการจะหายไปภายใน 2-3 นาที
การแพ้สารเรืองแสง Fluorescein และ Indocyanine Green อาจเกิดขึ้นได้เพียงเล็กน้อย แต่เนื่องจากสารเรืองแสง Indocyanine Green มีส่วนผสมของสารไอโอดีน จึงต้องระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล อาการแพ้ที่เกิดขึ้น เช่น มีผื่นแดง คันที่ผิวหนัง หายใจลำบาก สามารถรักษาโดยการใช้ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสตามีน (antihistamine) โดยการรับประทานหรือฉีด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ

 
การถ่ายภาพด้วยเครื่องตรวจจอตา แต่ผลการตรวจขึ้นอยู่กับภาวะโรค ควรปรึกษาจักษุแพทย์

 
ไม่สามารถตรวจรอยโรคและทำการรักษาได้อย่างละเอียด ควรปรึกษาจักษุแพทย์
แก้ไขล่าสุด: 17 มกราคม 2566

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs