bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดไส้เลื่อน

การผ่าตัดไส้เลื่อน คือ การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการของไส้เลื่อน หรืออาการที่เกิดจากการที่ลำไส้บางส่วนหรือไขมันในช่องท้องยื่นผ่านออกมาจากผนังช่องท้องส่วนที่ไม่แข็งแรง ในบางครั้งเราสามารถทำให้ไส้ที่เลื่อนออกกลับสู่ตำแหน่งปกติได้โดยการนอนราบและกดบริเวณช่องท้อง อาจทำให้อาการไส้เลื่อนบรรเทาลงไปได้ อาการของไส้เลื่อนจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่เกิดไส้เลื่อน บางประเภทอาจไม่แสดงอาการใดๆ ถึงแม้จะไม่ได้รับการรักษา แต่ก็อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวด ในบางกรณีอาจทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้และทำให้เลือดไม่ไปหล่อเลี้ยง อาการดังกล่าวถือเป็นไส้เลื่อนชนิดรุนแรงและอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเป็นกรณีฉุกเฉิน

ประเภทของไส้เลื่อน
  1. ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (inguinal hernia)
  2. ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (umbilical hernia)
  3. ไส้เลื่อนแผลผ่าตัด (incisional hernia)
นอกจากนี้ยังมีไส้เลื่อนอื่นๆ ภายในช่องท้องที่สามารถพบได้อีก เช่น ไส้เลื่อนกะบังลม (hiatal hernia, diaphragmatic hernia) ไส้เลื่อนอุ้งเชิงกราน (obturator hernia) เป็นต้น
 
อาการ
ผู้ป่วยที่มีไส้เลื่อนมักมีก้อนโป่งเมื่อยืนเดินหรือออกกำลังกายและสามารถยุบได้เองเมื่อนอนราบ โดยอาจมีหรือไม่มีอาการปวดได้ แต่ถ้าก้อนโป่งไม่ยุบและมีอาการปวดท้องมาก อาจบ่งบอกถึงภาวะลำไส้อุดตันภายในไส้เลื่อน (incarcerated hernia) ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะลำไส้ขาดเลือด (strangulated hernia) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมได้
 
การรักษาไส้เลื่อนให้หายจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัด หากทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ไส้เลื่อนอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรืออาจมีปัญหาแทรกซ้อนดังที่กล่าวข้างต้นได้ ในการผ่าตัดไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบแพทย์มักผ่าตัดโดยการวางตาข่ายสังเคราะห์ (surgical mesh) เพื่อเสริมผนังหน้าท้องบริเวณที่เกิดไส้เลื่อนให้มีความแข็งแรง วิธีการผ่าตัดนี้พบผู้ป่วยน้อยกว่าร้อยละหนึ่งที่มีอาการไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเกิดซ้ำ และการผ่าตัดไส้เลื่อนสะดือหรือไส้เลื่อนแผลผ่าตัด ศัลยแพทย์อาจทำการเย็บปิดรูไส้เลื่อนร่วมกับวางตาข่ายสังเคราะห์เพื่อเสริมความแข็งแรงของผนังหน้าท้องเช่นกัน
 
ประเภทของการผ่าตัดไส้เลื่อน
  1. การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดดาวินชี
  2. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง
  3. การผ่าตัดแบบเปิด
การผ่าตัดทั้ง 3 ประเภทนั้น ผู้ป่วยจะต้องได้รับยาสลบก่อนการผ่าตัดและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการหลังผ่าตัด
 
ก่อนผ่าตัดแพทย์จะบอกผู้ป่วยว่าจะผ่าตัดด้วยจุดมุ่งหมายอะไร ผ่าตัดอย่างไร ที่ไหน วิธีให้ยาชาหรือยาสลบอย่างไร และการผ่าตัดเป็นแบบผู้ป่วยนอกหรือต้องนอนโรงพยาบาล สิ่งที่ผู้ป่วยควรเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ได้แก่
  1. ต้องบอกกับแพทย์ว่าท่านเป็นโรคอะไรที่กำลังรับการรักษาอยู่ รับประทานยาอะไรเป็นประจำ เคยแพ้ยาอะไรบ้าง เคยผ่าตัดมาก่อนหรือไม่ ผ่าตัดอะไร ใช้ยาชาหรือดมยาสลบ มีผลแทรกซ้อนหรือไม่
  2. ถ้าท่านเคยดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ควรงดเว้นก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือ 1 เดือน โดยเฉพาะถ้าท่านต้องใช้วิธีดมยาสลบ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากปอดทำงานไม่ดีหรือไอมากหลังผ่าตัด
  3. ท่านต้องงดน้ำและอาหารก่อนเวลาผ่าตัด 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยหรือตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการสำลักเอาเศษอาหารเข้าสู่ปอดขณะท่านอยู่ระหว่างการดมยาสลบ
การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดและได้ผลแน่นอน มีด้วยกันหลายวิธี คือ
  1. Herniotomy เป็นการตัดเฉพาะถุงไส้เลื่อนไม่ต้องเย็บซ่อมแซมผนังด้านหลัง มักทำในเด็กเล็ก
  2. Herniorrhaphy เป็นการผ่าตัดที่ดีที่สุดและได้ผลแน่นอน โดยตัดเอาถุงไส้เลื่อนออก แล้วเย็บซ่อมแซมผนังด้านหลังซึ่งมีอยู่หลายเทคนิค อาจเย็บปิดด้วยกล้ามเนื้อหรือใช้วิธียิงสกรูยึดตาข่ายกับกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ซึ่งสามารถรับประทานยาเพื่อระงับปวดได้ ผู้ป่วยจะเริ่มจิบน้ำได้ทีละน้อยและเพิ่มปริมาณจนสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเพลียหลังการผ่าตัด ควรทำใจให้สบายและค่อยๆ เริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ทีละน้อย ตามปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์กว่าจะเป็นปกติ ไม่ควรยกของหนักเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันแผลแยกและช่วยให้แผลด้านในหายเร็วขึ้น
 
  1. อาการข้างเคียงที่เกิดจากยาชาหรือยาสลบ
  2. การติดเชื้อและมีเลือดออกที่แผลผ่าตัด
  3. เส้นประสาทผิวหนังถูกทำลาย ผิวหนังไม่มีความรู้สึก อาการชาที่ผิวหนังบริเวณใกล้เคียงกับแผลผ่าตัด
  4. บางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรังบริเวณที่ทำผ่าตัด (พบได้น้อยมาก)
  1. ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา
  2. ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือตลอดระยะเวลาการรักษา
  3. หากท่านมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง
  4. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด และได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit for Travel Medical Certificate (ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง)
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังผ่าตัด หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
ถ้าไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ภาวะไส้เลื่อนทำให้เกิดอาการปวด มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวหรือการทำกิจกรรม หรืออาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ที่รุนแรงได้ เช่น การติดเชื้อ ลำไส้อุดตัน เป็นต้น ไส้เลื่อนเป็นภาวะที่ไม่สามารถหายได้เอง การผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาทางเดียวที่สามารถแก้ไขความผิดปกตินี้ได้
 
แก้ไขล่าสุด: 29 ธันวาคม 2563

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs