bih.button.backtotop.text

การส่องกล้องใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นการรักษาโรคอ้วนโดยไม่ใช้ยาและไม่ใช่การผ่าตัด อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วยบอลลูนเนื้อนิ่มที่ขยายขนาดได้ สายท่อต่อ และระบบเติมของเหลวเข้าในบอลลูน บอลลูนที่ยังไม่พองออกจะถูกสอดเข้าทางปากและเคลื่อนเข้าสู่กระเพาะอาหาร จากนั้นน้ำเกลือจะถูกเติมเข้าไปในบอลลูน เมื่อบรรจุน้ำเกลือแล้ว บอลลูนจะลอยอย่างอิสระในกระเพาะอาหาร จำกัดปริมาณอาหารทำให้รู้สึกอิ่ม เมื่อร่วมกับการควบคุมอาหาร การใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคอ้วนลดน้ำหนักได้ บอลลูนนี้จะถูกใส่ไว้เพียงชั่วคราวและเอาออกหลังจากใส่ 6 เดือนถึง 1 ปี

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
การใส่บอลลูนในกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักอาจเป็นทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index: BMI) 27-35 หรือมากกว่า แต่วิธีการนี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากเกินกว่าจะทำการผ่าตัดได้ (สำหรับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 35 มาก การใช้วิธีการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่การลดน้ำหนักก็ยังจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดที่จำเป็นต้องใช้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย) นอกจากนี้การลดน้ำหนักยังมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคต่างๆ ที่สัมพันธ์กับความอ้วน เช่น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าวิธีการใดเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยพิจารณาจากน้ำหนักตัว สุขภาพทั่วไป โรคประจำตัว และเป้าหมายสูงสุดของสุขภาพ/น้ำหนักตัวของผู้ป่วย
 
กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้ป่วยประสบความสำเร็จกับการลดน้ำหนัก แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากไม่ปฏิบัติตามสิ่งเหล่านี้ น้ำหนักตัวจะยังคงลดลงแต่อาจไม่ได้มากตามที่คาด การลดน้ำหนักระยะยาวจะช่วยให้ปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนดีขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น 
 
การส่องกล้องใส่บอลลูนเข้าไปในกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักมักพิจารณาให้ทำเมื่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตไม่ได้ผลในการลดน้ำหนัก แต่ขั้นตอนแรกของการลดน้ำหนักต้องเป็นการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายก่อนเสมอ นอกจากนี้ยังมีทางเลือกในการผ่าตัดอื่นๆ ได้แก่ การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร (sleeve gastrectomy) การผ่าตัดเชื่อมกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็ก (gastric bypass) และการผ่าตัดแบบใช้เข็มขัดรัดกระเพาะอาหาร (gastric banding) ซึ่งวิธีการเหล่านี้ต้องใช้ยาระงับความรู้สึกทั้งร่างกายซึ่งมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนมากมายเมื่อทำในผู้ป่วยที่อ้วน
 
หากไม่รับการรักษาด้วยวิธีการนี้ น้ำหนักอาจไม่ลดลงและปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่มีอยู่จะไม่หายไปหรือแย่ลง ผู้ป่วยอาจไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดที่สำคัญได้หากไม่สามารถลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ
 

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs